ไม่พบผลการค้นหา
กลุ่ม OctDem แถลงการณ์ถึงศาลยุติธรรมวอนให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหาคดี 112 เปิดทางต่อสู้คดี ด้าน ‘ชาญวิทย์’ เรียกร้องผู้พิพากษาจบ มธ.ยึดหลักนิติธรรม ขณะที่ ‘จาตุรนต์’ ปัดเคลื่อนไหวชุมนุมกับกลุ่ม นศ. ชี้ต้องการย้ำบทเรียนในอดีตต่อสังคม ย้ำปล่อยตัวผู้ต้องหาก่อน

เวลา 13.00 น. วันที่ 2 เม.ย. 2564 ที่ลานประติมานุสรณ์ 6 ตุลา อนุสรณ์สถานผู้สูญเสียในเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  คนเดือนตุลาเพื่อประชาธิปไตย ในนามกลุ่ม Octoberists for Democracy (OCTDEM) ประกอบด้วยนักวิชาการ นักการเมือง ที่เคยผ่านเหตุการณ์เดือน ต.ค. ปี 2516 และปี 2519 ล้อมปราบนิสิต นักศึกษาที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยประกอบด้วย สุธรรม แสงประทุม อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.)  ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์  พนัส ทัศนียานนท์อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกฯ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกฯ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกฯสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรองประธานสภาฯ เกรียงกมล เลาหไพโรจน์ สิตา การย์เกรียงไกร เป็นต้น โดยกลุ่มคนเดือนตุลาได้ร่วมกันยืนสงบนิ่งเพื่อรำลึกถึงเหยื่อผู้สูญเสียในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 และ 6 ต.ค.  2519 ก่อนออกแถลงการณ์เรียกร้องศาลยุติธรรมให้ปล่อยตัวนักศึกษา นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 และมาตรา 116 จากการชุมนุมทางการเมืองและยังไม่ได้รับสิทธิประกันตัว

คนเดือนตุลา7.jpg

โดย ศ.ดร.ธเนศ อ่านแถลงการณ์ว่า  ตามที่บรรดานักเรียน นิสิตนักศึกษาเยาวชนและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยได้เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ฝ่ายรัฐได้ใช้อำนาจปราบปรามจับกุมคุมขังพวกเขาไว้ในเรือนจำ ปรากฏว่าศาลยุติธรรมไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัวพวกเขา โดยเฉพาะแกนนำกลุ่มที่ถูกกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112  ซึ่งเห็นว่าระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยและนิติรัฐนิติธรรมนั้นการที่ศาลยุติธรรมจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและทำคำสั่งใดใดจะต้องเป็นไปโดยยุติธรรมและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ยุติธรรมการไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำของการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ เชื่อว่าศาลยุติธรรมย่อมต้องเข้าใจและทราบดีว่าหลักการในการปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาทุกคดีนั้นคือการจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาเหล่านั้นยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ และจะปฏิบัติต่อเขาเสมือนหนึ่งว่าเป็นผู้พิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดแล้วไม่ได้ 

“เราเชื่อว่าศาลยุติธรรมย่อมเข้าใจดีว่าการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญและตามกฏหมายสิทธิมนุษยชนเราเชื่อว่าศาลยุติธรรมตระหนักดีว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ดีบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ดี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ดีกติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองที่ประเทศเรายึดถือและได้ให้สัตยาบันไว้ต่อนานาชาติก็ดี ล้วนมีบทบัญญัติชัดเจนว่าการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาในระหว่างพิจารณาคดีเป็นข้อกำหนดที่ศาลพึงยึดถือและพึงปฏิบัติ”

ศ.ดร.ธเนศ ระบุว่า “เราเห็นเราเห็นว่าเหตุผลของศาลยุติธรรมที่ปฏิเสธการปล่อยตัวชั่วคราวบรรดาผู้รักประชาธิปไตยนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวข้างต้น เพราะผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดยังไม่ได้ถูกศาลตัดสินถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดย่อมต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ มูลคดีทั้งหมดล้วนสืบเนื่องจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาที่ถูกดำเนินคดีและคดีเช่นนี้ในภาวะการปกติอยู่ในเกณฑ์ที่ศาลอาจใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวชั่วคราวได้เป็นเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่ชอบด้วยข้อกฎหมายและความยุติธรรมใดใดทั้งสิ้น”

“ไม่ว่าการตัดสินของศาลยุติธรรมที่ปฏิเสธไม่ให้ผู้เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยเหล่านั้นได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจะมาจากเหตุผลใด จะมีเหตุผลจากการถูกบีบบังคับโดยอำนาจนอกระบบหรือเป็นความประสงค์ของศาลยุติธรรมเองก็ตาม เราเห็นว่าการตัดสินใจดังกล่าวทำให้เกิดวิกฤติความศรัทธาความเชื่อถือ เชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาลยุติธรรมในที่สุดซึ่งล้วนเกิดจากการกระทำของท่านเองทั้งสิ้น”

คนเดือนตุลา11.jpgคนเดือนตุลา13.jpgชาญวิทย์ w10402.jpg

แถลงการณ์กลุ่ม OCTDEM ย้ำว่า “เราเชื่อว่าเจตนาที่จะคุมขังผู้เรียกร้องประชาธิปไตยไว้ตลอดการพิจารณาคดีรวมทั้งการขัดขวางของเจ้าหน้าที่รัฐในการที่ไม่ให้พวกเขาเหล่านั้นพบปะกับทนายความก็ดี การจงใจข่มขู่คุกคามระยามวิกาลต่อผู้ต้องขังเรานั้นก็ดีย่อมไม่อาจขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยความกังวลใจต่อระบบนิติรัฐในประเทศนี้ เราหวังที่จะเห็นศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระและพิจารณาอรรถคดีต่างๆไปด้วยความยุติธรรมและปราศจากอคติปราศจากการครอบงำจากผู้หนึ่งผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เราขอเรียกร้องอย่างตรงไปตรงมาต่อศาลยุติธรรมว่าท่านต้องให้โอกาสเขาเหล่านั้นในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่โดยเปิดเผยและมีโอกาสแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของพวกเขาอย่างเต็มที่ โดยอนุญาตให้โดยอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวพวกเขาในระหว่างการพิจารณาคดีอันเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ของพวกเขาที่มีอยู่ตามหลักกฏหมายยุติธรรม”

จาตุรนต์ สุรพงษ์ ทศพร คนเดือนตุลา ศาลฎีกา OCTDEM 0402.jpgสุธรรม แสงประทุม คนเดือนตุลา ศาลฎีกา OCTDEM 999960402.jpgจาตุรนต์ สุรพงษ์ วรชัย ธรรมศาสตร์ คนเดือนตุลา ศาลฎีกา OCTDEM ww10402.jpg

'ชาญวิทย์' จี้ผู้พิพากษาจบ มธ.ยึดหลักนิติรัฐ

ขณะที่ ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ ย้ำว่า แม้ตนจะไม่ใช่คนเดือนตุลา แต่ตนได้อยู่ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อ 16 ต.ค. 2514 และ 5 ต.ค. 2519 ตนได้ทำงานกับ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ขณะนั้น ซึ่งตนมาเคารพอนุสรณ์สถานคนเดือนตุลาแต่หลายคนลืมไปแล้วเหยื่อรายแรกของ 6 ต.ค. 2519 คือ ป๋วย ทั้งนี้ ตนอยากเห็นกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยนั้น ดำเนินตามตัวบทกฎหมายอย่างแท้จริง โดยอยากบอกไปยังบรรดาผู้พิพากษาทั้งหลาย โดยเฉพาะคนที่จบ ม.ธรรมศาสตร์ที่ก่อตั้งโดย ปรีดี พนมยงค์ ประศาสน์การ ม.ธรรมศาสตร์  จอมพล ป พิบูลสงคราม อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์  สัญญา ธรรมศักดิ์ ป๋วย อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ที่ยึดมั่นเรื่องนิติธรรมและนิติรัฐ จึงขอฝากผู้พิพาษาที่จบ ม.ธรรมศาสตร์ให้ยึดมั่นกบหลักนิติธรรม

คนเดือนตุลา2.jpgคนเดือนตุลา4.jpgคนเดือนตุลา6.jpg

'จาตุรนต์' ปัดนำคนตุลาร่วมม็อบ ขอหยุดการใช้หลักนิติธรรมที่ไม่เป็นธรรมก่อน

ขณะที่ จาตุรนต์ กล่าวถึงกรณีทีกลุ่ม OctDem จะเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มนักศึกษาที่มีการชุมนุมด้วยหรือไม่ ว่า คงไม่ใช่การร่วมขบวนเคลื่อนไหว แต่เราเป็นผู้ถูกกระทำในอดีต มีประสบการณ์บทเรียนจากการปราบปราม เข่นฆ่า ใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม เราจะใช้ประสบการณ์นี้ให้เป็นประโยชน์ หากผู้มีอำนาจยังปราบปรามผู้ที่เห็นต่างแบบนี้ก็จะเกิดความสูญเสีย สิ่งที่ทำได้คือช่วยเสนอประสบการณ์ เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เราเห็นการคุกคาม ทำร้ายใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม ดังนั้นขอให้หยุดใช้หลักนิติธรรมที่ปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อนักศึกษา เยาวชนที่เห็นต่างจากรัฐ และทางกลุ่มทำหน้าที่หนังสือส่งประธานศาลฎีกา และศาลยุติธรรม เพื่อขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาได้มีโอกาสรับการประกันตัว นี่ไม่ใช่การเข้าร่วมเป็นขบวนเคลื่อนไหวกับกลุ่มนักศึกษา เพราะเชื่อว่าเราไม่สามารถไปเพิ่มจำนวนคนได้ แต่จะรวบรวมประสบการณ์นำเสนอสังคมแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนจุดยืนของกลุ่มยอมรับว่ามีคนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการบริหารประเทศของรัฐบาล แต่กลุ่มเรายังไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ร่วมกัน

เมื่อถามว่า กลุ่มมีจุดยืนอย่างไรเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบัน จาตุรนต์ กล่าวว่า ทางกลุ่มมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับหลักนิติธรรม ซึ่งเรื่องที่ต้องทำเฉพาะหน้าตอนนี้คือ เรื่องของการประกันตัวผู้ต้องหาไม่ว่าจะถูกข้อหาใดก็ตาม เพราะเราพูดหลักใหญ่คือหลักนิติธรรม ถ้ายังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดต้องได้รับสิทธิประกันตัว 

“เราเห็นการคุกคามทำร้ายใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม เราต้องการให้หยุดคุกคามทำร้ายและใช้หลักนิติธรรมโดยมีการปฏิบัติไม่เป็นธรรมต่อ นักศึกษา เยาวชนที่เคลื่อนไหวแสดงความเห็นต่างจากรัฐ เราจึงทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ประธานกรรมการศาลยุติธรรม ขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ” จาตุรนต์ ระบุ

กลุ่มคนตุลา ยังไม่ได้ถกข้อเสนอไล่รัฐบาล

ส่วนข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ต้องการให้รัฐบาลชุดนี้ออกไปนั้น  จาตุรนต์ ระบุว่า ถ้าถามรายคนคงมีคนจำนวนมากคงไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลนี้ แต่การทำงานเป็นกลุ่มนั้นยังไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ แต่เราคิดแต่จะใช้ประสบการณ์ในสังคมเคยเป็นผู้ถูกกระทำในอดีตเข้าใจความเจ็บปวดมาบอกกับสังคม พร้อมย้ำว่าทางกลุ่มยังไม่ได้พูดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่วัตถุประสงค์ใหญ่ต้องการใช้ประสบการณ์แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และหลักนิติธรรมต้องการให่ฝ่ายต่างๆยึดหลักนิติธรรม

จาตุรนต์ ย้ำว่า ต้องการหาแนวทางแก้ปัญหาให้สังคม หลักนิติธรรมเฉพาะหน้าคือหลักประกันตัวในคดีมาตรา 112 แต่หลักวิธีพิจารณาความอาญาและรัฐธรรมนูญภาคีกฎหมายระหว่างประเทศ ย่อมให้ความคุ้มครองกับผู้ถูกกล่าวหาไม่ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกคุมขังด้วยข้อหาอะไร หากไม่มีเหตุหลบหนีควรให้สิทธิประกันตัว

เมื่อถามว่าข้อเสนออาจไม่ได้รับฟัง นั้น ศ.ดร.ธเนศ ระบุว่า การพูดประชาชนไม่เคยสาย ไม่เคยช้า ตนคิดว่าฝ่ายที่ไม่ฟังเขามีปัญหามากกว่าฝ่ายที่พูดแรงสะเทือน เสรีภาพการพูดนั้น เชื่อว่าต้องได้ยิน


จาตุรนต์ อำนาจ คนเดือนตุลา ศาลฎีกา OCTDEM 996502.jpg

'สุธรรม' หวั่นจุดเดือดทางการเมืองวอนประมุขศาลฎีกา

ส่วน สุธรรม ระบุว่า เรามาแสดงให้ศาลยุติธรรม ให้สามารถดำรงสิ่วเหล่านี้ไม่ให้คลาดเคลื่อนจากสิ่งที่วิจารณ์ ตอนนี้เป็นจุดสูงอุณหภูมิทางการเมือง ตอนนี้กระบวนการยุติธรรมกำลังสั่นคลอน เราแสดงความห่วงใยไปถึงประธานศาลฎีกา และคณะกรรมการตุลาการ ตนเคยติดคุก 2 ปีไม่มีสิทธิตั้งทนายความสู้คดี เพราะไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา การไม่ประกันตัวเป็นอุปสรรคต่อการพิสูจน์ความผิดความถูก

จากนั้นกลุ่ม OctDem ได้เดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์เดินข้ามท้องสนามหลวงไปยังศาลฎีกาเพื่อยื่นจดหมายถึงประธานศาลฎีกาและประธานกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ถึงข้อเรียกร้องในการให้สิทธิประกันตัวผู้ต้องหาในคดีชุมนุมทางการเมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง