ไม่พบผลการค้นหา
นอกจากโดดเด่นด้วยขนาดใหญ่ 9 ห้องเสา วิหารไทลื้อ วัดหนองบัว อำเภอท่าวังผา ยังงดงามด้วยภาพเขียนสีเล่าเรื่องชาดก

ในพื้นที่จังหวัดน่าน จิตรกรรมฝาผนังลีลาเฉพาะตัว ใช่มีแต่ที่วัดภูมินทร์ภายในตัวเมืองเท่านั้น ห่างกันราว 45 กิโลเมตร ยังมีภาพเขียนอันน่าชมอีกแห่ง ณ วัดหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา

วัดหนองบัวสร้างเมื่อประมาณพ.ศ. 2315 ต่อมาในราวปี 2415 ชาวบ้านย้ายวัดจากกลางทุ่งนามาสร้างในที่ปัจจุบัน กรมศิลปากรประกาศเป็นโบราณสถานเมื่อปี 2538


01.JPG

วิหารวัดหนองบัวสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารแบบปิดทึบทรงโรง ด้านหน้าเป็นมุขคลุมบันได ตัวอาคารมี 7 ห้อง มุขบันไดมี 2 ห้อง รวมมีขนาด 9 ห้องเสา

หลังคาวิหาร ด้านหน้าลดสองชั้น ด้านหลังลดสองชั้น


00_2.JPG

หลังคามุขบันได ลดสองชั้น แต่ละชั้นมีผืนหลังคาสองตับ โครงหลังคาลาดต่ำ


03.JPG

งามเด่นด้วยสีสัน ลวดลาย ประดับหน้าบันวิหาร และหน้าบันมุขหน้า


04.JPG

ป้านลมมุขบันไดอ่อนโค้งน้อยๆ ถัดสูงขึ้นไป มองเห็นป้านลมของหลังคาซ้อนชั้นของตัววิหาร


05.JPG

หลังคาทรงจั่วแสดงโครงสร้างแบบ ‘โกม’ คล้ายกับระบบรับน้ำหนักของวิหารล้านนาที่เรียกว่า ม้าต่างไหม

หน้าบัน หรือ หน้าแหนบ  เป็นแผ่นไม้กรุปิดโครงสร้างหลังคา เรียกว่า ดอกคอหน้าแหนบ แบ่งหน้าบันด้วยลูกฟักและปะกน ตกแต่งลายดอกประจำยาม ปิดกระจกสี


06.JPG

หน้าบันมุขคลุมบันได ตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก ลวดลายพรรณพฤกษา


06_2.jpg

หลังคาประดับปูนปั้นรูปสัตว์ ช่อฟ้าทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ พญานาค ใบระกาเป็นครีบนาค หางหงส์เป็นเศียรนาค


10.JPG

ทางขึ้นมีสิงห์ปูนปั้นประดับข้างละตัว


11.JPG

ทางเข้าอาคารทำซุ้มประตูแบบเรียบง่าย


11_2.JPG

บนแผงไม้คอสอง ระหว่างเสาไม้กลมประดับบัวปลายเสา ปรากฏเค้าภาพวาดรูปอดีตพระพุทธเจ้า


11_4.JPG

โคนเสาเขียนลายคำ


12.JPG

พระประธานประดิษฐานในห้องท้ายสุด


12_01.jpg

เบื้องหน้าพระประธาน มีพระพุทธรูปไม้แกะสลัก


12_02.JPG

แท่นประดิษฐานพระประธาน เป็นฐานบัว ก่ออิฐฉาบปูน ประดับกระจกสี


17.JPG

ผนังด้านหลังพระประธาน เขียนภาพอดีตพุทธเจ้า


18.JPG

ข้างใต้ภาพแถวอดีตพุทธเจ้าเป็นรูปบุคคล


026.JPG

บุคคลในภาพนุ่งห่มเครื่องทรง แสดงฉัพพรรณรังสี


21.JPG

ตอนบนของผนังวิหาร เขียนภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ ถัดลงมาเป็นเรื่องจันทคาธชาดก


23.JPG

ภาพเด่นบนผนังด้านหน้าพระประธาน คือ ตอนพระอินทร์ดีดพิณสามสายถวายพระพุทธเจ้า สื่อสารว่าสายพิณที่ตึงเกินไปย่อมขาด หย่อนเกินไปย่อมไม่เกิดเสียง สายที่ขึงตึงแต่พอดีเท่านั้นจึงดีดฟังไพเราะ


22.JPG

พระพุทธเจ้าซึ่งกำลังพักผ่อนระหว่างบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรงได้สติเพราะเสียงพิณของพระอินทร์ ตระหนักถึงทางสายกลาง จึงเลิกทรมานร่างกายตนเองเพื่อหาทางหลุดพ้น


25_02.JPG

จิตรกรรมเล่าเรื่องจันทคาธชาดก เป็นนิทานในพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้ที่ประชุมสงฆ์ฟัง

เนื้อเรื่องมีว่า ครอบครัวยากจนในเมืองจัมปากนคร มีลูกชายเล็กๆ 2 คน ชื่อ สุริยคาธกับจันทคาธ ในยามแห้งแล้งขาดแคลนอาหาร ลูกทั้งสองจับปูมาได้สี่ตัว จันทคาธร้องจะกินปูทั้งหมด สองพี่น้องจึงถูกไล่ออกจากบ้าน ทั้งสองได้ผจญภัยมากมาย ต่างได้รับยาวิเศษที่ชุบชีวิตคนได้ สองพี่น้องจึงได้ธิดาของเจ้าเมืองหลายเมืองเป็นภรรยา

ต่อมา สุริยาคาธได้เป็นเจ้าเมืองกาสี ส่วนจันทคาธยังผจญภัยต่อไป ท้ายสุดได้ครองเมืองอนุมัตตินคร มีราชบุตรนามว่า ทุคคตขัติยวงสา เป็นเจ้าชายรูปงาม มีปัญญา มีพละกำลังมากกว่าจันทคาธ เจ้าชายได้เสกสมรสกับนางแก้ววุวัณณพิมพาแห่งเมืองมิถิลา เมื่ออายุมากแล้ว จันทคาธมอบเมืองให้ท���คคตขัติยวงสาปกครองสืบมา

ในภาพทางมุมขวาบน เป็นตอนที่พระธิดาของกษัตริย์เมืองกาสีถูกงูกัดตาย สุริยคาธรับอาสาแก้ไขจนฟื้นชีพ เจ้าเมืองจึงยกพระธิดาให้


25.JPG

จันทคาธได้อภิเษกกับธิดากรุงอินทปัตถ์ หลังช่วยให้นางฟื้นจากความตาย


25_05.JPG

ต่อมา จันทคาธคิดถึงบิดามารดา จึงลงเรือพร้อมพระชายา มุ่งไปยังเมืองกาสี ระหว่างทาง เรือสำเภาถูกพายุพัดล่ม นางเทวธิสังกา พระชายา ตกน้ำพลัดพรากจากสามี ไปขอพำนักอยู่กับหญิงชราคนหนึ่ง


25_06.JPG

เมื่อจันทคาธขึ้นฝั่งได้หลังเรือแตก ก็เที่ยวตามหาพระชายา ระหว่างนั้นได้ช่วยชุบชีวิตพญานาคที่ต่อสู้กับพญาครุฑจนตาย พญานาคกลายร่างเป็นคน แล้วตอบแทนด้วยการมอบดวงแก้ววิเศษให้ เมื่ออมไว้ในปากจะหยั่งรู้เหตุการณ์ได้


020_02.JPG

จันทคาธรอนแรมมาพบสตรีนามว่า พรหมจารี ถูกลอยแพ ก็ทราบด้วยญาณว่า นางถูกทอดทิ้งเพราะสุทัสสนจักร สามีของนาง มาฝักใฝ่อยู่กับนางเทวธิสังกา มเหสีของตนเอง จึงพานางไปอยู่ที่เมืองของแม่เลี้ยงของนาง เพื่อให้เรียนวิทยายุทธกลับไปแก้แค้นสุทัสสนจักร

เมื่อเรียนจบ นางพรหมจารีไปเยี่ยมบิดา พระเจ้าธัมมขันตี และเล่าเรื่องราวให้ฟัง พระองค์จึงจัดให้จันทคาธอภิเษกกับนาง แล้วมอบเมืองอนุราธะให้ครอง


019.JPG

ก่อนการอภิเษก พระมเหสีของพระเจ้ากาวินทะแห่งนครเวสาลีสิ้นพระชนม์ลง พระองค์ใคร่ได้นางพรหมจารีเป็นพระมเหสีใหม่ จึงส่งทูตมาขอ แต่พระเจ้าธัมมขันตีทรงปฏิเสธ อ้างว่าได้ยกให้สุทัสสนจักรแล้ว

ทูตกลับไปทูลว่า บัดนี้นางพรหมจารีอยู่กับมาณพหนึ่ง ชื่อ จันทคาธ พลางกล่าวชื่นชมความงามของนาง พระเจ้ากาวินทะจึงแต่งทูตไปเจรจาอีกครั้ง นางพรหมจารีฝากบริภาษกลับมาโดยแรง พระเจ้ากาวินทะกริ้วหนัก ส่งทัพไปรบกับเมืองอนุราธะ

นางพรหมจารีนำทัพหญิงบริวารทั้งปวงร่วมกับจันทคาธ สู้รบกับกองทัพของพระเจ้ากาวินทะจนมีชัยชนะ


024.JPG

เมื่อช่วยการศึกนางพรหมจารีแล้ว จันทคาธอำลาไปตามหานางเทวธิสังกา จนกระทั่งได้พบนางซึ่งออกบวช ต่างรำพึงรำพันแก่กัน

ภาพชุดวิหารไทลื้อ เมืองน่าน จบลงเพียงนี้ ชุดต่อไป ติดตามชม วิหารไทลื้อ ณ หลวงพระบาง.


แหล่งข้อมูล

กอบยศ ยิ้มอ่อน. (2552). การศึกษาวิหารไทลื้อในวัฒนธรรมล้านนา (จังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน). วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ฉัตรสุรางค์ แก้วเป็นทอง. (2556). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ กับจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ชัยวุฒิ บุญเอนก. (2548). วิหารไทลื้อเมืองน่าน : รูปแบบและคติความเชื่อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.


ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง

 

ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา

ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี

ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี

ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี

ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม

ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา

ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี

ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี

ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา

ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี

ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)

ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)

ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง

ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)

ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง

ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง

ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง

ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง

ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง

ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง

ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง

ไทยทัศนา : (37) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่หนึ่ง)

ไทยทัศนา : (38) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สอง)

ไทยทัศนา : (39) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สาม-จบ)

ไทยทัศนา : (40) พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

ไทยทัศนา : (41) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่หนึ่ง-วัดหนองแดง)

ไทยทัศนา : (42) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สอง-วัดต้นแหลง)

ไทยทัศนา : (43) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สาม-วัดดอนมูล)

ไทยทัศนา : (44) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่สี่-วัดร้องแง)

ไทยทัศนา : (45) วิหารไทลื้อ น่าน (ตอนที่ห้า-วัดพระธาตุเบ็งสกัด)