ไม่พบผลการค้นหา
เปิดแนวมาตรฐานบังคับใช้กระสุนยางสากลของ OHCHR - ห้ามยิงกระสุนลงพื้น และต้องเล็งเป้าหมายที่มีพฤติกรรมซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อผู้อื่นเท่านั้น

ในบทที่ 7 ของรายงานจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เรื่อง ‘คำแนะนำการใช้อาวุธความร้ายแรงต่อชีวิตต่ำ’ ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้า มีการพูดถึงวิธีการใช้อาวุธที่ช่วยลดระดับความอันตรายต่อชีวิตและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมเจาะลึกลงไปในหัวข้อวิธีและข้อปฏิบัติเมื่อใช้กระสุนยาง 

กระสุนยางถูกจัดอยู่ในอาวุธความรุนแรงถึงชีวิตต่ำประเภท ‘อุปกรณ์สร้างความเสียหายด้วยการยิงหรือขว้างปา’ Kinetic impact projectiles (KIPs) ซึ่งตามปกตินั้น เจ้าหน้าที่จะใช้กระสุนข้างต้นเพื่อเข้าควบคุม ‘บุคคลที่มีพฤติกรรมรุนแรง’ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีระดับไล่จากความรุนแรงน้อยไปมาก 

หากมีความจำเป็นต้องใช้กระสุนยางเพื่อเข้าควบคุมตัวผู้ก่อให้เกิดความรุนแรง เจ้าหน้าที่ต้องยิงกระสุนยางด้วยวิถีตรงเท่านั้น โดยให้เล็งช่วงล่างหน้าท้องหรือขา และจะสามารถใช้กระสุนดังกล่าวได้ในสถานการณ์ที่บุคคลผู้นั้นเป็นภัยให้เกิด 'อันตรายที่อาจถึงชีวิต' ต่อตัวเจ้าหน้าที่หรือพลเมืองโดยรอบเท่านั้น 


ความเสี่ยงจากกระสุนยาง
  • การเล็งไปที่ใบหน้าหรือบริเวณศีรษะอาจทำให้เกิดอาการกะโหลกแตก บาดเจ็บบริเวณสมอง และความเสียหายต่อดวงตาซึ่งอาจหมายถึงการสูญเสียการมองเห็นถาวรไปจนถึงการเสียชีวิต 
  • การยิงกระสุนออกไปโดยที่ผู้ยิงอยู่ในอากาศหรืออยู่บนตำแหน่งที่สูงกว่า อาทิ การเล็งไปที่การชุมนุมบนพื้นถนน ยิ่งสร้างความเสี่ยงให้วิถีการยิงนั้นเล็งไปโดนบริเวณศีรษะของผู้ชุมนุมมากยิ่งขึ้น 
  • การเล็งบริเวณลำตัวของผู้ชุมนุมอาจนำไปสู่ความเสียหายต่ออวัยวะสำคัญในร่างกายและยังอาจทะลุลำตัวผู้โดนยิงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยิงในระยะใกล้ อีกทั้งขนาดของลำกล้องและความเร็วของวิถีการยิง รวมไปถึงส่วนประกอบอื่น ล้วนส่งผลต่อการก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บและความรุนแรงของการบาดเจ็บนั้นทั้งสิ้น 

รายงานดังกล่าวยังพูดถึงวิถีการยิงที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติว่าต้องเป็นการยิงจากกระสุนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 เซนติเมตรและยิงตรงไปยังเป้าเท่านั้น การยิงกระสุนลงพื้น (Skip-firing) อาจสร้างให้เกิดความเสียหายที่ไม่อาจยอมรับได้เนื่องจากความไม่แม่นยำของวิถีกระสุน 


พฤติกรรมที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย 
  • การใช้กระสุนยางในระบบอัตโนมัติ 
  • การระดมยิงกระสุนเข้าสู่เป้าเดียวกันทำให้เกิดความไม่แม่นยำ ตามหลักทั่วไป พฤติกรรมดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่ควรใช้กระสุนโลหะ อาทิ กระสุนที่ใช้กับปืนสั้น (short gun)
  • กระสุนเหล่านี้ต้องผ่านการทดสอบและได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการ เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะมีความแม่นยำเพียงพอ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเกินขอบเขตที่จำเป็นซึ่งอาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บได้ 
  • ไม่ควรเล็งกระสุนยิงเหล่านี้บริเวณใบหน้า ศีรษะ หรือลำคอ กระสุนโลหะที่หุ้มด้วยยางเป็นอันตราย ไม่ควรนำมาใช้

นอกจากรายงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ งานศึกษาจากองค์กรแพทย์เพื่อสิทธิมนุษยชน (Physicians for Human Rights) ยังระบุว่า การใช้อาวุธ 'ที่มีความรุนแรงต่อชีวิตต่ำ' (Less-lethal) ไม่ใช่ยุทธวิธีที่เหมาะสมในการควบคุมฝูงชน เนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพที่เหมาะสมเพียงพอทั้งยังอาจเป็นภัยต่อประชาชนด้วย 

การยิงกระสุนยางในระยะใกล้อาจก่อให้เกิดอันตรายและการบาดเจ็บในระดับที่ใกล้เคียงกับการใช้กระสุนจริง ขณะที่การยิงกระสุนยางในระยะไกลไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ใดๆ  


เครื่องมือควบคุมฝูงชนของไทย

ตามข้อมูลจาก ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ ลงวันที่ 3 พ.ย. 2558 เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะและข้าราชการตํารวจซึ่งได้รับมอบหมาย

ผู้ควบคุมสถานการณ์และผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย อาจเลือกใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ทั้งสิ้น 48 รายการ ได้แก่ 

(1) หมวกปราบจลาจล หรือหมวกกันกระสุนพร้อมกระบังหน้า

(2) โล่ใส หรือโล่กันกระสุน

(3) ชุดป้องกันสะเก็ด ตลอดจน สนับแข้ง สนับเข่า สนับศอก อุปกรณ์ป้องกันสะเก็ด

บริเวณลําตัว แขนและขา

(4) กระบองยาง หรืออุปกรณ์ใช้ตี (Baton)

(5) สายรัดบังคับ (สายล็อคข้อมือ) หรือกุญแจมือ

(6) หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ พร้อมหม้อกรองแก๊สพิษและไมโครโฟน

(7) แก๊สน้ําตาชนิดสเปรย์ สกัดจากพืชธรรมชาติ

(8) เสื้อเกราะอ่อนป้องกันกระสุน

(9) เครื่องขยายเสียงพร้อมไมโครโฟน ขนาดเล็ก

(10) อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงรบกวนพิเศษระยะไกลชนิดพกพา

(11) เครื่องเสียงและระบบป้องกันอันตรายรถสั่งการ

(12) เครื่องยิงแก๊สน้ําตาชนิดใช้แล้วทิ้ง

(13) เครื่องฉีดแก๊สแบบสะพาย

(14) ชุดปืนยิงแก๊สน้ําตาพร้อมอุปกรณ์

(15) แก๊สน้ําตาชนิดเผาไหม้

(16) แก๊สน้ําตาสําหรับผสมน้ํา

(17) ลูกขว้างแบบควัน

(18) ลูกขว้างแบบแสง - เสียง

(19) ลูกขว้างแก๊สน้ําตา ชนิด OC

(20) ลูกขว้างแก๊สน้ําตา ชนิด CS 

(21) ถุงลมบอกทิศทาง

(22) เครื่องฉีดน้ําแรงดันสูง และสีผสมน้ํา

(23) อาวุธปืนลูกซอง สําหรับยิงกระสุนยางหรือแก๊สน้ําตา

(24) อุปกรณ์ช็อตไฟฟ้า (Taser)

(25) ปืนยิงตาข่าย

(26) รถฉีดน้ําแรงดันสูง หรือรถดับเพลิง

(27) เครื่องกีดขวางการผ่านของรถ

(28) อุปกรณ์ตรวจหาอาวุธบุคคล

(29) อุปกรณ์ตรวจหาอาวุธยานพาหนะ

(30) แผงกั้นเหล็ก

(31) กรวยยาง

(32) แท่นปูน หรืออุปกรณ์สําหรับป้องกันสถานที่

(33) ลวดหีบเพลงแถบหนาม

(34) ถุงมือหนัง

(35) รถเครนยกแท่นปูน

(36) ยานพาหนะสําหรับเจ้าหน้าที่และการลําเลียงเครื่องมือ

(37) รถควบคุมฝูงชน (Riot Truck) ขนาด 6 ล้อ

(38) รถควบคุมฝูงชน (Riot Truck) ขนาด 10 ล้อ

(39) รถที่ทําการทางยุทธวิธี

(40) รถบรรทุกน้ํา

(41) รถส่องสว่าง

(42) อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงรบกวนพิเศษระยะไกล ขนาดกลาง

(43) อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงรบกวนพิเศษระยะไกล ขนาดใหญ่

(44) ชุดเครื่องเสียงความดังสูง พร้อมอุปกรณ์กําเนิดพลังงาน

(45) โคมไฟส่องสว่างฉุกเฉิน

(46) อุปกรณ์ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและเคลื่อนไหว

(47) เครื่องบันทึกเสียง

(48) เครื่องมือวัดระดับเสียง

อ้างอิง; PHR, OHCHR

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;