ไม่พบผลการค้นหา
รวมข้อมูล ค่าแรงขั้นต่ำ ค่าครองชีพ ภาษี และเงินที่ต้องจ่ายให่แก่รัฐเพื่อสวัสดิการสังคมในประเทศสุดฮิต หลังเกิดกระแส #ย้ายประเทศกันเถอะ กลุ่มที่มีสมาชิกกว่า 700,000 รายในเวลาไม่กี่วัน

ความกังวลต่ออนาคตตนเองของ 'เด็กรุ่นใหม่' หรือแท้จริงแล้วคือ 'ประชาชนไทย' จำนวนมาก ก่อกำเนิดขึ้นมาอย่างเงียบเชียบตลอดหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเศรษฐกิจประเทศไม่ได้เติบโตอย่างที่เคยเป็น 

หลังวิกฤตต้มยำกุ้งที่พาเศรษฐกิจไทยดิ่งเหวไปพบตัวเลขจีดีพีติดลบ 2.7% ในปี 2540 และดิ่งลงใต้พสุธาไปเยือนระดับติดลบ 7.6% ในปีถัดมา ไทยพยายามกลับมาอีกครั้ง แต่ไม่เคยดีเท่าเดิม ไทยเคยมีจีดีพีที่โตถึง 13.2% ในปี 2531 

ซ้ำยังมีทั้งวิกฤตการเงินช่วงปี 2551-2552 พร้อมด้วยการรัฐประหารอีก 2 ครั้งมาสะกัดขาไปมา เมื่อโควิด-19 มาถึง ทุกอย่างพังครืนลงมา ทั้งเศรษฐกิจ สุขภาพ และความหวัง 

ม็อบ 21 พ.ย. นักเรียนเลว  bts สยาม


700,000 คน คือกระจกสะท้อนไทย

กรุ๊ปในเฟซบุ๊กชื่อ 'ย้ายประเทศกันเถอะ' ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากภายในเวลาอันรวดเร็ว มีสมาชิกในกว่า 700,000 คนภายในเวลา 3 วันที่ก่อตั้งกรุ๊ป (ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนชื่อกรุ๊ปเป็น 'โยกย้าย มาส่ายสะโพกโยกย้าย') สะท้อนความจริงเหล่านั้นออกมาอย่างชัดเจน 

ท่ามกลางเสียงสนับสนุน เสียงวิจารณ์ และเสียงต่อว่าต่อแนวคิดการย้ายประเทศ การเข้าถึงข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ ค่าแรงขั้นต่ำ รวมไปถึงสวัสดิการของชาติอื่นในโลก ไม่เพียงช่วยเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของประชาชน แต่ยังเป็นการตอกย้ำความเป็นไปได้ในการหันกลับมาพัฒนาประเทศไทยเช่นเดียว 

ล่าสุด Rocket Media Lab รวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบประเทศต่างๆ ที่ถูกพูดถึงในกรุ๊ป 'ย้ายประเทศกันเถอะ' ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ค่าแรงขั้นต่ำ 2.ราคานม 1 ลิตร และ 3.ค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายให้รัฐ อาทิ ภาษีเงินได้, ประกันสังคม, ประกันสุขภาพ และค่าใช้จ่ายพื้นฐานอื่นๆ 

ข้อมูลของ Rocket Media Lab ประกอบไปด้วย ประเทศไต้หวัน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, สวีเดน, ออสเตรเลีย, นอร์เวย์ และ ฟินแลนด์


ข้อมูลโดยสรุป

ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียที่มีค่าแรงขั้นต่ำในอัตราสูง โดยเฉพาะฟินแลนด์ที่สูงถึง 1,011 บาท/ชั่วโมง ขณะที่นอร์เวย์ซึ่งไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ พบว่ามีค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยราว 600 บาท/ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้ล้วนมีการจัดเก็บอัตราภาษีสูงไม่แพ้กัน ทั้งยังซับซ้อน ประชาชนต้องจ่ายภาษีให้กับทั้งรัฐบาลกลางและภาษีท้องถิ่น 

ระบบประกันสังคมหรือประกันสุขภาพของประเทศเหล่านี้ซับซ้อนและแตกต่างกันออกไป ไม่ตายตัว บางประเทศเป็นระบบประกันที่เหมารวมอยู่กับอัตราภาษี คือจ่ายภาษีกลางให้รัฐบาลไปบริหารระบบสุขภาพโดยรวมของประเทศ ขณะที่บางประเทศเป็นระบบประกันแบบต้องจ่ายเพิ่มเอง เช่นเดียวกับระบบการจ่ายเงินสมทบของนายจ้างที่แตกต่างกันออกไป 

เหนือสิ่งอื่นใด ระดับค่าแรงขั้นต่ำ ระบบการจัดเก็บภาษี รวมไปถึงรายจ่ายประจำที่แรงงานของแต่ละประเทศต้องจ่ายคืนให้รัฐนั้นล้วนส่งผลต่อรายได้สุทธิของประชาชนทั้งสิ้น 

ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่า การเปิดข้อมูลเหล่านี้ว่าประเทศใดมีค่าแรง-ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเท่าไหร่ในการดำรงชีวิตไม่อาจเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสรุปแล้วประชาชนแต่ละคนควรย้ายไปประเทศใด แต่ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการเข้าใจสภาพความเป็นอยู่เบื้องต้นของคนชาติอื่น

ยังมีประเด็นอีกมากมายที่เกี่ยวข้องและต้องพิจารณาเมื่อประชาชนหวังจะย้ายประเทศ ทั้งเงื่อนไขการเปิดรับผู้อพยพหรือการได้สัญชาติ สาขาอาชีพอันเป็นที่ต้องการ รวมไปถึงสภาพความเป็นอยู่ การศึกษา ภาษาและวัฒนธรรม 

นอกจากนี้ข้อมูลชุดนี้ยังเป็นเพียงข้อมูลมาตรฐาน ที่อาจไม่ครบถ้วนในทุกประเภทของค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐานที่ต้องจ่ายให้แก่รัฐ เช่น ในบางประเทศอาจมีค่าภาษีวิทยุและโทรทัศน์ รวมไปถึงอาจมีความคลาดเคลื่อนของตัวเลขและข้อมูลซึ่งแปรผันตามท้องที่ หรือมีการปรับใหม่ 


ตารางสรุปข้อมูลของแต่ละประเทศ
infographic ย้ายประเทศ.jpg

หมายเหตุ : การปรับขึ้นค่าแรงของสหรัฐอเมริกาจะเริ่มมีผลจริงในวันที่ 30 ม.ค.2565 และจะมีผลกับลูกจ้างของรัฐเท่านั้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;