ไม่พบผลการค้นหา
ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ขอบคุณรับบาลไทย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พา นพ.แดเนียล เอ. เคอร์เทสช์ ผู้แทนองค์การ อนามัยโลกประจำประเทศไทยและคณะผู้แทนทุกภาคส่วนเข้าพบพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานความก้าวหน้าตามนโยบาย ‘สุขภาพดีถ้วนหน้า’ เนื่องในโอกาสวันอนามัยโลกหรือ World Health Day ซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายนของทุกปี พร้อมขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่สนับสนุนการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

วันอนามัยโลกได้ถูกกำหนดขึ้นตามที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนของทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพโดย เฉพาะกาลมีสุขภาพดีถ้วนหน้าที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการดำเนินงานขององค์กรอนามัยโลก

นอกจากนี้ ปี 2561 เป็นวาระครบ 70 ปีขององค์การอนามัยโลก จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้นำทุกประเทศจะร่วมผลักดัน ‘หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อทุกคน ทุกหน ทุกแห่ง’ เพื่อให้ประชากรทั่วโลกเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นโดยไม่มีอุปสรรคทางการเงินหรือประสบภาวะล้มละลายจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2568

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แน่นอนเรื่องมีปัญหาอยู่บ้างก็ต้องแก้กันไป อยากให้ติดตามเรื่องนี้เพราะเขาก็ชื่นชมเราอยู่แล้ว คนไทยเองยังไม่รู้ว่าเสียเงินเสียทองไปกับตรงนี้เท่าไหร่ อยากให้ปรึกษาหารือกันเพื่อให้เกิดความทั่วถึงและเป็นธรรม อยากให้สปสช.เข้าไปดูโรคบางโรคที่เพิ่มขึ้นให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้มีรายได้น้อย ถ้าได้เท่ากันหมดเ��าไม่มีเงินพอ ถ้าเพิ่มงบมันก็ดี แต่งบกลางจะมีปัญหา มันลำบากตรงนี้ ถาเรามีรายได้มากขึ้นงบกลางก็มากขึ้น ก็จะมีเงินไปช่วยคนเหล่านี้มากขึ้น ถ้ารายได้ไม่มี แต่รายจ่ายตรงนี้เพิ่มมากขึ้นเราหาเงินมาไม่ได้นั่นแหละปัญหาในอนาคต

อย่างไรก็ตาม นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) สัดส่วนภาคประชาชน เปิดเผยเมื่อวานนี้ (16 เม.ย.) ว่าแผนปฏิรูประบบสาธารณสุขที่เพิ่งจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษามีข้อความบ่งชี้ว่าแผนดังกล่าวตัดขาดจากประชาชน และหนุนให้ข้าราชการดำเนินการกันเอง 

น.ส.กรรณิการ์ระบุว่าบางข้อความของแผนปฏิรูปฯ สามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่า จะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพไม่ถ้วนหน้า กลายเป็นระบบอนาถาของคนจน ทั้งยังบังคับร่วมจ่าย ณ จุดบริการ เช่น การให้ออกกฎหมายเป็นกรอบร่วมกันระหว่างกองทุนสุขภาพ กำหนดให้มีชุดสิทธิประโยชน์หลัก ชุดสิทธิประโยชน์เสริมซึ่งแตกต่างกันระหว่างกองทุน มีชุดสิทธิประโยชน์ทางเลือกเพื่อร่วมจ่าย

Photo by Ken Treloar on Unsplash

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: