ไม่พบผลการค้นหา
ปรากฏการณ์วัยรุ่นรวมตัวกันที่แยกดินแดงเพื่อตั้งใจบุกไปบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จนปะทะกับชุดควบคุมฝูงชนนานต่อเนื่อง-บานปลาย มีคนเจ็บและถูกจับจำนวนมาก อาจไม่ใช่จริตผู้สมาทานความสงบ ทั้งหมดขับเคลื่อนไปอย่างวุ่นวาย ยั่วยุ โกลาหล คำถามคือเงื่อนไขอะไรทำให้พวกเขาเลือกออกมาเสี่ยงเจ็บตัว ข้อเรียกร้องท่ามกลางดงแก๊สน้ำตาคืออะไร

'วอยซ์' ชวนเดินเข้าไปใน ‘สมรภูมิดินแดง’ เพื่อทำความเข้าใจสามัญชนนิรนาม ที่มักถูกตัดสิน-ตีตรา แต่ลึกเข้าไปในเสียงประทัด พลุไฟ ลึกเข้าไปในหนังสติ๊กมีอะไรซ่อนอยู่


'แนวหน้านิรนาม' ผู้ตามหาแสงสว่างในดงกระสุน

13 สิงหาคม 'กลุ่มทะลุฟ้า' นัดทำกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป้าหมายคือการเดินคล้องแขนไปยังบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในกรมทหารราบที่ 1

ยังไม่ทันได้ออกเดิน พวกเขาก็ถูกเข้าสลายก่อน มวลชนอิสระพากันเคลื่อนสู่แยกดินแดงด้วยตัวเอง ไม่รอคำประกาศยุติการชุมนุมจากแกนนำ เช่นเดียวกับหลายๆ ครั้งที่พวกเขาตัดสินใจนอกคำประกาศของกลุ่มกิจกรรมต่่างๆ ก่อนหน้านี้

จากนั้น "แยกดินแเดง" ก็กลายเป็นจุดปะทะของกลุ่มวัยรุ่นแนวหน้าทั้งชาย-หญิง

"พวกผมมาแบบสันตินะ แต่ถ้าเขาเปิดก่อนผมก็เอา" เอก อายุ 16 ปี พร้อมเพื่อนรุ่นคราวเดียวกันจากย่านฝั่งธนฯ ราว 5-6 คน ให้คำตอบ ก่อนพ่นควันสีเทาฉุน สลับกับผู้คนที่เริ่มแตกถอยร่นจากแก๊สน้ำตา

เอกชี้เป้าบอกเพื่อน หลังมวลชนอิสระวงแตก "มึงวิ่งไปช่วยเขาดิ มันออกมาแล้ว"

"ตอนนี้พวกผมไม่ได้เรียนครับ ทางบ้านไม่ค่อยมีตังค์" เขาว่าพาย้อนไปถึงเรื่องส่วนตัว ก่อนสำทับว่าแต่ก่อนพวกเขาก็ไม่ได้ต่างจากวัยรุ่นทั่วไป เลือดร้อนพร้อมปกป้องศักดิ์ศรี ไล่ต่อยตีโชว์พลังตามท้องถนน ด้วยนามสถาบัน

ที่ดินแดงไม่ใช่ครั้งแรกของเอกและผองเพื่อนที่เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมือง "ปีที่แล้วพวกผมก็ไปทุกม็อบครับ ผมก็เรียกร้องเหมือนผู้ชุมนุมคนอื่นๆ แต่เราเจ็บกันมาเท่าไหร่แล้ว พวกผมก็ต้องสู้เท่าที่มี" เขาสะบัดผมพ่นบุหรี่ต่อ 

ไม่นาน เราต่างพลัดหลงกันหลังแก๊สน้ำตาผ่ามากลางวง และไม่ได้เจอหน้าเขาอีกเลย จากนั้นฝนห่าใหญ่ก็เทลงมา แต่ไม่ได้เป็นสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ยุติการสลาย สื่อมวลชนที่รวมตัวหลบฝนอยู่ใต้ชายคาห้องแถวต่างต้องวิ่งหนีกระสุนยางของตำรวจที่สาดเข้ามาไม่ต่างจากที่สาดใส่มวลชนก่อนหน้านี้

ม็อบ ดินแดง 15 สิงหาคม 64 -9B14FD06389D.jpegม็อบ 10 สิงหาคม 64  แก๊สน้ำตา ดินแดง 006E04C0-9BC8-49DB-94D7-F63EA092FE18.jpeg


ลานจอดรถของบริษัทประกันภัย กลายเป็นที่หลบภัยชั่วคราวของทั้งสื่อและผู้ชุมนุม ในละอองฝนที่พัดเข้ามา หอบเอาควันคลุ้งจากการเผายางเพื่อหวังบดบังวิสัยทัศย์ของเจ้าหน้าที่ และกลิ่นแก๊สน้ำตาชวนอาเจียนโชยมาด้วย

ที่นั่น เราได้รู้จักหญิงสาวผมสีเพลิง เจาะสันจมูก วัย 21 ปี ผู้เข้ามาศึกษาต่อที่เมืองกรุง มือข้างหนึ่งเธอถือขวดน้ำเกลือ อีกข้างเธอชูสามนิ้ว แสดงความไม่จำนนต่อเผด็จการ

"นอกจากสามข้อที่เขาเสนอกัน เราอยากให้มีเพิ่มคือสหภาพแรงงานเข้มแข็งขึ้น เพื่อต่อสู้ในความไม่เป็นธรรม" เธอเอ่ยถึงปรารถนาภายใน และว่าต่อถึงสิ่งที่ผลักเธอออกมาลงถนน คือ ความชิงชังในตัวนายกฯ ทำไม พล.อ.ประยุทธ์ไม่เคยให้ค่ากับสิ่งที่พวกเขาออกมาเรียกร้องเลย

"อยากให้นายกฯ มาเจอกระสุนยาง มาเจอแก๊สน้ำตา อยากให้เขารู้ว่าความเจ็บปวดมันเป็นยังไง" หญิงผมแดงบอกก่อนเราจะถามต่อว่าทำไมถึงออกเป็นแนวหน้า

"ไม่รู้เหมือนกัน เราโกรธและเกลียด" เธอสบถอย่างเกรี้ยวกราด

"เราอยากได้อนาคตตัวเองคืน เราออกมาตั้งแต่ม็อบปีที่แล้ว สุดท้ายพวกมันไม่เคยมองเห็นสิ่งที่เราทำเลย" 

ไม่ต่างไปจากคำตอบของเด็กหนุ่มวัย 15 ปีที่ในมือกำลังกำหนังสติ๊ก "ผมเกลียดพวกขี้ข้าทรราช"

เขาง้างยิงกระสุนเม็ดกลมๆ ที่ไม่แน่ว่าอาจเป็นลูกแก้ว หัวน็อต หรือก้อนหินไปยังเป้าหมายในชุดเครื่องแบบสีดำ ก่อนสบถอีกครั้ง "ผมเกลียดแม่ง"

ในแววตาเพลิงแค้นของเด็กหนุ่ม เขาหันไปถามเพื่อนคู่หูที่ทำหน้าที่คอยระแวดระวังหลังให้ ก่อนจะได้คำตอบจากบัดดี้ว่า "โอเค ถอยก่อนเพื่อน"

"ผมพูดจริงๆ นะ ผมไม่อยากมาเป็นแบบนี้หรอก แต่ผมเคยโดนมันยิงแก๊สใส่ ผมไม่ยอม" เด็กหนุ่มจากย่านสะพานสูง ยืนยันไม่ลดลาวาศอก

บทสนทนาจาก ‘สมรภูมิดินแดง’ เพียงไม่กี่ชั่วโมงพาเราเข้าไปรู้จักกับชีวิตของหนุ่ม วัย 21 ปี ที่ออกไปอยู่แนวหน้าบ่อยครั้ง

ไม่กี่คืนต่อมา เราติดต่อเขาได้ในเวลาตีหนึ่งกว่า และวันรุ่งขึ้นที่แฟลตการเคหะแห่งหนึ่ง เราถึงได้คุยกันต่อหลายชั่วโมง

"พวกคุณจะสะดวกไหม ห้องผมเลี้ยงแมวไว้ 6 ตัว มันจะกวนหรือเปล่า" หนุ่มผมยาวประบ่า สวมเสื้อแดง กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ เอ่ยถามก่อนจะพาขึ้นไปที่ห้อง

ม็อบ ตำรวจ สลายการชุมนุม ดินแดง 15 สิงหาคม 64  เบนจังC310B7D3C7.jpegม็อบ ดินแดง 11 สิงหาคม ทะลุฟ้า 068535E5-AD02-4612-B080-BC548C9A9CF4.jpeg

ต้นไม้: เหงื่อ น้ำตา และความแค้น

เราพบว่า ชีวิตในวัยเด็กเขาเติบโตมาในครอบครัวยากจน เขาให้ภาพที่ครอบครัวหนึ่งมีลูกสาวกับลูกชาย 2 คน หาเช้ากินค่ำ วันหนึ่งไม่มีเงินค่าเช่าบ้าน ต้องนอนในโกดังเก็บของ ขณะที่เด็กทั้งสองคนยังไม่ทันได้รู้จักถึงความหมายของ “ความเหลือมล้ำ” ที่คนมักพูดกัน

ไม่ทันได้เป็นหนุ่มก่อนถึงจะได้รู้จักต่อสู้ทางการเมือง ความเป็นลูกคนเสื้อแดง ม็อบแรกที่เขาไปคือ ม็อบขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ในปี 2553 เวลานั้นเขาเพิ่ง 9 ขวบ แน่นอนนี่คือคนที่โตมากัับวาทกรรม “โง่ จน เจ็บ” ในฐานะของคนจนเมือง

จากเด็กนอนในโกดังเก็บของ เติบโตได้มานอนอาศัยแค่ในแฟลตการเคหะ ชั้นวางทีวีเล็กๆ ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเครื่องแป้งเก่าคร่ำ เครื่องครัวพอใช้สอย และแมวอีก 6 ตัว คือทรัพย์สินที่หนุ่มวัย 21 มี

เขาบอกว่าพ่อของเขาทำอาชีพเป็นผู้ช่วยช่างภาพในสื่อแห่งหนึ่ง รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท แม่เป็นลูกจ้างร้านขายของส่ง รับค่าแรงรายวัน

ตามสภาพนี้ เขาว่า “พอจะดีขึ้นมาบ้าง” แต่สุดท้ายไม่นานมานี้ เขาบอกว่าพ่อโดนลดเงินเดือนเหลือ 9,000 บาท ส่วนแม่ไม่ได้ไปทำงาน เพราะที่ร้านมีคนติดโควิด เท่่ากับว่่ารายได้รายวันหายไปทันที

ถ้าหนุ่มเป็นต้นไม้ น้ำและปุ๋ยที่บำรุงเขาให้เติบโตตรงข้ามกับคุณภาพชีวิตที่ดีแทบทุกประการ เหงื่อ น้ำตา และความแค้น ต่างหากที่บำรุงตัวตนเขา

“ช่วงอนุบาล-ประถม ผมยังไม่รู้จักคำว่าความเหลื่อมล้ำ แต่ผมโตมาในครอบครัวที่ปลูกฝังประชาธิปไตยตั้งแต่เด็ก บ้านผมเป็นเสื้อแดงทั้งบ้าน เราร่วมชุมนุมครั้งแรกปี 53 ตอนนั้นผมแค่ 9 ขวบ"

หนุ่มสะสมและถูกปลูกฝังมาในครอบครัวที่ต่อสู้่ทางการเมืองในทศวรรษก่อน อาจเป็นเหตุเป็นผลที่ทำให้เขาลั่นออกมาว่่า "เฮ้ย บ้านเมืองเรามันแย่เหมือนกัน ผมรู้สึกว่ามันอยู่เฉยไม่ได้ ต่อให้เป็นแค่หนึ่งเสียงเล็กๆ ผมก็ยืนยันว่าจะออกไป”


ม็อบ ดินแดง ธงชาติไทย ในหลวง สถาบัน  15 สิงหาคม 64 E-70D960026FCA.jpegม็อบดินแดง

แก๊สน้ำตา กระสุนยาง กระสุนจริง

นับจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคอนาคตใหม่ ความเคลื่อนไหวระลอกใหม่เริ่มปรากฏ แฟลชม็อบก่อตัวอ่อนๆ ตามสถาบันการศึกษาทั่วประเทศและลามออกมาบนถนน

กระทั่งครึ่งหลังของปี 2563 แกนนำคนรุ่นใหม่ถูกจับเข้าคุก ล้มแล้้วลุกเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ส่วนการชุมนุมครั้งแรกของหนุ่มในยุคสมัยใหม่คือวันที่ 17 พ.ย. 2563

เวลานั้นรัฐสภากำลังพิจารณาลงมติต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ กลุ่มราษฎรเรียกร้องเปิดทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ พร้อมพ่่วงด้วยการขับไล่รัฐบาล และเรียกร้องการปฏิรูปสภาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

วันนั้น หน้ารัฐสภา ตั้งแต่แยกเกียกกายไปถึงหน้าบริษัทบุญรอดฯ เนืองแน่นไปด้วย "ราษฎร"

ผู้ชุมนุมเปิดฉากด้วยการพยายามเข้ารื้อลวดหนามที่กั้นเพื่อจะเข้าไปให้ถึงรั้วรัฐสภา แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาคือน้ำผสมสารเคมีที่ทำให้แสบผิวหนังจากรถจีโน่ แรงน้ำฉีดกระจายเป็นละอองทำให้แสบจมูกและแสบตา สำทับต่อแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง

"แสบหน้าแสบตา ฉิบหายเลย วิ่งกันกระเจิง" หนุ่มว่า

ราษฎรที่ร่วงเพราะฤทธิ์ยุทโธปกรณ์ของตำรวจต่างถูกหามออกมาส่งหนวยแพทย์อาสา ส่วนคนที่ยังไหว เมื่อล้างหน้าล้างตาแก้อาการปวดแสบปวดร้อนแล้ว พวกเขากลับเข้าไปลุยต่อ

หนุ่มเล่าว่า จนกระทั่งช่วงเย็นเจ้าหน้าที่ คฝ. ถอนกำลังออกจากแยกเกียกกาย และฝั่งบุญรอดฯ ไม่รู้ว่าจงใจหรือไม่ แต่คนที่เข้ามาปะทะกับราษฎรวันนั้นคือกลุ่มคนเสื้อเหลือง

“วันที่ปะทะที่แยกเกียกกาย คือปะทะทั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน และก็คนที่ความคิดคนละขั้วกับพวกผม หรือคนเสื้อเหลือง” เขาสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่เเพียงแค่พยายามเข้าไปรื้อลวดหนามและกำแพงกั้นเท่านั้น

แม้จะไม่พร้อมชน เพราะอุปกรณ์ป้องกันไม่มี ในเวลานั้นเขาคิดว่าถอยกลับไปไม่ได้แล้ว ต่อให้มีแค่มือเปล่า ก็ขอแลก

“เราพยายามเข้าไปรื้อกำแพงกั้นเพื่อข้ามไปยังหน้ารัฐสภา ไม่มีการใช้ความรุนแรง ไม่มีความต้องการปะทะเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชนเลย พอจะปีนกำแพงปุ๊บ เขาเสิร์ฟแก๊สมาให้ทันที"

"ตอนนั้นแก๊สน้ำตามันไม่ได้แรงแบบทุกวันนี้ ผมจำได้ ตำรวจไปแอบส่องกระสุนยางออกมา วันนั้นโดนไปที่ขานัดนึง แต่ไม่ค่อยเจ็บ เพราะกางเกงยีนส์ผมหนามาก 18 ออนซ์ได้ แต่ตอนนี้เหมือนเขาคงรู้ว่่าพวกผมทนได้แล้ว”

เขามองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันนั้น สำหรับตำรวจในสายตาเขาถือว่ารุนแรงแล้ว แต่่สำหรับมวลชนเสื้อเหลืองนั้นแรงกว่า

“แม่งใช้ปืนจริงยิงก่อนเลย มีคนเจ็บจากการโดนยิงเยอะมาก และวันนั้นยังไม่มีใครพูดถึงประเด็นเจ้าเลย แต่มึงยิงคนที่เห็นต่างกับมึง" หนุ่่มแสดงความโกรธโดยไม่อำพราง


ม็อบ 10 สิงหาคม 64  ตำรวจ แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ปะทะ ดินแดง 9C8D22D3-4B10-4D66-A9A0-ECD190C6AD84.jpegม็อบ 10 สิงหาคม 64 ตำรวจ กระสุนยาง แก๊สน้ำตา ดินแดง FB9294B7-E0B4-47C4-B167-42022DD9F4BA.jpeg

empathy กับเจ้าหน้าที่ คฝ.

ถามถึงสาเหตุที่เขาออกไปร่วมชุมนุม เขาตีตราตัวเองก่อนทันทีว่าไปเพราะความเห็นแก่ตัว เพราะครอบครัวกำลังลำบาก แต่พอออกไปแล้วได้เห็นความลำบากของหลายๆ คน ทำให้ยกระดับความคิดขึ้นมาว่า "นี่คือการต่อสู้เพื่อทุกคน"

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เขารับรู้มาตลอดเวลาคือ รัฐบาลประยุทธ์ไม่เป็นประชาธิปไตย ไร้ความชอบธรรมตั้งแต่แรก เขาจึงตระหนักได้ว่าระบอบเผด็จการ ไม่ว่าจะรูปแบบไหน ปลายทางของมันมักย้อนกลับมาทำร้ายประชาชน

มากบ้างน้อยบ้าง แนวหน้าหลายคนไปม็อบถี่เข้าๆ ก็อยากเข้าไปบวก แต่สำหรับหนุ่ม ม็อบหล่อหลอมให้เขาใช้ความคิดมากขึ้น จากเดิมไปเพราะอารมณ์ อยากปะทะ อยากลุย เริ่มพยายามใช้หลักการ ไม่ตั้งเป้าหมายว่่าตัดสินด้วยกำลัง

แต่ก็อีกนั่นแหละ สัญชาตญาณของเด็กช่าง สำหรับหนุ่มคือ "ถ้าโดนกระทำก่อน ก็ต้องสู้"

“มาปีนี้เหมือนฝ่ายเผด็จการไม่คิดเลยว่ามวลชนที่อยู่ข้างหน้าจะตายหรือไม่ตาย ปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนดีนะ ผมยอมรับเลย ทำตามหน้าที่จริงๆ อย่างในม็อบหนึ่ง คฝ. วิ่งไล่ พอพวกผมล้ม พวกแกชะลอให้ผมลุก แล้วค่อยวิ่งใหม่ เหมือนวิ่งไล่จับเล่นๆ ไม่ได้อยากจับเราจริง มันต่างกับปีนี้อย่างกับหน้ามือเป็นหลังตีน”

สำหรับคนที่อยู่ในแนวปะทะแบบหนุ่ม เขามองว่าตั้งแต่ช่วงปลายปี 63 เป็นต้นมา น่าจะมีการนำตำรวจนายสิบที่เรียนจบใหม่ๆ เข้ามาหน้างานเยอะ และไม่สามารถควบคุมอารมณ์ หรือรับแรงกดดันจากการตะโกนด่าหน้างาน พร้อมกับได้รับแรงกดดันจากคนรอบข้างมา ยิ่งมีภาพที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ เมื่อมีคนด่ามากขึ้น จากที่ทำตามหน้าที่จึงกลายเป็นการทำเพื่อความสะใจ

“ภาพแม่งคนละเรื่องกันเลย เหมือนข้ามมาอีกมิติหนึ่ง จากที่รู้กัน มึงวิ่งล้ม เดี๋ยวกูชะลอให้ลุก แต่ปีนี้มึงร่วงเมื่อไหร่มึงโดน"

หนุ่มอ้างถึงคลิปหลุดที่ประจานการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเสียเอง คือ คลิปที่เจ้าหน้าที่บอกนักข่าวว่าให้หลบไปอยู่หลังแนว "พวกพี่ขอสนุกหน่อยมันเต็มที่แล้ว" เขาเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ค่อนข้างมีความเก็บกดจากทุกทิศทาง

แต่สัดส่วนนั้นเทียบกันไม่ได้ ระหว่างประทัดที่โยนเข้าไป หรือพลุไฟที่ไม่ได้ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต กับกระสุนยางที่ยิงออกมา กระบองที่ใช้ตี และรองเท้าคอมแบตที่อัดขยี้บนร่างกายผู้ชุมนุมครั้งแล้วครั้งเล่า

เขาไม่ปฏิเสธว่าก่อนเข้าสลายการชุมนุมในหลายครั้งคือ มวลชนมีการยั่วยุเจ้าหน้าที่ด้วยการด่าทอ ขว้างปาสิ่งของ และจุดประทัดให้เกิดเสียงดัง แต่เจ้าหน้าที่เองก็มีท่าทีที่ยั่วยุมวลชนเช่นกัน 

“เวลาไปม็อบ ไม่มีใครอยากปะทะ เป้าหมายแค่มาทำกิจกรรมเฉยๆ แต่นี่เอาเจ้าหน้าที่ออกมาเป็นแผง นี่แหละคือการยั่วยุเด็กช่างทั้งหมด

บางม็อบเขายังไม่ทันทำเหี้ยอะไรเลย มึงก็ยิงเขาแล้ว… ช่วงแรกๆ แค่พวกกูคล้องแขนกันเดินไปเอาอกชนโล่มึง มึงก็ตี ถามจริงๆ นะ ต่อให้ผิด ทุกวันนี้ประชาชนก็เหมือนลูกไก่ในกำมือ กฎหมายอยู่ในมือมัน เราทำเหี้ยอะไรมันไม่ได้อยู่แล้ว”

“แล้วพอเจอแบบนี้ หลายคนเจอแบบนี้ มันเหมือนไฟที่สุม มึงมาดิ มึงมีเท่าไหร่มึงยิงมาเลย กูยิ่งเจ็บกูยิ่งสู้ กูยิ่งไม่มีวันยอมแพ้มึง กูเจ็บมึงต้องเจ็บ ถึงกูไม่เจ็บ แต่เพื่อนกูเจ็บ มึงก็ต้องเจ็บเหมือนกันนี่แหละนิสัยพวกผม”

เหนือสิ่งอื่นใด เขาย้ำว่า ตัวเขาเองและกลุ่มเพื่อนที่รู้จักกันจำนวนหนึ่งทำความเข้าใจร่วมกันตั้งแต่แรกแล้วว่า การป่วนเจ้าหน้าที่ คฝ. ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่การเอาชีวิต และสิ่งที่พวกเขาใช้ยังเป็นเพียงแค่พลุ ไม่ถึงขั้นทำให้ตาย 

“เราเลือกพลุเพราะความแรงมันน้อย แต่ระยะยิงใช้ได้ การเล็งเป้าโอเค ถ้าเป็นพวกระเบิดไทยประดิษฐ์ ปืนไทยประดิษฐ์ ระเบิดขวด ระเบิดไฟ มันหาได้ไม่ยาก แต่เพราะเราไม่เอากันถึงตายไง ลึกๆ เรามองเห็นเขาเป็นคนเหมือนกัน”

ส่วนทำไมแนวปะทะต้องเป็นที่แยกดินแดง หนุ่มอธิบายว่า จุดเริ่มต้นของแยกดินแดงเกิดขึ้นในวันที่ 28 ก.พ. ที่มีม็อบเดินไปหน้ากรมทหารราบที่ 1 เมื่อไปถึงก็มีการปะทะทันที วันนั้นเป็นม็อบของ Redem ไม่มีใครเป็นแกนนำ

ตัวหนุ่มเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ คฝ. เพื่อขอให้ปล่อยคนเจ็บออกมาทั้งหมด 3 คน แต่ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุทำให้มวลชนเข้ามาเติมมากขึ้นเรื่อยๆ

"ภาพที่ คฝ. เตะคนจนตัวลอยทำให้เรื่องบานปลาย พอมีการสลายก็ทำให้มวลชนถอยร่นกันไปรวมที่แยกดินแดง"

หนุ่มย้ำว่าสาเหตุที่หลายคนไปรวมกันตรงนั้นเป็นเพราะความอดทนหมดสิ้นแล้ว การถูกกระทำต่อเนื่องพัฒนาเป็นความแค้น แต่เขามองว่าเหตุการณ์แบบนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกหากไม่มีการตั้งตู้คอนเทนเนอร์ และนำ คฝ. มาปิดกั้น

ส่วนข้อเรียกร้องที่อยู่ภายใต้เสียงปะทัด และพลุไฟ ในมุมของหนุ่มเขาอยากให้เจ้าหน้าที่รัฐคิดให้ได้ว่าควรหันกลับไปยังศัตรูคือเผด็จการ ไม่ใช่ประชาชนที่ออกมาเรียกร้อง

ม็อบ 10 สิงหาคม 64 ดินแดง 3B7CE67B-CB9A-4363-B95C-CF3FF2F1549F.jpegม็อบ ดินแดง 11 สิงหาคม 64 ตำรวจ -3A5E-4EC4-931F-6ECC5983EECC.jpeg

เยาวรุ่น: จากตาสว่างถึงทะลุแก๊ซ

เป็นข้อเท็จจริงที่ในแนวหน้าของการปะทะไม่ได้มีเพียงหนุ่มใหญ่วัยรุ่นกล้ามเนื้อแข็งแรง แต่เยาวชน ทั้งเด็กชายตัวผอมจ่อยก็มีไม่น้อย

ภาพเด็กชายเดินเข้าไปในแนวปะทะ ชูนิ้วกลาง ตะโกนด่าผู้ใหญ่ในเครื่องแบบอาวุธครบมือ พร้อมปาประทัดใส่ เด็กหญิงที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์เพื่อนมาดูเหตุการณ์ เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าสลาย พวกเขาต่่างกระเจิงขับหลบออกไป ก่อนกลับเข้ามาใหม่มีให้เห็นทุกวี่วัน

จากรายงานข่าว ทุกค่ำคืนมีผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมที่ยังเป็นเยาวชนอยู่ หลายครั้งปรากฏภาพการถูกรุมทำร้ายโดยเจ้าหน้าที่เหมือนเด็กเหล่านั้นไม่ใช่คน

หนุ่มเสริมภาพว่า เด็กๆ เหล่านั้นมีทั้งที่เพิ่งรู้จักในแนวหน้า และเป็นกลุ่มที่มาด้วยกัน แต่ก็มีจำนวนหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่ามาเพราะความคึกคะนอง เอาสนุก

อย่างไรก็ตาม หนุ่มมองว่าเมื่อเด็กๆ มาแล้วถูกเจ้าหน้าที่ทำร้าย จากเดิมที่อาจจะไม่ได้เข้าใจความเลวร้ายของเผด็จการ เขาจะเริ่มเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตัวเอง 

“เวลาเห็นเด็กรุ่น 13-15 มาเดินอยู่ในแนวปะทะ สิ่งที่ผมคิดคือ สิ่งเผด็จการทำมันทำให้เด็กคิดได้ จากเดิมที่อาจจะมาตามเพื่อน เอามัน พอโดนเข้าจริงๆ มันจะคิดได้ว่าเผด็จการเป็นยังไง กูเป็นเยาวชนแต่มึงเลือกใช้ปืนยิงใส่”


เรียกร้องขบวนหลัก ปักหลักสู้ยาว

ตลอดการสู้ในรอบปีที่ผ่านมา หนุ่มมองภาพรวมว่าฝ่ายต่อต้านยังขาดความจริงจังในการขับไล่ระบอบเผด็จการ เขามองว่าควรมีการชุมนุมปักหลักกดดันอย่างจริงจัง จะทำให้มีโอกาสชนะสูงขึ้น 

