ไม่พบผลการค้นหา
‘วิญญัติ' จัดหนักฟ้อง 'ศรีสุวรรณ' แจ้งเท็จ ปมยื่นยุบพรรคเพื่อไทย อ้าง ‘ทักษิณ’ ชี้เจตนากลั่นแกล้ง-ใช้สิทธิไม่สร้างสรรค์ เล็งร้อง กกต.สอบกรณี ‘ศรีสุวรรณ’

วันที่ 15 ธ.ค. 2565 ที่ สน.ทุ่งสองห้อง วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) เดินทางมายื่นหนังสือแจ้งความกล่าวโทษ ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จากกรณีที่ยื่นร้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ไต่สวนเพื่อนำไปสู่การเสนอยุบพรรคเพื่อไทย โดยอ้างว่า ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีการชี้นำครอบงำ สืบเนื่องจากนโยบายขึ้นค่าแรง 600 บาท และผู้ที่จบปริญญาตรีเงินเดือน 25,000 บาท ภายในปี 2570 ของพรรคเพื่อไทย นั้น 

โดย วิญญัติ กล่าวว่า วันเดียวกันนี้ตนมาแจ้งความกล่าวโทษ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีกับ ศรีสุวรรณ จากกรณีที่ยื่นหนังสือกล่าวหาพรรคเพื่อไทยและ ดร.ทักษิณ ต่อการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายของพรรคฯ ซึ่งนโยบายดังกล่าวนอกจากอดีตนายกฯ ก็ยังมีอีกหลายคนที่ออกมาแสดงความเห็นซึ่งถือเป็นเรื่องปกติตามวิถีระบบประชาธิปไตยในสังคม ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้การเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองแต่ละพรรคก็จะประกาศนโยบายต่อสาธารณะ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

แต่กรณีนี้ ศรีสุวรรณ ยกประเด็นมาเชื่อมโยงมาเพื่อให้เข้าองค์ประกอบว่าอดีตนายกฯ ครอบงำนั้น จึงน่าเชื่อว่ามีพฤติการณ์เจตนากลั่นแกล้งในลักษณะน่าจะเป็นการจงใจใส่ร้าย โดยมิได้ตรวจสอบให้ดี หรือไม่ได้มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำของพรรคเพื่อไทยและ ดร.ทักษิณ จริง ซึ่งถือว่าเป็นการทำการเมืองหรือใช้สิทธิ์ที่ไม่สร้างสรรค์

จึงขอออกมาปกป้องสิทธิของประชาชนชาวไทย โดยแจ้งความเอาผิด ศรีสุวรรณ 2 ข้อหา ประกอบด้วย 1.)การกระทำของ ศรีสุวรรณ น่าจะเป็นการกระทำเข้าข่ายกระทำความผิด ฐานแจ้งหรือกล่าวหาพรรคการเมืองหรือบุคคลใดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 101 วรรคหนึ่ง มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ 2.)ข้อหาฐานเป็นผู้รู้ว่า มิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่กลับแจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่าได้กระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท 

นอกจากนี้ ตนก็จะไปยื่นต่อ กกต.เพื่อขอให้การดำเนินการสอบสวนเรื่องของ ศรีสุวรรณ ให้เป็นไปอย่างเที่ยงธรรมเพื่อให้เห็นว่ากิจกรรมของพรรคการเมืองเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องได้รับประโยชน์ ไม่ใช่เอามาเป็นเหตุในการยุบพรรค

วิญญัติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนเห็นว่าการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง อันเป็นเสรีภาพแก่บุคคลจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เปิดโอกาสในการกำหนดนโยบาย และการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงมีพรรคการเมืองหลากหลายที่มาจากการสนับสนุนของประชาชน นี่คือสิ่งที่ต้องรักษาตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่จะหาเรื่องยุบพรรคการเมือง ทำลายหลักการประชาธิปไตย หรือใช้สิทธิใดๆ ที่ไม่สร้างสรรค์หรือไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมมาทำลายพรรคการเมือง  บุุคคลต้องเคารพต่อเจตจำนงของประชาชนที่ต้องการให้พรรคที่ตนสนับสนุนได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ผ่านการเลือกตั้ง มีการแข่งขันกันที่นโยบายของแต่ละพรรคและบุคคลที่เสนอตัวลงเลือกตั้ง และไปวัดกันด้วยการพิสูจน์ผลงาน จึงไม่ควรใช้กระบวนการใดๆมาทำลายพรรคการเมืองด้วยข้อกล่าวหาที่ไม่สมเหตุสมผลอีก ตนจึงมาแสดงออกถึงการปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักการประชาธิปไตย

วิญญัติ 3E5-8085-A75DBC71AC3A.jpegวิญญัติ 3-9E08-C387D63A86CC.jpegวิญญัติ E-C7CBE2ED4FC3.jpegวิญญัติ ศรีสุวรรณ -70AF-4D06-B5B7-11AB9658FDA1.jpegวิญญัติ ศรีสุวรรณ -C487-405F-99F4-AF785D8F13F7.jpegวิญญัติ ศรีสุวรรณ  345-74D0FAB6DA92.jpegวิญญัติ ศรีสุวรรณ  33436501F5A4.jpeg