ไม่พบผลการค้นหา
'พิธา' ชี้ความเหลื่อมล้ำในประเทศเป็นวงจรอุบาทว์ เป็นผลพวงจากการเมืองที่อ่อนแอ ฉุดเศรษฐกิจล้มเหลว แนะเพิ่มการตรวจสอบ-ลดการผูกขาด-เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน

เวทีการบรรยายสาธารณะ ความจริงประเทศไทย เรื่องราคาของความเหลื่อมล้ำ ณ ที่ทำการพรรคอนาคตใหม่ อาคารไทยซัมมิท นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ บรรยาหัวข้อ "1 เปอร์เซ็นต์" โดยกล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ถ้าไม่รีบแก้ก็จะยิ่งแย่ เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งเข้าสู่อำนาจพิเศษกีดกันคนส่วนมากที่จะเข้าถึงทรัพยากรและโอกาสต่างๆ โดยสถานความเหลื่อมล้ำของไทยไม่ใช่แค่เรื่องความมั่งคั่ง หรือ รายได้ แต่ยังมีเรื่องของเศรษฐกิจ งบประมาณ การแข่งขันทางการทางค้าที่มีการผูกขาด ระบบสังคม การถือครองที่ดิน การใช้ทรัยากรน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี รวมถึงสิทธิโอกาสด้านสาธารณสุข และการศึกษา เป็นวงจรอุบาทว์เป็นผลพวงจากการเมืองที่ล้มเหลว

"คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าความเหลื่อมล้ำเป็นทั้งสาเหตุ และผลพวงของระบบการเมืองที่อ่อนแอ ซึ่งจะส่งผลไปสู่ระบบเศรษฐกิจ ที่อาจจะเปราะบาง แข็งบน อ่อนล่าง แข็งนอก อ่อนใน อาจจะแข่งไม่ทันเพื่อน ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบเศรษฐกิจแบบนี้ จะส่งผลมาซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำกลับเข้าไปอีก ก็จะกลับเข้าไปสู่การเมืองที่อ่อนแอไปอีก 10-20 ปี จนไม่สามารถแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้" นายพิธา กล่าว

 ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย พบว่า มีคนร้อยละ 1 หรือ ประมาณ 6 แสนคน ถือทรัพย์สินมากถึงร้อยละ 67 มีตระกูลใหญ่เป็นเจ้าของ 1 ใน 3 ของประเทศ

ขณะที่ช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยที่สุดกับคนจนที่สุดต่างกันถึง 19 เท่า ส่วนงบประมาณที่จัดสรรลงสู่กรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 60 ของงบประมาณทั้งหมด และหากรวมงบกลางสูงถึงร้อยละ 74

ขณะที่ การเก็บภาษีของไทยยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นสัดส่วนมาก แต่คนรายได้น้อยได้รับผลกระทบมากกว่า จากการถูกจัดเก็บภาษีในสัดส่วนที่มากกว่าเมื่อเทียบกับรายได้ของคนรวย

นอกจากนี้ ยังมีการผูดขาดทางธุรกิจ โดยบริษัทร้อยละ 10 มีรายได้ร้อยละ 90 ของธุรกิจทั้งประเทศ

จนเรียกได้ว่า เศรษฐกิจไทยยิ่งโตยิ่งเหลื่อมล้ำ เพราะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีีพี) ที่โต ไม่ได้ทำให้คนไทยอยู่ดีกินดี นับตั้งแต่ปี 2556 ถึงปัจจุบัน เพราะตัวเลขภาคการเกษตร และต้นทุนแรงงานติดลบ สวนทางกับหนี้ครัวเรือน

ยังไม่นับความชอบธรรมในการถือครองที่ดินในประเทศไทย ซึ่งพบว่าร้อยละ 45 ของเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง การเข้าถึงทางการแพทย์กระจุกตัวแต่ในกรุงเทพ

นายพิธา ยังระบุด้วยว่า สาเหตุของความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่แตกต่างด้านทรัพยากร ประกอบกับลักษณะเชิงประชากร และนโยบายทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณ การจัดเก็บภาษี หรือแม้แต่การเข้าสู่อำนาจ

โดยส่วนตัวมองว่าไม่มีทางลัดที่จะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งยังต้องใช้เวลา แต่แนวทางที่จะแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องเพิ่มการตรวจสอบ ลดการผูกขาด เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะการกระจายที่ดิน และระบบภาษีแบบก้าวหน้าจะต้องเกิดหากจะแก้ไขปัญหาความหลื่อมล้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :