ไม่พบผลการค้นหา
ด่วน! คนไทยยังมี 'ประยุทธ์' เป็นนายกฯ ยังไม่ครบ 8 ปี มติศาล รธน.ข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียงชี้ขาดให้นับวาระตั้งแต่ 6 เม.ย. 60 ในวันประกาศใช้ รธน.ปี 60 ความเห็น กรธ.แค่แจงแนวคิดเท่านั้น ด้านที่ปรึกษานายกฯ พอใจคำวินิจฉัย ชมศาลเป็นที่พึ่ง ให้ 'ประยุทธ์' เป็นนายกฯ ได้อีก 2 ปีสิ้นสุดข้อครหา

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 30 ก.ย. 2565 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนนูญ นำโดย วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนููญพร้อมคณะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคำร้องกรณีที่ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้อง ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่เข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 เพื่อขอส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้อง)ว่าสิ้นสุดลงของตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสองและมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่

โดย ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้ร้อง ได้ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้อง ดำรงตำหน่งนายกรัฐมนตรีครบกำหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่ไม่ให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง" เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรค 2 ประกอบมาตรา 158 วรรค 4

ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และมีคำสั่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2565 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาคำร้องเพิ่มเติมความเห็นเป็นหนังสือ และข้อมูลพร้อมเอกสารหลักฐานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมไว้ในสำนวน และเห็นว่าคดีนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวน

โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นการประชุมเพื่อพิจารณามุ่งหมายของรัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นการพิจารณาภายหลังรัฐธรรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ถึง 1 ปี 5 เดือน

"ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์ )จึงดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 นับตั้งแต่ 6 เม.ย. 2560 ถึง 24 ส.ค. 2565 โดยผู้ถูกร้องจึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ครบกำหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้อง จึงยังไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 170 วรรคสอง และมาตรา 154 วรรคสี่อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเสียงข้างมากความเป็นนายกัฐมนตรี ของพล.อ.ประยุทธ์ไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 ตามมาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่" คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ

ศาลรัฐธรรมนูญ ประยุทธ์ 8 ปี -10FF-41DF-A939-2FE8658A0BA4.jpeg


ศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ประยุทธ์ 8 ปี วรวิทย์ 95BA72.jpeg


ศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ประยุทธ์ 8 ปี สื่อมวลชน -89E6ABCA1C62.jpegสื่อมวลชน ศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ประยุทธ์ 8 ปี C2B-9B113B4E9056.jpegศาลรัฐธรรมนูญ คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ประยุทธ์ 8 ปีC5DDAC372026.jpegวิระ ศาลรัฐธรรมนูญ  1F2E1948DA.jpegวิระ ศาลรัฐธรรมนูญ  C51-108C183EB9FB.jpeg

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ใช้เวลาอ่านคำวินิจฉัยเป็นเวลา 30 นาที โดยมีผู้แทนของผู้ถูกร้อง คือ พล.ต.วิระ โรจนวาศ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทน พล.อ.ประยุทธ์ มารับฟังคำวินิจฉัย

รายงานจากศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่า สำหรับมติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 6 เสียงที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ประกอบด้วย วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ปัญญา อุดชาชน  บรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ วิรุฬห์ แสงเทียน อุดม สิทธิวิรัชธรรม และ จิรนิติ หะวานนท์

ส่วนมติ 3 เสียงข้างน้อย ประกอบด้วย นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นภดล เทพพิทักษ์ และ ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ

อย่างไรก็ตามคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนจะถูกเผยแพร่ลงในช่องทางเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญ และจะปิดประกาศไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วัน นับแต่มีการอ่านคำวินิจฉัย 

มติเดิม 5 ต่อ 4 เสียงให้้หยุดพักงานก่อนเป็น 6 ต่อ 3 ให้อยู่ต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 มีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียง เห็นชอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย โดยมติเสียงข้างมากในครั้งนั้น 5 เสียงที่ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ประกอบด้วย นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ จิรนิติ หะวานนท์ วิรุฬห์ แสงเทียน และนภดล เทพพิทักษ์

ส่วนเสียงข้างน้อย 4 เสียง ที่เห็นว่าไม่ควรหยุดปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ปัญญา อุดชาชน อุดม สิทธิวิรัชธรรม และบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์

B8750570-268B-40BA-A741-D2B4F9F7B5A9.jpeg

'วิระ' พอใจคำวินิจฉัย ชี้ 'ประยุทธ์' พ้นข้อครหา ลั่นไม่ห่วงม็อบ เชื่อตร.ดูแลได้ 

ต่อมา พล.ต.วิระ โรจนวาศ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายกฎหมายผู้รับผิดชอบจัดทำคำชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโห กล่าวภายหลังฟังคำนิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า โดยส่วนตัวของทีมกฎหมายแล้ว ค่อนข้างพอใจคำวินิจฉัย เพราะถือว่าสมเหตุสมผล 

พล.ต.วิระ กล่าวอีกว่า ทีมกฎหมายทำงานกันอย่างหนักที่จะหาเหตุผลมาใช้ชี้แจง และทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย วันเดียวกันนี้ถือว่า พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดคำครหา เพราะศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดแล้ว 

"มติของศาลรัฐธรรมนูญได้ถือว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต่อถึง 2568 และในฐานะตัวแทนนายกฯ คงไม่สามารถพูดแทนได้ทั้งหมด อยากให้ทุกคนเคารพศาล เพราะศาลยังเป็นที่พึ่งได้ และไม่ได้ห่วงเรื่องม็อบ เพราะเชื่อว่าฝ่ายความมั่นคงดูแลได้" พล.ต.วิระ กล่าว 

ศาลรัฐธรรมนูญ ประยุทธ์ 8 ปีนายก 9877840_4008883028796930116_n (1).jpg