ไม่พบผลการค้นหา
234 ต่อ 230 เสียง เป็นมติสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการใช้อำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 กำลังสร้างความหวาดผวาให้ผู้นำที่มาจากการสืบทอดอำนาจ

จนต้องส่งสัญญาณไปยังวิปรัฐบาลป่วนญัตติดังกล่าวที่จะนำไปสู่การตรวจสอบของพรรคฝ่ายค้านอย่างถึงที่สุด จนส่งผลให้สภาล่ม 2 ครั้ง ในรอบสองวัน จนนำไปสู่ข้อสงสัยจากสังคมว่า เหล่าคนดีรักชาติมีอะไร "หมกเม็ด" เหตุใดจึงปฏิเสธการตรวจสอบโดย"ระบบรัฐสภา"

ทว่าเมื่อสืบค้นข้อมูลบน "กูเกิล" ตามคำชี้แนะของผู้นำสืบทอดอำนาจ ก็ทำให้ค้นพบการทิ้งทวนของ คสช. จากหน่วยงานลายพราง คือ การปูนบำเหน็จให้ ทั้ง "พลเรือน-ทหาร-ตำรวจ" ผู้รับใช้ คสช. ในเดือน พ.ย. 2561 ซึ่งกำลังนับถอยหลังสู่การเลือกตั้งในต้นปี 2562

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก โดยก่อนหน้านั้น ราวเดือน มิ.ย. 61 ก็ปรากฏโควต้าบำเหน็จสองขั้นตามหน้าสื่อจนเป็นที่ฮือฮามาแล้ว ทว่าการถลุงภาษีให้ "ลูกน้อง" โดย "เจ้านาย" ในปีงบประมาณ 2562 นี้ กลับกระทำการชนิดลักหลับ ในเอกสาร 14 หน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

บันทึกข้อความ ส่วนราชการ ฝกพ.สรส.สลธ.คสช. ที่คสช(สลธ) 1.1/11 วันที่ 9 พ.ย. 61 เรื่อง "การพิจารณาบำเหน็จประจำปี 2562 ครึ่งปีแรกของหน่วยใน คสช." ลงนามโดย พล.ต.สุรศักดิ์ ฉัตรกุล ณ อยุธยา รองหน.ฝกพ.สรส.สลธ.คสช. ทำการแทนหน.ฝกพ.สรส.สลธ.คสช. มีเนื้อหาคือ 1. ชั้นนายพล สังกัด ทบ. และนอกทบ. ที่ปฏิบัติงานในคสช.เป็นประจำและเต็มเวลาให้หน่วยต่างๆ ในคสช. 2. ชั้นต่ำกว่านายพล และลูกจ้างประจำ ที่ปฏิบัติงานให้แก่ คสช.เป็นประจำและเต็มเวลา ดำเนินการพิจารณาบำเหน็จข้าราชการและลูกจ้างประจำ

ขณะเดียวกันยังระบุ "รายการแจกจ่าย" ส่วนราชการในคสช. 66 หน่วยงาน ซึ่งทำให้เห็นภาพ "โครงสร้างอำนาจ" ของ "คณะรัฐประหาร" ที่เตรียมการมาอย่างดีและไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน ซึ่งนอกจากจะใช้ "กำลัง" เข้าสู่อำนาจที่สามารถใช้ "กลไกรัฐ" ประหนึ่งรัฐบาลปกติแล้ว ยังมีวางกลไกการบริหารโดยคณะรัฐประหาร ด้วยการใช้บริการ "ข้าราชการประจำ" ซึ่งส่วนใหญ่คือ หน่วยงานของกองทัพบก และ กอ.รมน. ทำหน้าที่ซ้อนทับไว้อีกชั้นหนึ่ง ดังนี้

1. สำนักงานหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ 2. สำนักงานหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ (2) 3. สำนักงานหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ (3) 4. สำนักงานหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ (4) 5. สำนักงานหัวหน้าคณะรักษาความแห่งชาติ (5) 6. คณะที่ปรีกษาคสช. 7. คณะที่ปรึกษาและปราสานงานด้านความมั่นคง 8. คณะกรรมการติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ

9.คณะกรรมการติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ 10.ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี 11. ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 12. ฝ่ายความมั่นคง 13.ฝ่ายกิจกาพิเศษ 14.ฝ่ายเศรษฐกิจ 15.ฝ่ายสังคมจิตวิทยา 16.ฝ่ายต่างประเทศและกิจการอื่นๆ 17.ส่วนราชการขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี 18.สง.ลธ.คสช. (1) 19. สง.ลธ.คสช. (2) 20. สง.ลธ.คสช. (3) 21. สง.ผช.ลธ.คสช. 22. สง.ผอ.สรส.สลธ.คสช. (2) 23. สง.ผอ.สรส.สลธ.คสช. (2) 24. สง.ผอ.สรส.สลธ.คสช. (3) 25. สง.ผอ.สรส.สลธ.คสช. (3) 26. สง.ผอ.สรส.สลธ.คสช. (4) 27. สง.ผอ.สรส.สลธ.คสช. (5) 28. ฝ่ายกำลังพล ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย

29.ฝ่ายข่าว ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 30. ฝ่ายยุทธการ ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 31. ฝ่ายส่งกำลังบำรุง ส่งงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 32.ฝ่ายกิจการพลเรือน ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 33. ฝ่ายงบประมาณ ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 34. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 35. ศูนย์ปฏิบัติการข่าวสาร ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 36. คณะทำงานติดตามสื่อ ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย

37. คณะทำงานด้านกฎหมาย ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 38. ชุดรักษาความปลอดภัยกองบัญชาการคณะรักษาความสงบแหง่ชาติ 39. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการข่าว ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 40. ศูนย์ติดตามสถานการณ์ 41. ส่วนการเงิน 42. แผนกประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติ กขป.5* 43.แผนกประสานงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ 44. ส่วนอำนวยการ สลธ.คสช. 45. คณะทำงานพิเศษ

46. กองบังคับการ ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป 47. ศูนย์ปรองดองฯ ประจำพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 1 48. ศูนย์ปรองดองฯ ประจำพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 2 49. ศูนย์ปรองดองฯ ประจำพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 3 50. ศูนย์ปรองดองฯ ประจำพื้นที่ กอ.รมน.ภาค 4 51. กองกำลังรักษาความสงบเรียบบร้อย กองทัพภาคที่ 1 52. กองกำลังรักษาความสงบเรียบบร้อย กองทัพภาคที่ 2 53. กองกำลังรักษาความสงบเรียบบร้อย กองทัพภาคที่ 3 54. กองกำลังรักษาความสงบเรียบบร้อย กองทัพภาคที่ 4 55. บก.ศูนย์ติดตามสถานการณ์ ศบท. กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย 56. บก.ศูนย์ติดตามสถานการณ์ ศปก.ทร. กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย 57. บก.ศูนย์ติดตามสถานการณ์ ศปก.ทอ. กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย 58. บก.ศูนย์ติดตามสถานการณ์ ศปก.ตร. กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย

59. ส่วนสนับสนุน กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย 60. ส่วนปฏิบัติการสื่อสาร กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย 61. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย 62. ส่วนประสานการปฏิบัติประจำสำนักงานเลขาธิการ รม. 63. ส่วนประสานงานด้านกฎหมายประจำสนช. 64. ชุดปฏิบัติการจับกุมเคลื่อนที่ สืบสวนและสออบสวน 65. ส่วนประสานการปฏิบัติ มท. และ 66. ส่วนปฏิบัติการข่าวสาร ศปก.นรม.


S__3072004.jpgS__3072006.jpgS__3072007.jpgS__3072008.jpg

ทั้งหมดจะพบได้ว่า หลายหน่วยงานนั้นอยู่ในการรับรู้ของสังคมไทย โดยเฉพาะส่วนงานใน คสช.ที่อยู่ในสังกัดของกองทัพบกและกอ.รมน.

ทว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานที่ไม่เคยปรากฏชื่อตามหน้าสื่อได้พบเห็น ก็สามารถทำให้เห็นองคาพยพของฝ่ายประจำที่ไม่ใช่เพียงกองทัพ แต่หมายรวมถึงพลเรือน ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายเจตจำนงพี่น้องประชาชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏอย่างเป็นระบบเช่นนี้มาก่อน เช่น ส่วนประสานการปฏิบัติ มท. ตัวย่อของกระทรวงมหาดไทย ที่มีราชการส่วนภูมิภาคกระจายอยู่ทั่วทั้งประเทศ หรือ ส่วนประสานงานด้านกฎหมายประจำ สนช. ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขาฯ ของคสช. ก็คือข้าราชการรัฐสภาสามัญ ในสังกัด สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

มากไปกว่านั้น ยังทำให้พบว่า คสช. ให้ความสำคัญด้าน "การข่าว" มากเป็นพิเศษ โดยมี 8 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 จาก 66 หน่วยงาน ได้แก่ 1. คณะกรรมการติดตามการเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ 2. ฝ่ายข่าว ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 3. ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 4. ศูนย์ปฏิบัติการข่าวสาร ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 5. คณะทำงานติดตามสื่อ ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 6. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการข่าว ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อย 7. ศูนย์ติดตามสถานการณ์ 8. ส่วนปฏิบัติการสื่อสาร กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย

ทั้งนี้ "ส่วนราชการในคสช." ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามมาตรา 44 ในประกาศคสช. ฉบับที่ 22/2557 เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2557 ที่มีรายละเอียดในการจัดส่วนงานของคสช. โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และระดับปฏิบัติ มอบหมายให้ "5 หัวหอก" ปล้นอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57 กำกับดูแลงานแต่ละด้านกันไป แต่ไม่มีการะบุรายละเอียดปรากฏเป็น "ส่วนราชการในคสช." อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ได้ระบุใน รายละเอียดการจัดตั้งหน่วยงาน จำนวนบุคลากร และงบประมาณ แต่อย่างใด ไม่มีใครทราบว่า ทั้ง 66 ส่วนราชการในคสช. นั้น ถูกหมกเม็ดจัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาไหน

อภิรัชต์ ลือชัย กองทัพ ทหาร ผู้นำเหล่าทัพ งบประมาณ สภา 8AF-4B9C-86CA-D68CCB9B580E.jpeg

ที่ผ่านมาการปูนบำเหน็จบริวาร คสช. หลายสำนักข่าวต่างรายงานในทิศทางเดียวกันว่า ข้าราชการที่ทำหน้าที่หางเครื่องให้คสช.มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 20,000 นาย ที่ได้รับเงินพิเศษจากภาษีประชาชน ด้วยการทำหน้าที่ปล้นอำนาจประชาชน แต่ไร้ใบเสร็จ และหากจำกันได้ก็จะพบว่า มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลถึง หนังสือแจ้งเวียนของ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2562 ที่ระบุถึงผลการประชุมคสช. โดยสั่งให้ 1. เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งหมดให้เก็บรักษาไว้ที่กองทัพบก กระทรวงกลาโหม 2. งบประมาณที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ผ่านมาได้ขออนุมัติเบิกจ่ายเป็นครั้ง ๆ ไป จึงไม่มีงบประมาณคงค้างเหลืออยู่ และ 3. บุคลากรที่มาช่วยราชการคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ส่งตัวกลับหน่วยงานต้นสังกัด

เมื่ออ่านจนถึงบรรทัดนี้ก็ทำให้พบกับบ้างอ้อ ความหวาดผวาของผู้นำสืบทอดอำนาจและองคาพยพ ต่อญัตติ "เช็คบิล ม.44" ของ 7 พรรคฝ่ายค้าน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นอาการของ "วัวสันหลังหวะ" ที่คอยกัดกินประเทศไทยในนามของความดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง