ไม่พบผลการค้นหา
สื่อนอกวิเคราะห์ เหตุใด 'ไทย' ในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียจากสถานการณ์เมียนมามากที่สุด แต่กลับไม่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อความรุนแรงจากรัฐประหาร

สำนักข่าวรอยเตอร์เผยบทความวิเคราะห์ ประเด็นท่าทีของรัฐบาลไทยต่อสถานการณ์ความรุนแรงจากเหตุรัฐประหารในเมียนมา โดยไทยถือเป็นเพื่อนบ้านอันใกล้ชิดกับเมียนมาที่สุดทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และด้านเศรษฐกิจการค้า มีส่วนได้ส่วนเสียจากสถานการณ์ความรุนแรงในเมียนมามากที่สุด แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยกลับไม่มีท่าทีแข็งกร้าวต่อความรุนแรงจากการปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์จากฝีมือกองทัพเลย

รายงานของรอยเตอร์ชี้ว่า ก่อนหน้านี้ทางการไทยแม้จะออกแถลงการณ์ซึ่งใช้ถ้อยคำแถลงที่ใช้ภาษาที่ 'แข็งกร้าว' ขึ้นเล็กน้อยโดยแสดง 'ความกังวล' ถึงสถานการณ์ความรุนแรงเมียนมา แต่กับความสัมพันธ์ด้านการทหารที่แน่นแฟ้นเป็นพิเศษของกองทัพสองชาติ กับปัญหาด้านผู้ลี้ภัยซึ่งทะลักเข้าพรมแดนในขณะนี้ ทำให้การแสดงท่าทีของไทยหลังจากนี้ไม่น่า 'ไปได้ไกล' มากกว่าจุดยืนของไทยจากนี้

ในบรรดา 10 ชาติสมาชิกสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ไทยแทบไม่เข้าร่วมจุดยืนกับชาติสมาชิกอาเซียนบางประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ซึ่งทำหน้าที่พยายามกดดันกองทัพในหลากหลายรูปแบบเพื่อคลี่คลายความรุนแรงในประเทศ ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจทำให้ไทยอยู่ในตำแหน่ง "คนกลาง" ต่อไปได้

ปณิธาน วัฒนายากร รองศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยกับรอยเตอร์ ว่า "การแสดงจุดยืนของไทยเป็นเรื่องยาก แต่คิดว่าเป็นโอกาสที่สำคัญ เนื่องจากไทยเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สำคัญ" 

ความใกล้ชิดระหว่างกองทัพไทยกับเมียนมา ได้รับการตอกย้ำจากท่าทีของพล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่ายน์ ที่ส่งผู้แทนคณะรัฐประหาร เดินทางเยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการเพื่อชี้แจงสถานการณ์ต่อรัฐบาลไทย เพียงไม่กี่วันหลังจากที่กองทัพยึดอำนาจพรรคเอ็นแอลดีของนางซูจี ซึ่งชนะการเลือกตั้ง ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งมีพื้นเพมาจากการยึดอำนาจด้วยการรัฐประหาร ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา ทั้งปฏิเสธของกล่าวหาของหลายฝ่ายว่ามีการโกงเลือกตั้งเช่นกัน

'ไทย' มีส่วนได้ส่วนเสียจากสถานการณ์ในเมียนมามากกว่าเพื่อนบ้านอาเซียนชาติอื่นๆ เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกันถึง 2,400 กิโลเมตร นับเป็นเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับเมียนมายาวที่สุดกว่าบรรดาชาติอื่นๆ 

ด้วยประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ และธรรมเนียมการทูตทำให้ไทยต้องระมัดระวังการกล่าวถึงรัฐประหารในเมียนมา ที่ผ่านมา ไทยจึงใช้ถ้อยคำแสดงท่าที่ต่อสถานการณ์ขึ้น"เพียงเล็กน้อย" แต่ก็ยังถือว่า "เบา" กว่าท่าทีของชาติอื่นๆ อย่างอินโดนีเซียน ฟิลิปปินส์ หรือ สิงคโปร์ ซึ่งมีชาวเมียนมาเสียชีวิตจากความรุนแรงของกองทัพมากกว่า 500 ราย 

ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์หและธรรมเนียมทางการทูตทำให้ไทยต้องระวัดระวังในการพูดถึงรัฐประหาร ไทยจึงใช้ถ้อยคำที่รุนแรงขึ้นเพียงเล็กน้อย และยังเบากว่าเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์หลังจากชาวเมียนมาเสียชีวิตกว่า 500 รายจากการใช้กำลังปราบปรามของกองทัพ

ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และประเพณีของการทูตที่ระมัดระวังเป็นเหตุผลสำหรับการดูแลเป็นพิเศษในคำพูดเกี่ยวกับการรัฐประหารโดยใช้ถ้อยคำที่รุนแรงขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่มีผู้เสียชีวิตพลเรือนสูงถึง 500 คนในการปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารของเมียนมาร์ ปัจจัยด้านพรมแดนทำให้เกิดปรากฎการณ์ผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงที่หนีตายจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพเมียนมา ที่อพยพทะลักเข้าไทย ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ชายแดนไทยผลักดันชาวกะเหรี่ยงกลับไปยังฝั่งเมียนมา โดยอ้างว่าเป็นเป็นนโยบายเบื้องบนที่ห้ามไม่ให้พวกเขาเข้ามา

ลลิตา หิงคานนท์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวกับรอยเตอร์ว่า "สำหรับพวกเขา ความเป็นพี่น้องทางทหารสำคัญมาก" เธอคิดว่า สถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไม่อาจเปลี่ยนใจหรือเปลี่ยนแปลงจุดยืนของรัฐบาลไทยให้รับผู้อพยพมากขึ้น

เธอมองว่า แม้รัฐไทยจะถูกกดดันจากนานาชาติให้ยอมรับผู้อพยพหรือแสดงท่าทีต่อสถานการณ์เมียนมาที่แข็งกร้าวขึ้น แต่รัฐบาลประยุทธ์จะไม่เคลื่อนไหวใดๆ ในเรื่องนี้ "รัฐบาลไทยอาจทำอะไรบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อแรงกดดันจากนานาชาติ แต่เป็นเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น เพื่อให้เห็นว่าไทยไม่ได้เพิกเฉยต่อความกังวลของนานาชาติ แต่มันก็เท่านั้น"

นอกจากบริบทด้านความมั่นคงแล้ว ส่วนของการค้าชายแดนระหว่างสองชาติก็สำคัญไม่แพ้กัน นักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมานั้นเป็นรองเพียงจีนและสิงคโปร์ ขณะที่การค้าชายแดนนั้นจากข้อมูลปี 2562 มีมูลค่าถึง 9,000 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงภาคธุรกิจหลายประเภทในไทยยังคงต้องพึ่งพาแรงงานเมียนมาซึ่งตัวเลขอย่างเป็นทางการถึง 1.6 ล้านคน ดังนั้นสำหรับสถานการณ์ในเมียนมากับไทยนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เมียนมายังส่งออกสินค้ามายังไทยเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ในปี 62 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติ 

แม้ไทยกับเมียนมาจะมีบริบทสำคัญด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน แต่ทว่า ดร.ปิติ ศรีแสงนาม แห่งศูนย์อาเซียนศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า รัฐไทยไม่มีทางใช้อำนาจทางเศรษฐกิจคว่ำบาตรการค้ากับเมียนมา โดย ดร.ปิติ มองว่า ไทยอาจใช้วิธีการทูตทางลับ ในการโน้มน้าวให้กองทัพเมียนมายุติการใช้ความรุนแรง และหาทางพูดคุยกับนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขัง

"ถ้าคุณมีเพื่อนที่รู้จักกันมานาน และวันหนึ่งเขาก่อคดีฆาตกรรม ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเลิกคบกับเขา ถูกไหม คุณยังคงเป็นเพื่อนกับเขาอยู่ แต่ทางที่ดีคือพูดคุยกับเขา บอกและเตือนเขาว่าสิ่งที่กำลังทำนั้นมันผิด" ดร.ปิติ กล่าวเปรียบเทียบ