“บางทีแกนนำบอกมาวันนี้มาปักหลักนะ แต่พอเจอเหตุการณ์อะไรนิดนึง มาบอกว่ายุติการชุมนุม แล้วมวลชนที่เตรียมใจมาว่่ากูจะมาปักหลักไล่เผด็จการ กูต้องมาไล่ให้ได้ เสียค่าเดินทางมา เขาก็เสียความรู้สึก ทำไมพูดแบบนี้”

ไม่เพียงประเด็นถึงความจริงจังที่รอการพิสูจน์ หนุ่มยังสะท้อนถึงประเด็นการด้อยค่าของฝ่ายประชาธิปไตยบางส่วนที่มองว่าแนวหน้าว่่าเป็นเพียงเด็กแว้นที่สร้างความรำคาญ ไม่สันติวิธี ว่า “นี่เรามาเรียกร้องความเท่าเทียมไม่ใช่เหรอ ทำไมถึงได้เหยียดกันขนาดนี้”

“มันชัดว่าตอนนี้ส่วนใหญ่มีอุดมการณ์เดียวกัน แต่แนวทางการต่อสู้คนละแบบ คุณจะสันติก็สันติไป คุณยอมโดยกระทำอยู่ฝ่ายเเดียว ยอมเจ็บตัวก็ยอมไป แต่ผมไม่ยอม ผมไม่ใช่คนยอมคน มึงตีมากูตีมึงกลับแฟร์ๆ

"ยิ่งคนที่มาพูดว่าน้องๆ ที่ไปแยกดินแดงถูกรัฐจ้างมา นี่มันเป็นการด้อยค่าของคนที่ไป มึงไม่ยุติธรรม ตราบใดที่มึงออกมาเรียกร้องความเป็นคน ก็ไม่ควรพูดแบบนี้ มันทุเรศ”

“การต่อสู้มีหลายแบบ ถ้าสันติวิธีของพวกเขาคือการยอมเจ็บตัวอยู่ฝ่ายเดียว ผมยอมเป็นหัวรุนแรงดีกว่า ผมไม่ทนแน่นอน จะคิดยังไงล่ะ ขี่ๆ รถอยู่เฉยๆ ก็โดนยิง"

ถามว่าเขาเรียนรู้อะไรจากแยกดินแดง หนุ่มเปลือยความคิดสุดท้ายว่า หนึ่ง สู้ในกรอบ ไม่เอาถึงชีวิต และทำให้เป็นระบบมากขึ้น ใกล้เคอร์ฟิวเมื่อไหร่ก็กลับ”

หนุ่มเชื่อว่่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมีโอกาสยกระดับการป่วนระบบของรัฐได้ มากกว่าที่จะพุ่งเป้าไปที่ คฝ. เพียงอย่างเดียว

“เราเริ่มกันจากศูนย์ แต่เราเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ก้าวข้ามไปทีละขั้น” แววตาของหนุ่่มมุ่งมั่น ทระนง

โลกของหนุ่่มและผองเพื่อนกำลังเติบโตไปบนถนนคลุ้งแก๊สน้ำตา ส่วนสังคมไทยกำลังเรียนรู้อะไรจากแยกดินแดง

ม็อบ ตำรวจ สลายการชุมนุม ดินแดง 15 สิงหาคม 64 พลุไฟ

หมายเหตุ - ในชื่อเรื่อง คำว่า "ทะลุแก๊ซ" ใช้ ซ. ตามคำนิยามของเพจทะลุแก๊ซที่อธิบายว่า

"ข่อยข้นอีสาน มัก ซอโซ่ ละเป็นหยังคำว่า แซบ จึงต้องเขียนแซ่บ สั่นน มีไม้เอกพร้อม ไท๊ยไทย คือจังบ่เขียน แส้บ จังซี่ไปโลด กูละงึดซุ่มผีปอบคลั่งซาด บักงัวเอ้ย เบิดคำสิเว่า เอาพ่อไหย่สุจิตต์ไปเทศน์ให้เพิ่นฟังจักบาดแน๊เปี๋ยง"