ไม่พบผลการค้นหา
กพท.ออกประกาศแนวปฏิบัติให้บริการผู้โดยสารสำหรับเส้นทางบินระหว่างประเทศ คุมเข้มเครื่องเช่าเหมาลำ ผู้โดยสารทุกคนต้องมีใบตรวจโรคปลอดโควิด-19 ถึงจะออกตั๋วโดยสารเดินทางได้

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2563 ในประกาศสำนักงานเรื่องแนวปฏิบัติในการให้บริการผู้โดยสารสำหรับเส้นทางบินระหว่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของกรมอนามัยโลก และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และกฎระเบียบของประเทศไทยที่กำหนดใช้อยู่ของ กพท.รวมถึงแนวปฏิบัติที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. หรือรัฐบาลกำหนดเพื่อกำหนดแนวปฏิบัติการบินในเส้นทางบินระหว่างประเทศ และสนามบินที่ให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศ รวมถึงประเภทของอากาศยานขนส่งบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินเข้าออกประเทศไทย ให้ยึดถือแนวปฏิบัติที่ ศบค.หรือรัฐบาลกำหนด

โดยให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศแจ้งให้ผู้โดยสารทราบถึงมาตรการทางสาธารณสุขของทางการไทยในการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งมาตรการก่อนเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และมาตรการเมื่อเดินทางถึงประหว่างอยู่ในราชอาณาจักรและมาตรการก่อนเดินทางออกจากราชอาณาจักร เช่น การกักตัวในสถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ (State Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว การลงแอปพลิเคชันติดตามอาการและการเดินทางเข้าสถานที่ต่างๆ ในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR เป็นต้น

นอกจากนั้น กรณีที่สนามบินต้นทางไม่มีระบบการตรวจคัดกรองผู้โดยสารและบุคคลที่เข้ามาใช้บริการในสนามบิน ให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศหรือ สายการบินจะต้องทำการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้โดยสาร โดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ไม่ต้องสัมผัสกับร่างกายของผู้ถูกตรวจวัด (Non-contact infraredthermometer) ก่อนออกบัตรโดยสาร (Boarding Pass) และสังเกตอาการโดยทั่วไป หากวัดอุณหภูมิได้สูงกว่า องศาเซลเซียส หรือมีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทันที่ หากการวินิจฉัยเห็นว่ามีความเสี่ยงให้ระงับการออกบัตรโดยสาร (BoardingPass) แก่ผู้โดยสารนั้น

อย่างไรก็ตาม ในประกาศยังระบุว่าก่อนออกบัตรโดยสารให้ตรวจสอบเอกสารสำคัญของผู้โดยสารตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าเอกสารไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ระงับการออกบัตรโดยสารแก่ผู้โดยสารนั้น

นายจุฬา กล่าวว่า ในกรณีที่ให้บริการเช่าเหมาลำ (Charter Fugh) ให้กำหนดให้ผู้เช่า (Charterer) วางมาตรการคัดกรองผู้โดยสารที่จะนำขึ้นเครื่อง โดยการบริการระหว่างประเทศที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคสูงให้กำหนดให้ผู้โดยสารแสดงผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี PCR ให้ตรวจสอบก่อนออกบัตรโดยสาร และเมื่อโดยสารในเครื่องบิน ผู้โดยสารจะต้องสวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้าบริเวณจมูกและปาก ตลอดเวลาที่อยู่ในเครื่องบิน ยกเว้นในสถานการณ์จำเป็นหรือฉุกเฉิน จัดให้มีแอลกอฮอล์ความเข้มขั้นไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ใช้สำหรับล้างมือไว้ให้บริการอย่างเพียงพอให้กับผู้โดยสารและพนักงานของผู้ดำเนินการเดินอากาศ

ส่วนผู้ปฏิบัติงานในเครื่องบินจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment; PPE) ดังนี้ คือ นักบินให้สวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้าบริเวณจมูกและปาก ลูกเรือให้สวมหน้ากากหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้าบริเวณจมูกและปาก และถุงมือยาง (Disposable Medical Rubber Gloves) ตลอดระะเวลาปฏิบัติการบิน โดยผู้ดำเนินการเดินอากาศอาจพิจารณาจัดหาอุปกรณ์อื่นที่สามารถป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติมได้ เช่น แว่นตา (Goggles) หรือชุดป้องกันเชื้อโรค (PPE) เป็นต้น

นอกจากนั้นการบริการในเครื่องบินจะต้องงดการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแผ่นพับโฆษณต่างๆ สำหรับผู้โดยสาร ยกเว้นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเท่านั้น รวมทั้งงดการจำหน่ายสินค้ที่ระลึกและสินค้าปลอดภาษีอากร ส่วนเที่ยวบินที่ปฏิบัติการบินโดยใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 120 นาที ให้งดการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มในระหว่างการปฏิบัติการบิน ส่วนเที่ยวบินที่ปฏิบัติการบินโดยใช้ระยะเวลามากกว่า 120 นาที จึงจะสามารถบริการอาหารและเครื่องดื่มได้ โดยพิจารณาบรรจุภัณฑ์แบบปิด (sealed, pre-packaged containers) 

ส่วนเที่ยวบินที่ปฏิบัติการบินโดยใช้ระยะเวลามากกว่า 240 นาที ต้องมีการสำรองที่นั่ง 3 แถวหลังสุดด้านใดด้านหนึ่งของอากาศยานไว้สำหรับแยกกักผู้ป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยเพื่อเฝ้าสังเกตอาการและป้องกันการแพร่กระจายของโรคในกรณีที่พบผู้โดยสารหรือลูกเรือที่มีอาการป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วยติดเชื้อ COVID-19 ให้นักบินผู้ควบคุมอากาศยานแจ้งข้อมูลการตรวจพบผู้โดยสารหรือลูกเรือที่มีอาการปวยหรือสงสัยว่าจะป่วยดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ เพื่อรายงานให้แก่ผู้ดำเนินการสนามบิน และหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติการบินทุกครั้ง ให้ทำการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) ในส่วนของห้องโดยสารตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.เป็นต้นไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :