ไม่พบผลการค้นหา
นักวิชาการด้านผลิตภัณฑ์ยาสูบ ไม่เห็นด้วยกรมสรรพสามิต แนะ ครม.เลื่อนปรับอัตราภาษียาสูบเป็นอัตราเดียวร้อยละ 40 เผยผลประโยชน์ตกอยู่กับบริษัทต่างชาติมากกว่า ชาวไร่

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการควบคุมการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ออกแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยกับที่นายพชร อนันต์ศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต จะเสนอให้ ครม.พิจารณาเลื่อนการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบเป็นอัตราเดียวร้อยละ 40 ตามกำหนดในเดือนตุลาคมนี้ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อลดความเดือดร้อนของชาวไร่ยาสูบ และการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) โดยระบุว่า 

การปรับอัตราภาษีบุหรี่ซิกาแรตเมื่อเดือนตุลาคม 2560 เป็น 2 ระดับ โดยคิดตามมูลค่าร้อยละ 20 สำหรับบุหรี่ที่ขายต่ำกว่าซองละ 60 บาท และ ร้อยละ 40 สำหรับบุหรี่ที่ขายซองละ 60 บาทขึ้นไป และเก็บภาษีเฉพาะ 1.2 บาทต่อมวนสำหรับบุหรี่ทุกราคาขาย

ศ.นพ.ประกิต กล่าวอีกว่า อัตราภาษีนี้แต่เดิมกำหนดให้ใช้เป็นเวลา 2 ปี และปรับให้เป็นร้อยละ 40 อัตราเดียวเดือนตุลาคม 2562 แต่ได้มีการเลื่อนจากกำหนดเดิมมาแล้ว เนื่องจากชาวไร่ยาสูบได้รับความเดือดร้อน จากการที่การยาสูบแห่งประเทศไทย ลดการซื้อใบยาสูบจากชาวไร่ เนื่องจากส่วนแบ่งตลาดบุหรี่ของการยาสูบลดลงฮวบฮาบ จากที่ขายได้ประมาณ 27,000 ล้านมวน ต่อปีก่อนการปรับโครงสร้างภาษี และครองส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 67.5 แต่หลังการปรับอัตราภาษีเป็น 2 ระดับ ทำให้ยอดขายของการยาสูบลดลงในปี 2561 เหลือ 19,000 ล้านมวน และส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือร้อยล 50

การยาสูบแห่งประเทศไทย หรือ ยสท. เคยมีกำไรปีละ 8,000-9,000 ล้านบาท เหลือกำไรไม่กี่ร้อยล้านบาท จนไม่มีกำไรที่จะนำส่งคลังมา 2 ปีแล้ว ขณะที่บุหรี่นำเข้ารายหนึ่งเคยขายได้ 13,000 ล้านมวนในปี 2560 ได้รับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างภาษี ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 18,000 ล้านมวนในปี 2561 และส่วนแบ่งตลาดของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส เพิ่มขึ้นเป็นเกือบร้อยละ 50 ตามรายงานของยูโรมอร์นิเตอร์ 


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :