ไม่พบผลการค้นหา
กมธ.ประชามติ เตรียมออกแบบกฎหมายให้ทุกฝ่ายรณรงค์รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างเสรีภาพและเสมอภาค

สมาชิกวุฒิสภา วันชัย สอนศิริ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ หรือ วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย การออกเสียงประชามติ กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้มีการพิจารณาไปแล้ว 17 มาตรา จากทั้งหมด 66 มาตรา ซึ่งจะทันต่อการลงประชามติต่อการแก้ไขระฐธรรมนูญที่จะมีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 17-18 มี.ค.นี้ การพิจารณาของคณะกรรมาธิการที่ผ่านมา จะเป็นมิติใหม่ของการออกเสียงประชามติ ซึ่งไทยมีการออกเสียงประชามติมาแล้ว 2 ครั้ง คือลงประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญปี 2550 และปี 2560 

วันชัย เห็นว่า การออกเสียงประชามติใน 2 นั้น เป็นยุคที่ไม่ได้เป็นประชาธิปไตย จึงมีข้อครหาถูกกล่าวหามาโดยตลอด แม้แต่การพิจารณากฎหมายฉบับนี้ในวาระที่ 1 ก็มีข้อครหาเช่นเดียวกัน ดังนั้นคณะกรรมาธิการ จึงได้พิจารณาประเด็นสำคัญ ว่า การออกเสียงประชามติที่จะใช้หลังการแก้ไขหรือจัดทำรัฐธรรมนูญ จะมีการเพิ่มเติมคำว่า "เสรี เสมอภาค" เข้ามาด้วย จะต้องเป็นการกระทำที่สุจริต เสรี เสมอภาค เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปโดยเสรีทุกภาคส่วน ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ต้องมีสิทธิแสดงออกเท่ากัน 

ที่สำคัญอีกประเด็นคือ การรณรงค์ของประชาชนที่จะมีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางนั้น ในอดีตที่ผ่านมามักมีข้อกล่าวหาว่ามีการปิดกั้น ดังนั้นคณะกรรมาธิการได้มีการเพิ่มแก้ไข ให้ประชาชนพรรคการเมืององค์เอกชน และกลุ่มต่างๆในสังคมมีเสรีภาพตามในการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการออกเสียงประชามติได้

"เป็นเวลาของประชาชนแล้ว ที่จะใช้สิทธิใช้เสียงของท่าน ได้อย่างเสรีเสมอภาค ทั้งมีโอกาสรณรงค์เห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างเต็มที่ คณะกรรมาธิการชุดนี้ คำนึงถึงสิทธิเสียง ของทุกคนที่จะออกประชามติ ถือว่าเป็นเสียงสวรรค์ ที่จะตัดสินต่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างชัดเจน"

อ่านเพิ่มเติม