ไม่พบผลการค้นหา
กรมทรัพยากรธรณีสนับสนุนข้อมูลทางธรณีวิทยา 'ถ้ำหลวงนางนอน' เพิ่มโอกาสที่จะพบทางเข้าถ้ำนอกเหนือจากปากถ้ำ

กรมทรัพยากรธรณี โดยนายทศพร นุชอนงค์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี พร้อมด้วยนายชัยพร ศิริพรไพบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการประสานงานระหว่างประเทศ แถลงสนับสนุนข้อมูลทางธรณีวิทยา “ถ้ำหลวงนางนอน" อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยนายทศพร ระบุว่า ได้ดำเนินการจัดส่งตำแหน่งของถ้ำและระดับความสูง-ต่ำของพื้นถ้ำ ที่ระดับความลึก 1 กิโลเมตร ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องที่ และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย เพื่อประสานให้หน่วยกู้ภัยเร่งให้การช่วยเหลือต่อไป และขณะนี้มีเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 อยู่ในพื้นที่เพื่อคอยสนับสนุนขณะนี้แล้ว

926933.jpg


นายทศพร กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณี ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัยติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันได้จัดทำข้อมูลทางธรณีวิทยาสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะพบทางเข้าถ้ำนอกเหนือจากปากถ้ำ โดยใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยาเพื่อหาแนวรอยแตกของถ้ำที่พบโพรงหรือช่องที่เข้าได้อีกทางหนึ่ง เพื่อสนับสนุนทีมค้นหา ซึ่งในจุดนั้นจะพบบริเวณที่เรียกว่าถ้ำแห้ง แผนที่ที่จะพบในตำแหน่ง A และ B คือบริเวณโอกาสที่จะพบช่องหรือปล่องเข้าสู่ถ้ำ (จุดตัดระหว่างแนวถ้ำหรือรอยแตกของเขา) ตำแหน่ง A บริเวณทางออกของถ้ำที่จะตัดในทางทิศใต้ของปลายถ้ำ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นล่องเขา ส่วนในตำแหน่ง B แนวฝั่งตะวันออกของแนวถ้ำเป็นหน้าผาใกล้เชิงเขา 


926932.jpg


ด้านนายชัยพร กล่าวว่า ลักษณะของถ้ำหลวงนางนอน ของถ้ำเป็นถ้ำธารลอด ซึ่งในฤดูฝนจะมีน้ำไหลเข้ามา ท่วมพื้นถ้ำ แต่เนื่องจากความสูงต่ำของพื้นถ้ำจะมีลักษณะต่างกัน เช่นบางช่วงมีเพดานถ้ำที่ต่ำมากๆ ไม่สามารถที่จะผ่านไปได้ ในช่วงที่มีน้ำท่วม ยกเว้นแต่จะให้รอให้น้ำลด หรือจะดำน้ำผ่านไป แต่เนื่องจากพื้นถ้ำในแต่ละช่วงจะมีบ้างจุดที่เกิดหินถล่ม และมีตะกอนดินสะสมบ้างส่วนสามารถหลบน้ำได้