ไม่พบผลการค้นหา
เหตุการณ์การประชุมสภาฯ ล่มไม่ได้เคยเกิดขึ้นในครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 เป็นครั้งแรก แต่เคยล่มมาแล้วถึง 3 ครั้งก่อนหน้า

หากจำกันได้ในช่วงปีแรกของ สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ในสมัยประชุมรัฐสภาเมื่อปี 2562 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเคยล่มมาแล้วถึง 2 วันติด

ซึ่งต้องย้อนไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 พิจารณา ญัตติด่วน เรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ตามที่ ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่และคณะเป็นผู้เสนอ

เหตุการณ์ในวันนั้น ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นด้วย 234 ต่อ 230 เสียงให้ตั้ง กมธ.วิสามัญ โดยมีผู้งดออกเสียง 2 เสียง และไม่ลงคะแนน 1 เสียง ซึ่งผลการลงมติครั้งนี้ทำให้ ส.ส.รัฐบาลต้องแพ้เสียงโหวตฝ่ายค้านกลางสภาฯ 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเสียงในสภาฯขณะนั้นเป็นสภาปริ่มน้ำ รัฐบาลมีเสียง ส.ส.เกินกึ่งหนึ่งไม่มาก ในขณะที่ฝ่ายค้านก็มีเสียงจำนวนมากเกือบถึงกึ่งหนึ่ง

แต่แล้ว วิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เสนอต่อที่ประชุมให้มีการขานคะแนนใหม่อีกครั้งตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อที่ 85 ซึ่งระบุไว้ว่าถ้าสมาชิกร้องขอให้มีการนับคะแนนใหม่

การเสนอญัตติดังกล่าวทำให้ฝ่ายค้าน โดย วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ มองว่าตัวอย่างที่ไม่ดี ถ้ามีการนับคะแนนใหม่ด้วยวิธีนี้

เกมในสภาฯ ครั้งนั้น ฝ่ายค้านเลือกวิธีวอล์กเอาต์ เพื่อไม่ร่วมสังฆกรรมกับการนับคะแนนใหม่ของฝ่ายรัฐบาล ทั้งที่รัฐบาลคุมเสียงในสภาฯ เองไม่ได้

ผลการแสดงตนในที่ประชุม ก็พบว่ามี ส.ส.แสดงตนเป็นองค์ประชุมเพียง 92 คน จากจำนวน ส.ส.เท่าที่มีอยู่ 499 คน จึงถือว่าองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 250 เสียง ทำให้สภาฯล่ม จากนั้น ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้สั่งปิดประชุมทันทีพร้อมแจ้งให้พิจารณาญัตติดังกล่าวต่อในวันที่ 28 พ.ย.นี้ 

ปิยบุตร สภา อนาคตใหม่

เหตุการณ์สภาฯล่มซ้ำสองต่อเนื่องติดต่อกันนั้น เกิดขึ้นจากสภาฯ ล่มครั้งก่อนเพียง 1 วัน เมื่อที่ประชุมสภาฯ วันที่ 28 พ.ย. 2562 ได้พิจารณาญัตติด่วน เรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ทันทีที่เปิดประชุม ฝ่ายค้านก็ใช้สิทธิประท้วงการใช้ข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อที่ 85 ที่ขอให้มีการนับคะแนนใหม่กรณีมีเสียงลงมติห่างกันไม่ถึง 25 เสียง

เมื่อขั้นตอนการแสดงตนก่อนลงคะแนนเสียง ส.ส.ฝ่ายค้านก็ประท้วงด้วยการวอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุมสภาฯ เหมือนการประชุมครั้งก่อน

และผลการแสดงตนก่อนลงคะแนนผลปรากฎว่ามี สมาชิกแสดงตนเพียง 240 เสียง ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง 250 เสียงจาก ส.ส.เท่าที่มีอยู่ 499 คน ถือว่าไม่ครบองค์ประชุม ทำให้ประธานสภาฯ สั่งปิดประชุมทันที ถือเป็นการประชุมสภาฯ ล่มครั้งที่สองติดต่อกัน 2 วัน

ชวน-ปิดประชุม

เหตุการณ์สภาฯล่มเป็นครั้งที่สาม เกิดขึ้นอีกครั้งในอีก 8 เดือนต่อมา เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 โดยการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งนั้นต้องยุติลงจากวาระพิจารณารับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ (เดือน ต.ค.-ธ.ค. 2562) เมื่อ ส.ส.ฝ่ายค้านอภิปรายตั้งข้อสังเกตว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รายงานสภาทุก 3 เดือน แต่กลับไม่มีการดำเนินการ อีกทั้งยังไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมตามตัวชี้วัด ตามกฎหมาย หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

ฝ่ายค้านโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ทักท้วงว่า การรับรองรายงานฉบับดังกล่าวอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 และเห็นควรให้ถอนวาระนี้ออกไปก่อน

ด้าน ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ระบุว่าหากตัวแทนฝ่ายรัฐบาลไม่ถอนร่างรายงาน ก็ขอให้สั่งนับองค์ประชุม โดยขณะนั้นสมาชิกฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุม ขณะที่ฝ่ายค้านก็วอล์กเอาต์ ไม่ร่วมเสียบบัตรนับองค์ประชุม 

นับองค์ประชุม ผลปรากฏว่า มีสมาชิกมาแสดงตน 231 คน ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภาฯ หรือ 244 จากสมาชิกที่มีอยู่ทั้งหมด 487 คน ทำให้สภาฯ ไม่สามารถประชุมต่อไปได้ สุดท้ายประธานต้องสั่งปิดการประชุมในที่สุด

เหตุการณ์ครั้งนี้ ส.ส.ฝ่ายค้านทั้งหมดไม่ได้แสดงตนเป็นองค์ประชุม เพราะไม่เห็นด้วยกับการนับคะแนนใหม่ ทั้งที่ฝ่ายรัฐบาลเคยแพ้การลงมติไปแล้ว

จึงทำให้การประชุมสภาฯ ในครั้งนั้นต้องล่มลงเป็นครั้งที่สามของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 แม้ว่า ส.ส.ซึกรัฐบาลจะได้เสียงเพิ่มจากฝ่ายค้าน หลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรคก็ตาม

วิรัช ประชุมสภา สภาล่ม  4AABC0F5C367.jpegประชุมสภา สภาล่ม 8-970F-67BDB28A2986.jpeg

เหตุการณ์สภาฯล่ม ครั้งล่าสุด ได้เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 ในระหว่าง ร่าง พ.ร.บ.วัตถุอัตราย ฉบับที่ พ.ศ. ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีผู้แสดงตนเข้าร่วมประชุมเพียง 206 จาก ไม่ครบองค์ประชุม 242 คน

สภาฯ ล่มรอบที่สี่ในสภาฯชุดนี้ ทั้งที่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภาฯ จำนวน 271 เสียง จาก ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 483 คน 

นี่จึงเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง