ไม่พบผลการค้นหา
"มนัญญา" นั่งหัวโต๊ะ สั่งแบน 'พาราควอต-ไกลโฟเซต-คลอร์ไพริฟอส' ดีเดย์ 1 ธันวาคมนี้ เป็นของขวัญปีใหม่คนไทย เตรียมสรุปรายงานส่งนายกรัฐมนตรีในสัปดาห์นี้ มั่นใจคณะกรรมการวัตถุอันตราย ไม่ให้ใช่ต่อแน่

วันนี้(7ต.ค.62) ที่ประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาความเห็นส่วนรัฐ ผู้นำเข้า เกษตร และผู้บริโภค ต่อการยกเลิกคลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโซเฟต มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียง เห็นด้วยให้แบนสารเคดี 3 ชนิด ทั้ง คลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโซเฟต โดยให้จัดเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 จากวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562 โดยหนึ่งเสียงที่หายไปคือ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย แจ้งว่าติดภารกิจส่วนตัวและไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมในวันนี้ ส่วนตัวแทนผู้นำเข้าสารเคมี ทั้ง 3 ชนิด ไม่ร่วมในคณะทำงานตั้งแต่ต้น

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระบวนการหลังจากนี้จะมีการหนังสือเพื่อส่งให้กับคณะทำงานทั้ง 9 ท่านเซ็นทรับทราบ คาดว่าจะใช้ระยะเวลา 2 วัน และภายในสัปดาห์นี้น่าจะนำเรื่องดังกล่าวไปเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนทั้งในส่วนของนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่จะมีการประชุมในวันที่ 29 ต.ค. 2562 ซึ่งอาจจะเลื่อนประชุมเร็วขึ้น

รมช.เกษตรและสหกรณ์ มั่นใจว่า คณะกรรรมการวัตถุอันตรายจะมีมติเห็นชอบให้แบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด เนื่องจาก คณะกรรมฯ ยืนยันชัดเจนว่าจะยึดตามแนวทางของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งหากคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเห็นชอบ จะต้องเลิกใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดก่อนวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ในส่วนที่ตกค้างอยู่ที่ร้านค้าจัดจำหน่าย ทางผู้นำเข้าจะต้องรับซื้อคืนทั้งหมด โดยขณะนี้ได้มีการตรวจสอบสารเคมีทั้ง 3 ชนิดไม่มีในสต็อกแล้ว

“ถ้าแบบวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ทุกคนจะต้องไม่มีอยู่แล้ว ก็ต้องเก็บก่อนหลังคณะกรรมการวัตถุอันตรายประชุมวันที่ 27 ตุลาคมนี้” นางสาวมนัญญา กล่าว

ทั้งนี้ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ยืนยันว่า ในส่วนของสารทดแทนทั้ง 3 ชนิด มีอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้เกษตรกรบางส่วนเริ่มมีการใช้ แม้จะยังจัดอยู่ในกลุ่มสารเคมี แต่เป็นอันตรายน้อยกว่า พร้อมยืนยันว่า ในส่วนของต้นทุนของเกษตรกรจะไม่เพิ่มขึ้น แม้จะมีการประกาศแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด หรือ มีการใช้สารเคมีอื่นทดแทน

“สารทดแทนจริงๆพี่น้องเกษตรกรก็ใช้อยู่แล้ว เป็นสารทางเลือกและก็มีทั้งวิธีการธรรมชาติ คำว่าสารทดแทนจะให้บอกว่าอันไหนเป็นเคมีคงบอกไม่ได้ แต่ความเป็นอันตรายจะน้อยลง หรือว่าในเวลา 1 ชั่วโมงสาร 3 ตัวคุมหญ้าตาย แต่ถ้าใช้เวลาขยับออกไปอีกหน่อยอย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง แต่ความเป็นอันตราน้อยลง” นางสาวมนัญญา กล่าว

เมื่อถามว่าเหตุใดคณะกรรมการมีมติให้ยกเลิกสารเคมีอัตรายแล้ว ยังจะใช้เกษตรกรใช้สารเคมีอื่นทดแทนอยู่ รมช.เกษตรรและหสกรณ์ ระบุว่า ไม่สามารถยกเลิกทีเดียวได้ 100 ตัว เพราะสารเคมีในประเทศไทยมีมากเกินกว่าที่จะไปกำหนดตรงนั้น ได้ แต่หากถามว่าจะหยุดเพียงเท่านี้หรือไม่นั้น ยืนยันว่า จะไม่หยุดเพียงเท่านี้แน่นอน เพราะหากยังมีสารอันตรายต่อพี่น้องเกษตรกร หรือ ประชาชนก็จะทำต่อไปอยู่แล้ว