ไม่พบผลการค้นหา
ย้อนดูรายการ 'อาวุธยุทโธปกรณ์' กองทัพไทย ในอดีต จัดมาคุ้มค่าหรือไม่? ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยต่อการจัดซื้อ 'เรือดำน้ำ' ของรัฐบาล ในวงเงิน 22,500 ล้านบาท

เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายภาคส่วนออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อการจัดซื้อเรือดำน้ำ ของรัฐบาล วงเงิน 22,500 ล้านบาท เนื่องจากมองว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ ประชาชนกำลังเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ หากนำงบประมาณดังกล่าวมาเยียวยาให้ประชาชนจะดีกว่า

อีกทั้งประเทศยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนขนาดที่จะต้องใช้เรือดำน้ำ ขณะที่บางส่วนแสดงความไม่มั่นใจว่า การจัดซื้อดังกล่าวจะคุ้มค่า สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สมราคาคุย

ทร.บินจีนเตรียมลงนามซื้อเรือดำน้ำ 7 พ.ค.

หากย้อนดูการจัดซื้อจัดหาของกองทัพไทย จะพบว่า อาวุธยุทโธปกรณ์ที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง คือ 'เครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด' 2 รุ่น ได้แก่ GT200 และ ALPHA6 โดยระหว่างปี 2548-2553 ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยกว่า 1,398 พันเครื่อง เป็นเงินกว่า 1.13 พันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็น ALPHA6 ราว 40% ส่วนที่เหลืออีก 60% คือ GT200 โดย 90% ของ GT200 จัดซื้อโดยกองทัพบก และในสมัย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก มีการจัดซื้อ GT200 มากที่สุด

ต่อมา เมื่อนำGT200 มาใช้งานจริง ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ผล นำไปสู่การตรวจสอบพิสูจน์การทำงาน โดย รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นำเครื่อง GT200 เข้าเครื่องเอกซเรย์ ปรากฏว่า ภายในตัวเครื่อง กลวงเปล่า ไม่มีหน้าสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์กับการ์ดแต่อย่างใด ส่วนการ์ดเป็นเพียงแผ่นพลาสติก 2 แผ่น ทากาวยางประกบกันแบบง่ายๆ เมื่อแกะออกจากกันไม่พบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีแค่เศษกระดาษสีชมพูชิ้นเล็กๆ อยู่ด้านใน ต่อกองทัพบก จึงยอมยุติการจัดซื้อ GT200 และ ALPHA6 ไปตั้งแต่ปี 2553

นอกจากนี้ ศาลอังกฤษยังตัดสินจำคุกในข้อหาฉ้อโกงและยึดทรัพย์ 'เจมส์ แม็กคอร์มิก ' อดีตนักธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายเครื่อง GT200 ให้กับหลายรัฐบาลเมื่อปี 2559 ซึ่งแม้ว่า สื่ออังกฤษจะรายงานว่าแม็กคอร์มิก ได้ขาย GT200 ให้หน่วยงานในประเทศไทย แต่ 'วิษณุ เครืองาม' แถลงปฏิเสธว่าไทยไม่ได้สั่งซื้อ GT200 จากบริษัทของแม็กคอร์มิก

ด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆ ที่ศาลอังกฤษสั่งให้แม็กคอร์มิกและผู้เกี่ยวข้องจ่ายให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดปลอมไปใช้งาน

c4cb9fe4ba26a6e6077f0a49512bb9bf.jpg

นอกจากนี้ เมื่อปี 2552 รัฐบาลยุคพรรคประชาธิปัตย์ ยังมีการอนุมัติจัดซื้อ เรือเหาะตรวจการณ์ รุ่น Aeros 40D S/ N 21 หรือ 'Sky Dragon' มูลค่า 350 ล้านบาท ให้กองทัพบกสมัย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก เพื่อใช้ประจำการในพื้นที่ชายแดนใต้ ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการจัดซื้อที่ไม่คุ้มค่า มีราคาแพงเกินจริง ซึ่งทางกองทัพบกก็ได้ออกมาตอบโต้และยืนยันตลอดว่า เรือเหาะดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริง ทุกขั้นตอนมีความโปร่งใส 

อย่างไรก็ตาม ตลอดการใช้งานเรือเหาะฯ กลับประสบปัญหาทางเทคนิคมาเป็นระยะ และยังประสบอุบัติเหตุขณะลงจอดที่โรงเก็บเรือเหาะ เนื่องจากนักบินไม่สามารถควบคุมเรือเหาะได้ หลังเสร็จสิ้นภารกิจสำรวจความปลอดภัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

จนกระทั่ง ปี 2560 พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ได้ปลดประจำการเรือเหาะลำดังกล่าว เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน รวมระยะเวลาใช้งานทั้งสิ้น 8 ปี

YXJjaGl2ZS81NjUwNzA=.jpg
  • เรือเหาะตรวจการณ์ รุ่น Aeros 40D S/ N 21

ย้อนไปเมื่อปี 2530 ประเทศไทยมีการสั่งซื้อรถถังรุ่น Type 69 II จากประเทศจีน เข้ามาประจำการช่วงที่ภัยคุกคามจากเวียดนาม ประมาณ 100 คัน ซึ่งก็พบปัญหาไม่สามารถวิ่งได้ ปัญหาเรื่องการซ่อมบำรุง

จนกระทั่งเมื่อปี 2553 กองทัพบก ได้ส่งมอบซากรถถังรุ่น Type 69 II จำนวน 25 คัน ที่ไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้ เนื่องจากประเมินความเสียหายแล้วเกิน 60% และไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม ให้กรมประมงนำไปทิ้งลงในทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี เพื่อสร้างเป็นปะการังเทียมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล 

49028.jpg
  • รถถังรุ่น Type 69 II ภาพจาก : ฐานข้อมูลข่าวจังหวัดชายแดนภาคใต้

'เรือหลวงจักรีนฤเบศร' เรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของกองทัพเรือ ขึ้นระวางประจำการเมื่อปี 2540 ทำการซื้อแบบรัฐต่อรัฐในราคา 7,100 ล้านบาท เรือลำนี้มีทั้งหมด 11 ชั้น มีความยาว 182 เมตร กว้าง 30.5 เมตร เป็นเรือที่มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีระบบเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล

สำหรับภารกิจสำคัญในยามสงคราม ทำหน้าที่เป็นเรือธง ควบคุมและบังคับบัญชากองเรือในทะเลทั้งหมด และยังเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ควบคุมการปฏิบัติการป้องกันภัยทางอากาศอีกด้วย

นอกเหนือจากภารกิจด้านความมั่นคงของชาติแล้ว เรือหลวงจักรีนฤเบศรยังทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเวลาที่มีภัยพิบัติทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน เช่น ตอนเกิดเหตุพายุไต้ฝุ่นซีตาห์, พายุไต้ฝุ่นลินดา, เหตุการณ์น้ำท่วมจังหวัดสงขลา, ภัยพิบัติคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547, เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ. 2553, เหตุการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี (เกาะเต่า) 

ในช่วงเวลาปกติที่ไม่มีภัยสงคราม ภัยพิบัติ เรือหลวงจักรีนฤเบศร จะจอดอยู่ที่ท่าเรือน้ำลึกจุกเสม็ด สัตหีบ ให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้เข้าชม รวมถึงให้เด็กเข้าชมในวันเด็กแห่งชาติอีกด้วย

YXJjaGl2ZS82NTI4ODE=.jpg

อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือ แถลงยืนยันเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2563 ว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำเพื่อผลประโยชน์ทางทะเลของชาติสูงถึง 24 ล้านล้านบาท ลงนามจัดซื้อเรือดำน้ำกว่าจะได้รับเรือคือปี 2570 ยืนยันคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ขั้นตอนการจัดซื้อเรือดำน้ำรวม 3 ลำกับจีน เป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 โดยลำแรกวงเงิน 13,500 ล้านบาท ทยอยจ่าย 7 ปี ตั้งแต่ 2560-66 และอีก 2 ลำเป็นการจัดหาต่อเนื่องให้ครบ 3 ลำตามโครงการที่อนุมติไว้ไม่ใช้งบอนุมัติใหม่ 

กองทัพเรือ เรือดำน้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :