ไม่พบผลการค้นหา
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อาจเป็นนายกรัฐมนตรีของไทย ที่มีเคราะห์กรรมมากที่สุดในรอบหลายทศวรรษ

เพราะต้องเจอวิกฤตซ้อนวิกฤตสารพัดเรื่อง หนึ่ง เจอโรคระบาดระดับโลกในรอบ 100 ปี นับตั้งแต่สิ้นสุดการระบาดของโรคไข้หวัดสเปน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1

สอง ต้องเจอภาวะสงครามรัสเซีย - ยูเครน แม้ห่างไกลจากประเทศไทยหลายพันกิโลเมตร แต่ก็เขย่าภูมิรัฐศาสตร์รุนแรงเข้มข้นที่สุด นับตั้งแต่ยุคสงครามเย็น เผลอๆ อาจจะตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 13 ปี 

สาม ปัญหาการเมืองภายใน ที่นับวันเกมเขี่ย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ้นนายกรัฐมนตรี ยิ่งชัดขึ้น คนที่ใกล้ชิดอาจกลายเป็น “งูพิษ” เข้าตำนาน “ชาวนากับงูเห่า” ได้เสมอ 

เพราะนาทีนี้ คนที่คุมสภาพการเมืองได้เด็ดขาด และกำลังขี่คอ “พล.อ.ประยุทธ์” หนีไม่พ้นชายที่ชื่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พี่ชายสุดเลิฟของ พล.อ.ประยุทธ์ 

ประวิตร 0616000000.jpg

ด้านหนึ่ง พล.อ.ประวิตร เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ พรรคแกนหลักของรัฐบาล ส่ง “สุชาติ ชมกลิ่น” รมว.แรงงาน ไปประสานผลประโยชน์กับบรรดาพรรคเล็กร่วมรัฐบาลกว่า 15 เสียง ไม่ให้งอแง แถม พล.อ.ประวิตร เครือข่าย ส.ว.ทหาร ทั้งเพื่อนร่วมรุ่น – รุ่นน้องเตรียมทหาร กระจายกำลังยึดกุมพื้นที่สภาสูง 

อีกด้านหนึ่ง ลูกน้อง - คนใกล้ชิด พล.อ.ประวิตร ไปตั้งพรรคการเมืองที่ชื่อว่า “เศรษฐกิจไทย” มี พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรค มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นเลขาธิการพรรค มี ส.ส.ในมืออย่างน้อย 16 เสียง 

พล.อ.วิชญ์ เป็นเส้นขนานกับ พล.อ.ประยุทธ์ มาตั้งแต่สมัยที่เป็นคู่ชิง “ผู้บัญชาการทหารบก” กับ พล.อ.ประยุทธ์ 

ส่วน ร.อ.ธรรมนัส ดำรงสถานะเป็นคู่แค้น หลังจากถูกปลดฟ้าผ่าออกจากเก้าอี้ รมช.เกษตรและสหกรณ์ หลังเปิดเกมโค่น พล.อ.ประยุทธ์ ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในปี 2564 ทว่าเกิดความพ่ายแพ้ กลายเป็นกบฏและถูกปลด

ดังนั้น พล.อ.ประวิตร จึงมีไพ่ในมือให้เล่นหลายใบ ไม่ว่าเป็นกลุ่มพรรคเล็ก ไม่ว่าเป็นพรรคเศรษฐกิจไทย ที่รวมกันอย่างน้อยกว่า 30 เสียง 

ประยุทธ์ ธรรมนัส  สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ 10220_49.jpg

เมื่อมาถึงคิวที่ฝ่ายค้าน สามารถเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้อีกครั้ง ในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ที่จะเปิดขึ้นหลังวันที่ 22 พ.ค. 2565 

ฝ่ายค้าน 6 พรรค นำโดยพรรคเพื่อไทย วางโปรแกรมซักฟอกไว้ในช่วง มิ.ย.นี้ หลังจากร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ผ่านวาระที่ 1 และกฎหมายลูก 2 ฉบับคือกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.และกฎหมายพรรคการเมือง ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาในวาระที่ 3

ถึงเวลานั้นทางสะดวก! จะเริ่มเดินหน้า-เกมเขี่ย พล.อ.ประยุทธ์ อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง

หาก พล.อ.ประยุทธ์ เคลียร์กล้วยกับบรรดาพรรคเล็กๆ ร่วมรัฐบาล ไม่ลงตัว 

นอกจากนี้ ยังมีจุดเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุกับ พล.อ.ประยุทธ์ กรณีดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี หรือไม่ ที่พรรคเพื่อไทยจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเดือน ส.ค.นี้ หาก พล.อ.ประยุทธ์ รอดตัวจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปได้

ธรรมนัส เศรษฐกิจไทย ประชุมรัฐสภา  60-44FADB3BE221.jpeg

ด้วยเหตุทั้งปวงจึงเกิด “ข่าวลือ” ทั่วการเมืองว่าอาจมีการเปลี่ยนตัวนายกฯ อาศัยรัฐธรรมนูญมาตรา 272 โดยมีชื่อ พล.อ.ประวิตร เตรียมที่จะแต่งตัวเป็น “นายกฯ สำรอง” 

มาตรา 272 บัญญัติไว้ว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดาเนินการตามมาตรา 159 เว้นแต่การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และมติที่เห็นชอบกาแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 159 วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจาก ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ให้ดาเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88 หรือไม่ก็ได้

แปลจากภาษากฎหมายเป็นขั้นตอนปฏิบัติในการเลือกนายกฯ ตามมาตรา 272 ได้ 7 ขั้น ดังนี้ 

ขั้นที่ 1 ใน 5 ปีแรก การเลือกนายกฯ ให้เลือกในที่ประชุมโดยร่วมกันของทั้งสองสภา(ส.ส.และส.ว.) และในการเสนอชื่อนายกฯ เปิดโอกาสให้ ส.ส. เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสนอ โดยต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (50 คน)  

ขั้นที่ 2 ต้องเลือกแคนดิเดตนายกฯ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยพรรคการเมืองนั้น ต้องมี ส.ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร (25 คน)

ขั้นที่ 3 การลงมติเลือกนายกฯ จะต้องลงคะแนนโดยเปิดเผยด้วยการ “ขานชื่อ” และต้องมีเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา

ซึ่งใน 3 ขั้นตอนแรกที่ประชุมรัฐสภา เคยลงมติเลือก พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะแคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีพรรคพลังประชารัฐมาแล้ว

แต่ในกรณีของ “พล.อ.ประวิตร” ที่ไม่ได้เป็นแคนดิเดตนายกฯ ในบัญชีพรรคการเมืองใดเลย ก็จะเข้าสู่ 

ขั้นที่ 4 ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกฯ ที่อยู่ในบัญชีพรรคการเมืองแจ้งไว้กับ กกต.ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ส.ส.และ ส.ว.ที่มีอยู่จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา อาจเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภามีมติยกเว้นได้ตามมาตรา 272 วรรคสอง

ซึ่งขณะนี้ มี ส.ส.ทั้งหมด 474 คน และมี ส.ว.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 248 คน ดังนั้น จำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกของสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ที่สามารถเข้าชื่อเพื่อยื่นต่อประธานรัฐสภาให้เลือกนายกฯ ที่ไม่อยู่ในบัญชีพรรคการเมืองได้ คือ 361 เสียง 

ขั้นที่ 5 ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อเลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมือง 

ขั้นที่ 6 ที่ประชุมจะต้องมีการ “ลงมติ” เพื่อขอเลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมือง โดยจะต้องมีเสียงเห็นด้วย ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้เลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมืองได้ 

ซึ่งขณะนี้ เสียงของทั้งสองสภา 722 คน (แบ่งเป็น ส.ส.474 เสียง และ ส.ว.248 คน) ดังนั้น จะต้องได้เสียง 2 ใน 3 อย่างน้อย 481 เสียง 

ขั้น 7 เมื่อได้รับการเห็นชอบ ที่ประชุมรัฐสภาสามารถเลือกนายกฯ นอกบัญชีพรรคการเมืองได้

การเป็นนายกฯ คนนอก ของ “พล.อ.ประวิตร” ต้องใช้เสียงปลดล็อก – ยกเว้นรัฐธรรมนูญถึงสองชั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ หากเขาคุมเสียงได้มากกว่า พล.อ.ประยุทธ์ ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง