ไม่พบผลการค้นหา
พปชร.หักดิบฝ่ายค้าน ชงญัตติตั้ง กมธ.ยื้อลงมติแก้ รธน.วาระแรก ทำให้ฝ่ายค้าน-ปชป.รุมต้าน โวยโดมต้มกลางสัปปายะสภาสถาน 'ชลน่าน' เตือนรัฐบาลอายุสั้นแน่ ผลโหวตรัฐสภา 432 ต่อ 255 เสียงดันตั้ง กมธ.ถ่วงเวลาโหวตวาระแรก ตั้ง กมธ. 31 คนพิจารณาใน 1 เดือน ด้าน 'พท.-ก้าวไกล-เสรีรวมไทย-ประชาชาติ-เศรษฐกิจใหม่' ไม่ร่วมสังฆกรรมใน กมธ. ขณะที่ 'ชวน' ย้ำถ้าถูกหลอก ตัวเองก็ถูกหลอกด้วย

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาเรื่องด่วน 6 ญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เวลา 14.45 น. กล้านรงค์ จันทิก ส.ว.อภิปรายยืนยันว่า ส.ว.ชุดนี้มีความเป็นอิสระ ไม่ได้ยึดโยงหรืออยู่ภายใต้บังคับของกลุ่มใดทั้งสิ้น มีความเป็นตัวของตัวเอง ทั้งนี้ตลอดการนั่งฟังอภิปราย ได้รับเสียงสะท้อนจากเพื่อนสมาชิกรัฐสภาที่พูดถึงส.ว.บางครั้งเสียดสี เยาะเย้ย ตกเป็นทาสอารมณ์ของความชิงชัง แต่ความรู้สึกนี้ไม่ได้ทำให้ตนหรือสมาชิกส.ว.จะมีความรู้สึกแล้วมาชี้นำในการลงมติแต่อย่างใด ยืนยันอีกครั้งว่าไม่ได้เป็นตัวแทนเผด็จการ เรามาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มาทำงานเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินและยึดโยงประชาชน

ท้วงวุ่น 'รังสิมันต์' อภิปรายหวาดเสียว 

ต่อมาเวลา 16.30 น.บรรยากาศการประชุมเริ่มเข้มข้น เมื่อ รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลอภิปรายว่า เข้าใจข่าวที่ส.ว.เริ่มขยับจะคว่ำทุกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งของฝ่ายค้านและรัฐบาลดี เพราะกังวลส.ส.ร.จะร่างรัฐธรรมนูญอย่างที่ประชาชนต้องการ เงินประมาณ 15,000 ล้านบาท ใช้ร่างรัฐธรรมนูญ หรือทำประชามติ อย่ากังวล แค่เลิกซื้อเรือดำน้ำ 1 ลำ ก็มีเงินเอาไปทำประชามติเเล้ว ถือว่า คุ้มค่า สำหรับการเอาประเทศอกจากความขัดเเย้ง อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการอภิปรายเริ่มอึมครึม เมื่อนายรังสิมันต์ อภิปรายว่า พระมหากษัติต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างเเท้จริง จน พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ต้องกล่าวตักเตือนให้ระมัดระวัง ขณะที่ ครูออน กาจกระโทก ส.ว. ประท้วงตามข้อบังคับ การประชุมข้อที่ 45 ห้ามอภิปรายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานจึงต้องเตือนอีกครั้ง 

ฉะเดือดมีเเค่กองทัพที่ล้มล้างได้ 

รังสิมันต์ อภิปรายต่อว่า โจทย์ใหญ่นับจากนี้ คือการทำให้สถาบันหลักของชาติ กลับมาใกล้ชิดกับระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง นายพรเพชร เตือนซ้ำอีกให้นึงถึงความรู้สึกสมาชิกท่านอื่นด้วย ข้อบังคับการประชุม ข้อที่ 45 ระบุชัดเจนว่าห้ามอภิปรายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ นายรังสิมันต์ รับปากจะหลีกเลี่ยง อภิปรายต่อ ส.ส.ร.ต้องมาจากประชาชน ประชาชนต้องเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประเทศไม่ใช่เป็นเบี้ยล่าง หากไม่เปิดพื้นที่ ประชาธิปไตยที่ฝันไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้า หากมีส.ส.ร.มาจากการเเต่งตั้ง ปิดหูตัว เองไม่ยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกมาตรา ไม่มีใครในประเทศนี้ที่มีความสามารถล้มล้างสถาบันได้ นอกจากกองทัพ 

สมาชิกวุฒิสภา  แก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐสภา 5be8a6adb101886545fd505_38031495_200924_11.jpg

ขอ ส.ว.ล้างบาปเห็นชอบทุกร่างของฝ่ายค้าน 

จากนั้นเกิดการประท้วง จากฟากส.ส.รัฐบาล และส.ว.ที่สลับหน้ากันขอให้ประธานสภาฯ ควบคุมการอภิปรายของนายรังสิมันต์ ที่อาจล่อแหลม อาจจะเลยเถิดไปกว่านี้ พรเพชร เตือนอีก ว่า การพูดบางอย่าง อาจพูดในห้องสอนหนังสือ แต่ในที่นี้เป็นสถานที่ของตัวเเทนประชาชนผู้ทรงเกียรติ กรุณาพูดในประเด็น และความสุภาพ เพื่อให้การพัฒนาการรับฟังเรื่องต่างๆเรียบร้อย

รังสิมันต์ อภิปรายต่อว่า ไม่เเปลกที่ผู้ได้ประโยชน์ จาก คสช.มาทักท้วงการแก้รัฐธรรมนูญ ตนขอเรียกร้องให้คนได้ประโยชน์กลับตัวกลับใจ กับบาปที่ก่อไว้ ให้เห็นชอบต่อหลักการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตั้ง ส.ส.ร.ให้มาจากการเลือกตั้งประชาชน ตนถอยไม่รู้จะถอยยังไงเเล้ว ขอให้ ส.ว.เห็นชอบทุกฉบับที่ฝ่ายค้านเสนอต่อสภาฯ อยู่ที่พวกท่านจะทิ้งโอกาสไปหรือไม่ หาก ส.ว.ยังเพิกเฉย เเสดงว่า ต้องการระบอบที่อยู่ตรงกันข้ามกับประชาชน และมีบางอย่างที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ 

ปรีชา จันทร์โอชา สมาชิกวุฒิสภา  แก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐสภา 505_38031495_200924_5.jpg

'เสรี' ย้ำ ส.ว.หวั่น ส.ส.ร.

เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) อภิปรายญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า วุฒิสภามีความคิดความร่วมมือทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพให้ได้ประโยชน์กับประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นการทำหน้าที่วุฒิสภาจึงต้องทำหน้าที่ด้วยความรอบครอบ การตัดสินใจจะต้องเป็นประโยชน์จริงๆ โดยญัตติเสนอจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทั้ง 2 ญัตติ ก็ก็พิจารณาโดยตระหนักถึงผลที่จะออกมา หากมีการตั้ง ส.ส.ร. จะทำหน้าที่ได้สมประโยชน์กับความตั้งใจของสมาชิกรัฐสภาที่เสนอญัตติหรือไม่ เพราะ ส.ส.ร. ทำหน้าที่แทนคนทั่วประเทศยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อพิจารณากระบวนการแล้วยังมีข้อกังวลใจ ว่าการทำหน้าที่ของ ส.ส.ร.จะทำด้วยหน้าที่ที่อิสระหรือไม่หรือจะไม่ถูกแทรกแซง เพราะการให้มีคนนอกที่ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ยกร่างเป็นคณะใหม่ จะต้องทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์อย่างแท้จริง และที่ต้องพึงระมัดระวัง ข้อเสนอประเด็นต่างๆ ที่จะนำมาเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีผลกระทบหรือมีส่วนใดที่จะเกิดปัญหากับประเทศชาติกับอนาคตหรือไม่ ดังนั้นจากการที่ได้ฟังสมาชิกท่านหนึ่งอภิปรายไปแล้ว เกี่ยวกับการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทางวุฒิสภาก็มีความกังวลใจว่ากรอบหรือวิธีคิดจะไปแค่นั้นหรือไม่ หรือหากมีคนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ใน ส.ส.ร. สิ่งที่เกิด ส.ส.ร.จะถูกกดดันหรือไม่ จึงห่วงว่าข้อเสนอในอนาคตจะไปไกลกว่าที่คิด แต่ก็ดีว่า จะทำให้ ส.ว.ตัดสินใจง่ายขึ้น และเป็นสิทธิแต่ละคน

เสรี กล่าวว่า ถ้าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งที ข้อเสนอ 4 ญัตติยังน้อยเกินไปกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ลงทุนหมื่นล้านแต่มีแค่ 4 ถึง 5 ประเด็น จึงมองว่าน้อยไปไหม แก้ปัญหาชาติ ปากท้องประชาชนจริงหรือไม่ หรือเอาแค่ความต้องการโดยอ้างอิงสิทธิเสียงของประชาชน อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่ทำบ้านเมืองสงบ มีการตรวสอบ การบริหารประเทศมั่นคง ส.ส. ส.ว. อยู่ครบสมัย 4 ปี มีระบบการเมืองที่แข็งแรง แต่ที่เสนอมายังไม่เห็นว่าประชาชนจะได้อะไร

สมาชิกวุฒิสภา รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ

‘สมชาย’ เชื่อประเทศไทยไม่ถึงทางตัน หวั่นโหวต 6 ญัตติขัด รธน.

ขณะที่ สมชาย แสวงการ ส.ว. อภิปรายถึงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เมื่อวันที่ 23-24 ก.ย. 2555 ที่เกิดวิกฤติในรัฐสภา วันนี้มีการอภิปรายด้วยคำกระแทรก เสียดสี หยามเหยียด ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควร บรรยากาศแบบนี้ไปกันไม่รอด ความก้าวร้าวทิ้งไว้นอกสภา ถ้าบังคับข่มเขาโคขืนให้กินหญ้าก็ไม่สำเร็จ ท่านต้องใช้เสียง ส.ว. แต่หลายสิ่งที่พูดออกมาทำให้ขาดความไว้วางใจ เช่น การปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ การตั้ง สสร. จึงอันตราย ในรัฐธรรมนูญไม่มีหมวดให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ต้องทำให้รอบคอบ ถ้าจะแก้ไขก็มีหมวดให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่บอกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญยาก แล้วเคยส่งเข้ารัฐสภาแล้วหรือยัง วันนี้ส่งเข้ามาพร้อมร่างทั้งฉบับและตั้ง ส.ส.ร.. ตนกลัวจะเกิดเผด็จการรัฐสภาซ้ำรอยเดิม ควรลองเปลี่ยนใหม่ให้ที่ประชุมรัฐสภาแก้ไขแค่บางส่วน 

ตนสมมติว่าให้แก้มาตรา 256 ก็กำหนดไปเลยว่าจะให้แก้ตรงไหน แต่สำหรับหมวด 1 และหมวด 2 ต้องทำประชามติ บางคนเปลี่ยนจากคำว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กลายเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การตั้ง สสร. ยังไกลเกินไป ส่วนเรื่องการแก้ไขรายมาตราตามที่พรรคฝ่ายค้านเสนอ ส.ว. หรือคณะรัฐมนตรีก็ยังไม่ได้เสนอ ตนเห็นว่าควรจะลองไปตกลงกันก่อนแล้วค่อยมาคุยกันใหม่ เช่น ระบบการเลือกตั้งกลับไปเป็นสองใบแบบไม่ผูกขาดแบบเดิม ถ้ากลับไปคุยกันมาก่อนแล้วเสนอใหม่ ถ้าเป็นอะไรที่มีประโยชน์กับประชาชน ส.ว. ก็พร้อมจะเทคะแนนให้ ทั้งหมดนี้ 

สมชาย ระบุว่า วันนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำญัตติ 4 ร่างยังไม่ตอบโจทย์ วันนี้โหวตแล้วไม่ผ่านก็ยังเสนอแก้ได้เรื่อยๆ แต่ควรไปทำมาใหม่ให้การแก้ไขชอบด้วยหลักกฎหมาย ไม่ใช่เดินหน้าไปสู่กับดักที่กระทำผิดเสียเอง ขณะเดียวกันเอกสารในการเสนอญัตติก็มีบางลายมือชื่อที่เซ็นไม่เหมือนกัน วุฒิสภาไม่ได้ขัดแย้งใดๆกับท่าน วุฒิสภามองประโยชน์ของประเทศชาติเช่นเดียวกัน แต่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยังไม่ได้ทำประชามติถามประชาชน ส่วนเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง ตนและพรรคอื่นๆ ก็เคยผ่านกันมาหมด ผ่านมาหลายม็อบ ตนไม่เคยกลัว แต่ไม่ได้ท้าทาย เจอมามากแล้วไม่ได้มีปัญหาอะไร 

ถ้าใครมาติดแฮชแท็กครอบครัวตนก็สามารถดำเนินคดีเหมือนกับลูกสาวนายกรัฐมนตรีได้ วันนี้ตนเห็นว่ายังไม่ถึงทางตัน ประเทศไทยมีทางรอดเสมอ ประเทศไทยมีพระสยามเทวาธิราศ ประเทศไทยรักกัน อย่างไรก็ตาม นายสมชายยังย้ำว่าควรทำประชามติก่อน ถ้าไม่เดินตามเกมก็จะมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ส่วน 4 ญัตติที่ยื่นมาต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อน เพราะถ้าผิดก็ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน ตอนนี้ตนเชื่อว่า ส.ว. มีคำตอบในใจแล้ว ฝ่ายค้านและรัฐบาลต้องเสนอทางออกให้ ส.ว. คิด ไม่ใช่มาขู่ว่าต้องเลือก

ชลน่าน สภา_๒๐๐๙๑๖.jpg

'ชลน่าน’ ขอเลือกทางออกประเทศ อย่าตัดสินใจผิดพลาดเป็นตราบาปเหมือน 14 ตุลา

จากนั้น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายสรุปญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในช่วงท้ายว่า วาระนี้เป็นวาระที่ 1 ชั้นรับหลักการ ใครจะเห็นด้วยกับร่างหรือญัตติใดก็เป็นสิทธิ์ของบุคคล แต่กรณีที่มีสมาชิกถามว่าถ้าลงมติไปแล้วไม่รับหลักการร่างที่ 3-6 แต่รับร่างที่ 1 หรือ 2 แล้วจะนำไปพิจารณาในชั้น ส.ส.ร. ได้อีกหรือไม่นั้น ส.ส.ร. สามารถทำหน้าที่ตามกรอบของ ส.ส.ร. คือสิ่งที่ทำไม่าได้คือข้อห้ามที่ห้ามแก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 แต่ยังสามารถพิจารณามาตราอื่นตามญัตติ 3-6 ที่ตกไปได้ เพราะไม่มีข้อห้าม และตนขอชี้แจงว่าแม้ตกในสมัยประชุมนี้ก็ยังสามารถพิจารณาได้ เช่นเดียวกับร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนก็สามารถนำมาพิจารณาในสมัยประชุมหน้าได้ 

อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดต้องแก้ไขยาก แต่ต้องไม่ยากเกินจนเป็นปัญหา และต้องสามารถแก้ในสิ่งที่จะเป็นปัญหาได้ แต่ถ้าในช่วง 2 ปีนี้นายกรัฐมนตรีลาออก ยุบสภา หรือมีการเปลี่ยนแปลง ก็จำเป็นต้องใช้กฎหมายในรัฐธรรมนูญใน 4 มาตราที่พรรคฝ่ายค้านเสนอแก้ เช่น การเลือกนายกรัฐมนตรี พรรคฝ่ายค้านจะยื่นฉบับเดียวคือ แก้ไขมาตรา 256 และตั้ง ส.ส.ร. แต่ถ้าไม่รับก็สามารถที่จะเลือกเฉพาะมาตราที่ต้องการจะแก้ไขและเป็นว่าเป็นประโยชน์กับบบ้านเมืองอีก 4 ญัตติได้

ส่วนกรณีที่หลายคนไม่เห็นด้วยมีเหตุผลหลายประการ เช่น การทำประชามติก่อนการเลือกว่าจะร่างทั้งฉบับหรือไม่ ตนเห็นว่าให้โหวตญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมก่อนที่จะไปให้ประชาชนทำประชามติเลือกว่าจะเอาหรือไม่ ดีกว่าการทำประชามติแค่ว่าจะแก้หรือไม่แก้ เพราะจะได้คำตอบที่ชัดเจนกว่า ว่าถ้าไม่เอา ถ้าไม่เอาก็จะไม่ต้องตั้ง ส.ส.ร. ประเด็นต่อมาคือคำถามว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากการแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า สภาพการณ์ในปัจจุบันก็เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรงและเกิดมาจากรัฐธรรมนูญตามที่สมาชิกหลายคนได้ชี้แจงไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีประเด็นคือ บ้านพังทั้งหลังก็ต้องซ่อมบ้านใหม่ซึ่งดีกว่าซ่อมทีละจุด บางคนบอกว่ารัฐธรรมนูญไม่มีปัญหาแต่ปัญหาอยู่ที่คนใช้ หลายคนอภิปรายไปแล้วว่ามีปัญหาทั้งระบบและคนใช้ รัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัติก็มีปัญหา ที่มาก็มีปัญหา ดังนั้นต้องแก้ที่ระบบก่อน ส่วนที่หลายคนกลัวว่าาจะยกเลิกสิ่งที่ดีในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตนเห็นว่าสามารถเก็บสิ่งที่ดีไว้ได้ และสามารถเพิ่มเติมในดีขึ้นได้ในการยกร่าง อีกเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยคือสิ้นเปลืองงบประมาณ 

นพ.ชลน่าน ระบุว่า ตนมองว่าคุ้มค่าและใช้งบประมาณประชามติ 3 ครั้งไม่ถึง 15,000 ล้านบาท บางคนกล่าวว่ากลัว ส.ส.ร. มาจากตัวแทนของพรรคการเมือง แต่ตนเห็นว่าถ้าเชื่อมั่นและไม่มีการบิดเบือนก็จะไม่ตกในอาณัตของใคร เราต้องช่วยกันสอดส่องดูแล และถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนั้นต้องประณาม อย่าโทษระบบต้องโทษที่การกระทำ ส่วนข้อที่บอกว่านำรัฐธรรมนูญ 2560 ไปใช้แล้วยังไม่เกิดปัญหา นี่เป็นเหตุผลใหญ่ที่ต้องแก้ ประชาชนสะท้อนมาตลอดว่าเกิดปัญหา ทั้งเศรษฐกิจและการเมืองที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และถือว่าเป็นการส่งเสียงของประชาชน เป็นความต้องการของประชาชนจริงๆ หรืออย่างเช่นโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย ประชาชน (ไอลอว์) รวมชื่อมากว่าแสนชื่อก็เป็นเสียงสะท้อนของประชาชน และเมื่อเป็นความต้องการของประชาชน กระแสเรียกร้องนี้ก็จะเพิ่มความรุนแรง ดังนั้นจึงต้องใช้พื้นทีสภาในการลดคงวามรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะเดียวกันการรับหลักการในวาระที่ 1 ไม่ได้ก่อความเสียหายใด รัฐธรรมนูญ 2560 ก็ยังใช้อยู่ และร่างใหม่ก็ต้องทำประชามติ มีโอกาสพิจารณาในรายละเอียดอยู่ 

ตนขอเรียกร้องว่าอำนาจเป็นของประชาชนให้ประชาชนตัดสิน ตั้ง ส.ส.ร. ประชาชนก็ตัดสิน และเมื่อได้ร่างแล้ว ประชาชนก็ต้องทำประชามติอีกทีก่อนโปรดเกล้าฯ เป็นรัฐธรรมนูญ แล้วทำไมต้องปิดกั้น ไม่รับหลักการทำให้ประชาชนเสียโอกาส ดังนั้นสิ่งที่ไม่ทำคือการตัดโอกาสประชาชน และที่บอกว่าทุกคนทำเพื่อประชาชน ตอนนี้มีโอกาสแล้ว

อีกทั้งการแก้รัฐธรรมนูญนี้ไม่เกี่ยวกับการลดอำนาจ ส.ว. เลย ส.ว. แต่ละคนมาจากคนที่โดดเด่นในสายงาน แม้ว่าการทำหน้าที่ของ ส.ว. ก็ต้องทำไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมที่บังคับให้กระทำ โดยเฉพาะมาตรา 272 ที่บังคับให้ต้องเลือกนายกรัฐมนตรี แต่ถ้าแก้มาตรานี้ก็เหมือนยกภูเขาออกจากอก ส.ว. ให้สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ตอนนี้ที่พึ่งของประชาชนอยู่ที่รัฐสภา ถ้าเราไม่ตัดสินใจเลือกทางออกที่ดีที่สุด ถ้าเกิดปัญหาเกิดขึ้นก็จะเป็นตราบาปว่าเป็นเพราะการตัดสินใจพลาดเพียงนิดเดียว ไม่อยากให้เหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น ขอให้พวกเรามาช่วยกันหาทางออกให้ประเทศ หาทางออกให้ลูกหลานเยาวชน ตอนนี้ประชาชนไม่ได้มากดดัน แต่มารอฟังข่าวดีที่รัฐสภาจะรับหลักการให้โอกาส แล้วถ้าวาระ 2-3 ไม่เห็นชอบก็ไม่เป็นไร ตอนนั้นสถานการณ์ก็จะดีขึ้น ขอให้ให้โอกาสในการลดความขัดแย้ง

วิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 1 495_200924_12.jpg

ประธานวิปรัฐบาล อ้างหวั่นร่าง รธน.ตก ดันตั้ง กมธ.ศึกษาก่อน

ด้าน วิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล อภิปรายสรุปว่า บางครั้งที่มีการอภิปรายเราจะเห็นความรู้สึกว่าสภาผู้แทนราษฎรก่อนที่จะมีร่างรัฐธรรมนูญเข้ามาก็จะมีความสามัคคี แต่วันนี้เราจะเห็นถ้อยคำแปลกๆ ที่เกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน วันนี้ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะมีคนถามถึงแต่ร่างรัฐธรรมนูญ เอาร่างไหน แก้แล้วประชาชนได้อะไร ตนจะไม่อ้างถึง 16 ล้านเสียงที่ยืนยันรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตอนนี้เป็นทางที่จะต้องเลือกว่าจะเดินหน้าต่อไป หรือเดินต่อแล้วหยุดเพื่อพูดคุยกัน ทุกคนรักชาติบ้านเมืองเหมือนกันหมด แต่ทำอย่างไรที่จะได้พูดคุยกัน 

"เราไม่มีคณะกรรมาธิการร่วมที่จะได้เจอกันบ่อยๆ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 121 วรรค 3 เขียนขึ้นเพื่อที่จะมีโอกาสให้คนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้มาคุยกันก่อน ถ้าผมเดินมาแล้วหยุดอยู่ตรงจุดนี้ ก็จะไม่ยอมให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผมและ ส.ส. เสนอมาให้ตกไป แต่ถ้าจะช้าไปสักเดือนก็คุ้มค่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เราก็จะไม่แตะ แต่ถ้าเดินหน้าแล้วไม่ได้รับความไว้วางใจโหวตเห็นชอบ" วิรัช ระบุ 

ประธานวิปรัฐบาล ระบุว่า ตนเห็นว่าเสียง ส.ว. มีความจำเป็นในการแก้ไขมาตรา 256 ตนคิดว่าถ้าใช้เวลาพูดคุยกันบ้างไม่เกิน 30 วัน ร่างที่ตนเสนอเข้ามาก็จะกลับมาใหม่ในการประชุมรัฐสภาสมัยหน้า ตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมาตนได้รู้ว่าตนยังทำไม่ครบในร่างอีกหลายอย่าง อยากถาม ส.ว. ว่ายังขาดหรือต้องเติมในส่วนไหน ขอย้ำว่าไม่ได้ประวิงเวลา ถ้าเดินไปข้างหน้าก็ตัน แต่ถ้าตั้งคณะกรรมาธิการตามข้อบังคับ 121 วรรค 3 ตนคิดว่าเดือนพ.ย. จะได้ผ่านร่างทั้ง 6 ร่างและมีการโหวต ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในวันนี้ ตนเห็นว่า ส.ส. และ ส.ว. มีวุฒิภาวะและตั้งใจทำงานเต็มที่ ตนขอเสนอตั้งคณะกรรมาธิการก่อนรับหลักการ และเลื่อนการพิจารณาเข้ามาเป็นสมัยหน้า และบอกฝ่ายค้านว่าทำไมเราไม่มาร่วมมือกันแก้ปัญหา ถ้าวันนี้ได้เลยตนก็ไม่าขัด แต่วันยนี้ถ้าทำแล้วเป็นทางตัน ตนก็จะหยุดรออีก 1 เดือน แล้วกลับมาใหม่

พลังประชารัฐ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 38031495_200924_18.jpg

'ไพบูลย์' มือชงญัตติตั้ง กมธ.ศึกษายื้อโหวตแก้ รธน.

กระทั่งเวลา 18.30 น. ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อที่ 121 เสนอให้รัฐสภาลงมติตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาก่อนรับหลักการ โดยมีสมาชิกยกมือรับรอง เพื่อให้ตัวแทนของพรรคร่วมรัฐบาล พรารคร่วมฝ่ายค้าน และ ส.ว. ร่วมกันพิจารณาเนื้อหาและความถูกต้องของกฎหมาย เพื่อเป็นความเห็นเสนอต่อสมาชิกรัฐสภาประกอบการพิจารณารับหรือไม่รับหลักการญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ฉบับ

ทำให้ สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน ทักท้วงว่า ตนใคร่ครวญแล้ว ไม่ใช่จะไม่รู้ พอรับทราบและได้วิเคราะห์ว่าการตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนลงมติรับหลักการนั้น ไม่ใช่ทางที่ประสบผลสำเร็จ ข้ออ้างที่บอกว่ายังไม่เคยคุยกันเลย ยังไม่ได้ปรึกษา ยังไม่มีข้อมูลในการตัดสินใจลงมติได้ การตั้ง กมธ.เพื่อขอศึกษาก่อนนั้น นี่คือขั้นรับหลักการ ไม่ใช่ตั้ง กมธ.ศึกษา ในรายละเอียดจะมีการตั้ง กมธ. หรืออนุ กมธ.ไปว่าในวาระที่ 2 โดยวันนี้เป็นเพียงหลักการ ตนเห็นว่าไม่จำเป็นตั้ง กมธ.ศึกษา เพราะจะเสียเวลา แต่ถ้าร่างตกไปก็ยังมีร่างภาคประชาชนของไอลอว์ ซึ่งจะพิจารณาได้ในสมัยประชุมรัฐสภาหน้าคือ ช่วงเดือน พ.ย. นี้

"วันนี้ขอหลักเดียวจะรับหลักการไหม เคารพรักกันเพื่อนฝ่ายรัฐบาล ผมปลื้มใจกัน แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยถ้าท่านจะตั้ง กมธ. พวกผมไม่เห็นด้วย ถ้าจะศึกษานั้น ฝ่ายค้านก็ศึกษาดีมาแล้ว ฝ่ายค้านจะไม่ขอร่วมศึกษา" สุทิน ระบุ

จากนั้น นิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ได้สนับสนุนญัตติตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนโหวตวาระที่ 1 โดยระบุว่า เมื่อหารายละเอียดไม่ได้ ก็ควรตั้ง กมธ.ขึ้นมาศึกษารายละเอียดของหลักการ 

ขณะที่ ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ไม่เห็นด้วยกับการตั้ง กมธ.ศึกษาของ ไพบูลย์ 

สุทิน เพื่อไทย  แก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐสภา b101886545fd505_38031495_200924_4.jpg

ส่วน สมชาย แสวงการ ส.ว. ระบุว่า ประธานวิปรัฐบาล และ ไพบูลย์ ได้เสนอทางออกแล้วเพื่อให้ทุกอย่างมีทางออกไม่ใช่ทางตัน อย่าเอาเราเข้าไปในกรอบมัดมือโดยไม่มีทางออกไป ทิศทางที่ ส.ว.ได้คิด ถ้าจะทำการศึกษาตามข้อบังคับ ข้อ 121 วรรคสาม ต้องมีร่างญัตติทั้ง 6 ญัตติ และร่างของภาคประชาชนที่กำลังตรวจสอบรายชื่อ และอาจมีร่างอื่นๆ ตามมาตรา 256 อื่นๆที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือ ส.ว. จะเสนอ

พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ประท้วง สมชาย โดยระบุว่า 250 ส.ว. มีสิทธิอย่างไรก็ได้ ไม่ใช่ สมชาย จะเป็นตัวแทนของ ส.ว.ทั้งหมด 

ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย การรเสนอตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนโหวตวาระที่ 1 เป็นการเอาประโยชน์ผู้สั่งการเป็นที่ตั้ง ตนยืนยันว่าการตั้ง กมธ.ศึกษานั้น ใช้เวลาช่วงเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ใน พ.ย. ถ้าร่างของภาคประชาชน ของไอลอว์ บรรจุ หลักการ ไอลอว์ มี 11 ข้อ มีประเด็นทับซ้อนกับ 6 ประเด็นที่ได้เสนอยู่ในขณะนี้ด้วย ท่านกำลังใช้อำนาจรัฐสภาปิดกั้นการเสนอกฎหมายของประชาชน หากกลัวผิดกฎหมายก็ให้ยื่นองค์กรต่างๆที่จะวินิจฉัย พวกตนยินดีจะขึ้นศาล 

"พวกท่านมีทางออกในสภาแห่งนี้ แต่พวกท่านไม่มีทาางออกไปถนนนะครับ ถ้าดึงยืดออกไป 1 เดือนก็อยากให้เลือกตั้งกันใหม่ หรือไม่ ผมคิดว่ารัฐบาลชุดนี้ก็จะอายุสั้นเร็วขึ้น" นพ.ชลน่าน ระบุ

พท.โวยโดนต้มกลางสัปปายะสภาสถาน ให้อภิปรายมา 2 วัน

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า มีการรอใบสั่ง เพราะมีการรอสัญญาณว่าจะลงมติอย่างไร แต่สองวันที่ตนได้อดนอนพร้อมเพื่อนสมาชิกรัฐสภา ถ้าจะแก้ไม่ได้ก็จะได้เรียนถึงประธานรัฐสภา วีรบุรุษประชาธิปไตย 

"เสมือนโดนต้มในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ สัปปายะสภาสถาน คือสถานที่ ที่หาทางออก สถานที่หาทางสงบ และความร่มเย็นให้ประเทศชาติ" ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ระบุ 

ปชป.ขวางตั้ง กมธ.เตะถ่วง

ชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า เพิ่งได้รู้ว่าจะมีการตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ เห็นว่า ต้องการแก้ไขมาตรา 256 โดยยอมรับว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังทำได้ยาก แต่ไม่ใช่ได้ยากจนผิดหลักการ และใช้เสียงข้างน้อยมามีอิทธิพลต่อเสียงข้างมาก และที่สุดก็ต้องมีการทำประชามติในครั้งสุดท้าย และทุกฝ่ายก็เห็นด้วยกันหมด ถ้าจะแก้ไขมาตรา 256 จะทำอย่างไรผ่อนคลายสถานการณ์ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ดังนั้น ต้องตั้ง ส.ส.ร. โดยการเลือกตั้งจากประชาชนตามสัดส่วนของประชากร และการแก้ไขมาตรา 256 เป็นเพียงการตั้ง ส.ส.ร.

"ผมแสดงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ตลอด 2 วันนี้ ที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาทั้งหมดของเพื่อนสมาชิก เพียงพอครบถ้วน ไม่มีความจำเป็นตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนรับหลักการ เพราะเมื่อรับหลักการแล้วก็สามารถมาตั้ง กมธ.เพื่อให้เพื่อนสมาชิกรัฐสภามาแปรญัตติได้ เรามีจุดยืนเริ่มต้นในการเสนอนโยบายของพรรคที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเสนอนโยบายเร่งด่วนต่อรัฐบาลให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ การเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เพื่อนทุกพรรคการเมืองได้เสนอชื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้พร้อมกัน วันนี้ถ้าเราได้มีการใช้เวลาที่มีอยู่ตรงนี้ ลงมติรับหลักการจะได้เดินหน้าตั้ง กมธ.วิสามัญ เพื่อร่วมใจกันแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป เพื่อให้ภาคภูมิใจรักษาพื้นที่ของรัฐสภาที่พึ่งประชาชน ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำอาณัติใดๆ" ชินวรณ์ ระบุ

รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยื้อตั้ง กมธ ศึกษา 24_18.jpg

รัฐสภาตึงเครียดยุติไม่ได้สั่งพัก - เปิดประชุม พปชร.เมินเสียงต้านโหวตทันที

เวลา 19.25 น. วิรัช เสนอสั่งพักประชุม โดย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา สั่งพักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที หลังหารือสามฝ่ายในที่ประชุมรัฐสภาไม่ได้ข้อยุติ

จากนั้น 19.58 น. ที่ประชุมรัฐสภาเปิดประชุมอีกครั้ง โดย ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ยืนยันขอเดินหน้าลงมติตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนลงมติรับหลักการในวาระที่ 1 ตามที่ ไพบูลย์ เสนอ

ทำให้ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่าสิ่งที่ประชาชนอยากรู้คือสภาจะรับหลักการให้นับหนึ่งหรือไม่ และถ้ายอมให้มีกรรมาธิการแล้วอีก 1 เดือนโหวตคว่ำ หมายความว่า ส.ส. จะไม่สามารถเสนอญัตติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยประชุมหน้าหรือไม่ และร่างของประชาชนที่นำมาเสนอก็จะตกไปด้วยหรือไม่ และต้องเสนอในอีกสมัยประชุมนึงหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนี้พรรคก้าวไกลก็จะร่วมสังฆกรรมไม่ได้

ภท.หนุนตั้ง กมธ.ยื้อโหวตวาระแรก

ด้าน ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าตนได้รับมอบหมายให้รายงานว่า พรรคมีความพร้อมในการแก้รัฐธรรมนูญ แต่หลังจากที่ฟังการอภิปราย แล้วยังพบว่ามีหลายประเด็นจาก ส.ว. ที่ยังไม่ได้พิจารณา แต่เรายินดีหากจะต้องใช้เวลาร่วมกัน 2 สภาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติของประเทศ ขอสนับสนุนญัตติของนายไพบูลย์ และให้คำมั่นสัญญาว่าถึงวันนี้ก็พร้อมจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ นพ.เรวัต วิศรุตเวช ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย กล่าวว่า ประชาชนรู้ความจริง การใช้ข้อบังคับที่ 121 อันตรายมาก จะทำให้สภาถึงทางตันและการเมืองนอกสภาจะประสบกับภาวะวิกฤติที่รุนแรงเกินที่จะคาดเดา

ขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ประท้วงประธานรัฐสภาที่ปล่อยให้คนหลอกลวงตน 2 วันและทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 115 และผิดจรรยาบรรณข้อที่ 1 และ 8 ที่ปฏิบัติงานไม่สุจริต ที่ผ่านมาไม่มีใครบอกว่าไม่เข้า ตนจึงตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามข้อตกลงวิป 3 ฝ่าย

จิรายุ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ ยื้อตั้ง กมธ ศึกษา 886545fd505_38031495_200924_18.jpg

จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย ประท้วงประธานรัฐสภา โดยขอไม่ให้ประธานรวบรัดตัดตอนในการลงมติญัตติตั้ง กมธ. ไม่อยากบอกว่ารัฐบาลแหกตาประชาชน ให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็นก่อน

จากนั้น ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเรียกสมาชิกลงมติญัตติตั้ง กมธ.ศึกษาก่อนรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 โดยมีผู้มาแสดงตนลงมติ 715 คน เห็นด้วย 432 คน ไม่เห็นด้วย 255 คน งดออกเสียง 28 ไม่ลงคะแนนเสียง 1 และมีการตั้งคณะกรรมาธิการจำนวน 45 คน โดยมีสัดส่วน ส.ว. 15 คน ไก่ กล้ารณงค์ จักทิก กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ จเด็จ อินสว่าง นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์, พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ตวง อันทะไชย ถวิล เปลี่ยนศรี มหณรรพ เดชวิทักษ์

วรารัตน์ อติแพทย์ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมชาย แสวงการ สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ เสรี สุวรรณภานนท์

ขณะที่สัดส่วนพรรคพลังประชารัฐ 8 คนได้แก่ วิรัช รัตนเศรษฐ วิเชียร ชวลิต, นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ไพบูลย์ นิติตะวัน, บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์, รงค์ บุญสวยขวัญ สุชาติ อุสาหะ

สัดส่วนพรรคภูมิใจไทย 4 คนได้แก่ ศุภชัย ใจสมุทร วิรัช พันธุมะผล มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช และ ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ

สัดส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ 3 คนได้แก่ อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ชินวรณ์ บุณยเกียรติ

สัดส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน คือ นิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

รวมมีกรรมาธิการจำนวน 31 คน

adb101886545fd505_38031495_200924_18.jpg

6 พรรคไม่สังฆกรรมนั่ง กมธ.ถ่วงเวลาโหวตแก้ รธน.

ส่วนพรรคเพื่อไทยมีสัดส่วน 8 คน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทยกล่าวว่าพรรคเพื่อไทยไม่ร่วมสังฆกรรมและไม่ตั้งกรรมาธิการ จากนั้น ส.ส. พรรคจึงเดินออกจากห้องประชุม

พรรคก้าวไกล 3 คน นายรังสิมันต์ โรม หารือว่า รัฐมนตรีมีสิทธิ์เข้าประชุมแต่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมร่วมรัฐสภา จึงถามว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และพรรคก้าวไกลยืนยันว่าเป็นการถ่วงเวลาจึงไม่อาจสังฆกรรมได้และจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป ก่อนจะถูกปิดไมค์ และนายชวนกล่าวว่าหากผิดกฎหมายต้องไปร้องศาลรัฐธรรมนูญเลย

พรรคเสรีรวมไทย 1 คน โดย วิรัตน์ วรศสิริน ส.ส.บัญชีรายชื่อ กล่าวว่าพรรคไม่ร่วมสังฆกรรมด้วยก่อนจะเดินออกจากห้องประชุม

พรรคประชาชาติ 1 คน สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ กล่าวว่า มติพรรคไม่มีความประสงค์ตั้งกรรมาธิการดังกล่าวและไม่ร่วมสังฆกรรม

พรรคเศรษฐกิจใหม่ 1 คน ภาสกร เงินเจริญกุล กล่าวว่า ขอไม่เสนอกรรมาธิการตามมติพรรค

จากนั้นฝ่ายค้านเดินออกจากห้องประชุมทั้งหมด โดย ชวนกล่าวว่าจะไม่อยู่ร่วมปิดสมัยประชุมด้วยกันหรือ

ด้าน นพ.รวี มาศฉมาดล หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ขอปรึกษาว่าจากการที่ฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขอตัวแทนของพรรคเล็กเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการได้หรือไม่ นายชวนตอบว่าไม่ได้เป็นสัดส่วนของแต่ละพรรค

จากนั้นเป็นประกาศรายชื่อกรรมาธิการ 31 คน มีระยะพิจารณาเวลา 30 วัน โดย ชวน กล่าวต่อว่าตนก็เตรียมซ้อมลงมติแล้วเหมือนกัน แต่ก็มารู้ว่าจะตั้งกรรมาธิการตอนค่ำ ไม่ต้องน้อยใจว่าถูกหลอก ถ้าถูกหลอกตนก็ถูกหลอกด้วย

จากนั้นเป็นการประกาศปิดสมัยประชุมรัฐสภาในเวลา 20.35 น. ชวนกล่าวหลังจากนั้น ว่า ฝากกรรมาธิการต่างๆ เร่งพิจารณางานเพื่อมาพิจารณาหลังเปิดสมัยประชุมสภา และขอให้สมาชิกทุกอย่าติดโควิด-19

ชวน พรเพชร แก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐสภา d5be8a6adb101886545fd505_38031495_200924_18.jpgฝ่ายค้าน วอล์กเอาต์ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ d5be8a6adb101886545fd505_38031495_200924_20.jpgปิดสมัยประชุมรัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ bfe1d5be8a6adb101886545fd505_38031495_200924_19.jpg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง