ไม่พบผลการค้นหา
ผลพวงจากการชุมนุม ‘ธรรมศาสตร์จะไม่ทน’ ที่ มธ.ศูนย์รังสิต เมื่อค่ำ วันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ประเด็นข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษา ‘ขยับสูงขึ้น’ จนเกินไปกว่า 3 ข้อเรียกร้องเดิม คือ เลิกคุกคามประชาชน แก้ รธน. และยุบสภา ทำให้เกิด ‘อาฟเตอร์ช็อก’ ตามมาทันทีต่อผู้ชุมนุม และ มธ. โดยเฉพาะขั้วที่ต่อต้านการชุมนุม

ข้อเรียกร้องของในการชุมนุมที่ ‘ล่อแหลม’ มากขึ้นนั้น หากย้อนจุดเริ่มต้นมาจากการชุมนุมหน้า บก.ทบ.ราชดำเนินเมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการปราศรัยของ ‘อานนท์ นำภา’ แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และทนายศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และ ‘เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์’ แกนนำสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ที่เริ่มมีความล่อแหลมขึ้น

จนมาเมื่อครั้งที่ ‘ทนายอานนท์ นำภา’ ขึ้นปราศรัยในการชุมนุม 'ม็อบแฮร์รี่ พอตเตอร์' ชี้ไม้เท้าเสกคาถาป้องประชาธิปไตยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดตัดสำคัญของเหตุการณ์ทั้งหมด

โดยมีการมองว่า ทนายอานนท์ กำลังเป็น ‘ผู้นำทางความคิด’ หรือ ‘Mastermind’ ต่อการชุมนุมที่เริ่มแผ่วลงในช่วงนั้น จนมาเกิดกระแสอีกครั้งในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ขึ้นปราศรัยย้ำถึงสิ่งที่เคยปราศรัย เมื่อครั้งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ทั้งนี้เป็นที่สังเกตุว่าการจัดเวทีที่ มธ. มีความเป็น ‘ระบบ’ มากขึ้น ทั้งรูปแบบการตั้งเวที สคริปต์งาน ทีมงาน ระบบการ์ดคุมทางเข้า ระบบการ์ดส่งผู้ปราศรัยกลับบ้าน เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากการชุมนุมที่ผ่านๆ มา ของแต่ละพื้นที่ ทำให้ถูกโฟกัสไปที่ ‘เบื้องหลัง’ การชุมนุม ทั้งเรื่องบุคคลที่ให้คำแนะนำและเงินทุนทันที

แน่นอนว่า ‘เพดานที่สูงขึ้น’ ของข้อเรียกร้องนั้น ทำให้ต้องจับตาว่าการชุมนุมใหญ่ ‘ประชาชนปลดแอก’ ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 16 ส.ค.นี้ จะมีผู้เข้าร่วมเท่าใด อีกทั้งจุดยืน 3 ข้อเรียกร้องเดิม จะเปลี่ยนไปหรือไม่ และจะมีท่าทีต่อข้อเรียกร้องที่ล่อแหลมอย่างไร 

อานนท์ แฟลชม็อบ ธรรมศาสตร์ ชุมนุม arnon dkk0810.jpg

อีกข้อเรียกร้องที่จะถูกตอกย้ำมากขึ้น คือเรื่อง ‘การคุกคาม’ ที่เกิดขึ้น หลังมีเจ้าหน้าที่ไปติดตามตัวบรรดาแกนนำการชุมนุม มธ. จำให้เกิดปรากฏการณ์บรรดา ‘ดาราคนรุ่นใหม่’ ออกมาขยับผ่านโซเชียลฯ ที่มีฐานแฟนคลับตามจำนวนมาก ในเรื่องเปิดพื้นที่แทนการคุกคาม ในการแสดงความเห็นต่าง

ดังนั้นการชุมนุมวันที่ 16 ส.ค.นี้จะเป็นอีก ‘หมุดหมายสำคัญ’ ของการเคลื่อนไหวในภาพรวมต่อไป

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ มีการเผยแพร่เอกสาร 31 รายชื่อ ผู้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมออกมาด้วย โดยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นนิสิตนักศึกษา ที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ทำให้ถูกจับตาว่าเป็นเตรียมออกหมายจับต่อไปหรือไม่

ทั้งนี้มีการสังเกตถึงการชุมนุมและการสื่อสารผ่านโซเชียลฯ ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เองจะทำให้การชุมนุมนั้นกว้างขวางหรือแมสยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในระดับอินเตอร์ ซึ่งในขบวนการนักศึกษาก็มีผู้ที่ใช้ภาษาต่างประเทศได้เชี่ยวชาญ และใช้ฐานโซเชียลฯ ในการแพร่กระจาย เพราะสื่อกระแสหลักเองก็มี ‘ข้อจำกัด’ ในการนำเสนอ จนทำให้สื่อถูกวิจารณ์ถึงการทำหน้าที่ไปด้วย

ส่วนท่าทีของกองทัพ โดยเฉพาะ ‘บิ๊กแดง’ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. เป็นไม้เบื่อไม้เมา ยังคงนิ่งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ มธ. โดยปฏิเสธที่จะพูดเรื่องนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ชี้ถึง ‘โรคชังชาติ’

ในส่วน ผบ.เหล่าทัพ คนอื่นๆ มีเพียง ‘บิ๊กลือ’ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผบ.ทร. ที่ไม่สบายใจต่อข้อเรียกร้องที่ล่อแหลม และส่วนตัวไม่เคยเห็นว่าเยาวชนเป็นฝ่ายนั้นฝ่ายนี้

“เยาวชนที่มีความรุนแรงและมีความเห็นที่แตกต่าง ถือเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนกับการมีลูกหลายคน ก็อาจจะมีที่แตกแถวบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา แต่เราก็เป็นครอบครัว เช่นเดียวกับประเทศไทยที่เป็นครอบครัวใหญ่ อาจมีคนนอกลู่นอกทางและต่างความคิดบ้าง แต่เมื่อเข้าใจและพูดจารู้เรื่องก็ทำเพื่อประเทศชาติของเรา” พล.ร.อ.ลือชัย กล่าว

ประยุทธ์ อภิรัชต์ MG_20200805121427000000.jpg

ในส่วนของผู้นำรัฐบาลอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) กลาโหม ยอมรับว่า มีการตรวจสอบการชุมนุม ว่ามีใครอยู่เบื้องหลัง-สนับสนุนหรือไม่ ซึ่งเป็นกลไกปกติที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการอยู่แล้ว ตนไม่ต้องไปสั่ง

ทั้งนี้ นายกฯ ยังย้อนถามนักศึกษาถูกจับกุมแล้วหรือไม่ หลังโพสต์โซเชียลฯ ถูกติดตามตัว หากละเมิดกฎหมาย จะทำอย่างไร โดยประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย จึงให้ดูข้อเท็จจริง มีใครอยู่เบื้องหลังหรือไม่ อยากให้พูดจาอย่างละมุนละม่อม

แต่สิ่งที่มาตอกย้ำ คือ การออกแถลงการณ์นายกฯ เรื่อง ครม.ใหม่ และการเดินหน้าประเทศ ช่วงเย็นเมื่อวันที่ 13 ส.ค. แม้จะไม่ได้กล่าวพาดพิงการชุมนุมของนักษาโดยตรง แต่ได้พูดถึงภาพรวม ถึงแนวคิด ‘พวกเค้า-พวกเรา’ ไม่ควรจะมีที่ยืนอีกต่อไป ขอคนไทยปฏิเสธความเกลียดชัง การแบ่งแยกทางการเมือง

ปฏิเสธการเมืองแบบเก่า ที่แพร่กระจาย ‘เชื้อโรคความแตกแยก’ ของ ‘คนรุ่นใหม่-คนรุ่นเก่า’

สถานการณ์นับจากนี้จึงต้องจับตาช็อตต่อช็อต โดยเฉพาะการ ‘บังคับใช้กฎหมาย’ ที่จะมีต่อแกนนำผู้ชุมนุม ที่เริ่มจาก ‘แถวหน้า’ หรือ ‘สายฮาร์ดคอร์’ ก่อน เพื่อทำให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งเพื่อเป็นการ ‘ปราม’ ไปในตัวด้วย แต่ก็ต้องระวังจะเป็น ‘น้ำผึ้งหยดเดียว’ เช่นในอดีต จนกลายเป็น ‘แฟลชม็อบ’ ที่ไปลามทุ่ง 

แต่ในกรณีที่ ‘ข้อเสนอ’ ของการชุมนุมที่ มธ.ศูนย์รังสิต ที่ยกเพดานสูงขึ้น ก็ทำให้ ‘ปัจจัย’ ในการตัดสินใจ และ ‘ฟีดแบ็ค’ เปลี่ยนไปด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปริศนา ลายพราง
164Article
0Video
39Blog