ไม่พบผลการค้นหา
'บีอีเอ็ม' หอบเอกสารกว่า 240 กล่อง ร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินกว่า 1.24 แสนล้านบาท ขณะ ‘บีทีเอส’ หอบเอกสารกว่า 400 กล่อง ร่วมประมูลด้วย แต่ไร้ชื่อ ‘ราช กรุ๊ป’ ร่วมพันธมิตร มั่นใจผ่านฉลุย

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เดินทางเข้ายื่นเอกสารร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินกว่า 1.24 แสนล้านบาท หลังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ายื่นซองได้ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. วันนี้ (9 พ.ย. 2563)

โดยเบื้องต้น BEM ได้เข้ายื่นเอกสารประมาณ 11.00 น. นำโดย วิฑูรย์ หทัยรัตนา รองกรรมการผู้จัดการปฏิบัติการวิศวกรรมระบบราง ได้ขนเอกสารทั้ง 4 ซอง ซึ่งรวมทั้งเอกสารด้านคุณสมบัติ ด้านเทคนิค และด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกว่า 240 กล่อง โดยใช้รถบรรทุกในการขนเอกสารมากถึง 6 คันรถบรรทุก และรถตู้อีก 2 คัน ซึ่งมีพนักงานของบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) กว่า 50 คนมาขนเอกสารดังกล่าว

S__3506192.jpg

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท มีผู้มาซื้อเอกสารข้อเสนอทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) 5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ 10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด

S__3506190.jpg

ทั้งนี้ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กม. 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี 22.5 กม. 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) 13.4 กม. 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) มีกำหนดเปิดบริการส่วนตะวันออกเดือน มี.ค. 2567 และส่วนตะวันตกเดือน ก.ย. 2569


‘บีทีเอส’ ชิงรถไฟฟ้าสายสีส้ม ไร้ชื่อ ‘ราช กรุ๊ป’ ร่วมพันธมิตร

สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เดินทางเข้ายื่นเอกสารร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินกว่า 1.24 แสนล้านบาท ในเวลา 13.10 น. ซึ่งนับเป็นรายที่ 2 ต่อจากบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีอีเอ็ม ที่ได้เดินเข้ายื่นเอกสารไปก่อนหน้านี้หลังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ายื่นซองในเวลา 09.00-15.00 น.

S__3514416.jpg

โดยเบื้องต้นได้นำเอกสารทั้ง 4 ซอง ซึ่งรวมทั้งเอกสารด้านคุณสมบัติ ด้านเทคนิค และด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกว่า 400 กล่อง โดยใช้รถบรรทุกในการขนเอกสาร 4 คัน

สุระพงษ์ ระบุว่า การเข้ายื่นเอกสารร่วมประมูล ยังคงใช้ชื่อกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) โดยเป็นการร่วมทุนของ 3 บริษัท คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ส่วนที่ไม่ปรากฎชื่อของบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เนื่องจากยังไม่พร้อมเข้าร่วมในขณะนี้ เพราะติดกระบวนการภายในของบริษัทฯ แต่อนุญาตให้ชื่อบีเอสอาร์ตามเดิม ส่วนจะมีการเข้าร่วมทุนภายหลังหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของ รฟม. ด้วย

S__3514410.jpg

ทั้งนี้ บีเอสอาร์ ได้ยื่นเอกสารร่วมประมูลโดยยึดตามทีโออาร์เดิม คือ พิจารณาผลตอบแทนเป็นการตัดสิน โดยยังมั่นใจว่าจะได้รับเลือกในการประมูลครั้งนี้ เพราะทำข้อเสนอมาดีที่สุดแล้ว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง;