ไม่พบผลการค้นหา
ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยให้สัมภาษณ์พิเศษวอยซ์ออนไลน์ ชี้ ระยะ 1-3 เดือน ซึ่งต้องมีนโยบายด้านเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาทั้งภาคธุรกิจ รัฐต้องช่วยและหารือภาคธุรกิจ “อย่าปลดคนงาน” พร้อมระบุนอกจาก Social Distancing แล้ว สังคมต้องการ Social Solidarity

ดูแลภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจรายย่อย SME ภาคเกษตร-ท่องเที่ยว = ดูแลประชาชน

ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการควบคุมการระบาดที่ต้องเร็วที่สุดก็คือเรื่องมาตรการทางเศรษฐกิจที่ต้องช่วยควบคู่กันมือหนึ่งเราต้องควบคุมการระบาดให้ยุติจบลงโดยเร็วที่สุด อีกมือหนึ่งเราก็ต้องช่วยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดครั้งนี้ซึ่งเป็นทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง SME ธุรกิจท่องเที่ยว ไปจนถึงผู้ที่ทำงานในระบบนี้ และประชาชนทั่วไป เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ

กลุ่มของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม บริษัทท่องเที่ยว ร้านอาหาร ภัตตาคารต่างๆ ตลอดจนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างพวกร้านขายของที่ระลึก ช็อปปิ้งต่างๆ ได้รับผลกระทบหมด แล้วส่วนใหญ่เป้นคนตัวเล็ก เป็นSME เราจะต้องให้ความใส่ใจกับคนกลุ่มนี้ ธุรกิจใหญ่เขาไม่กระทบ ถึงเขากระทบเขาก็มีสายป่านยาว

แต่ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจSME นี้ เราต้องเร่งดูแลด้วยมาตรการอย่างแรกเลยคือ

1.ต้องพักชำระหนี้ขณะนี้ก็มีมาตรการออกมาแต่ว่าในการปฏิบัติเรายังได้รับการร้องเรียนว่าเขาไม่สามารถดำเนินการได้จริงการพักชำระหนี้

2.ลดดอกเบี้ยในห้วงนี้ให้ เพราะเขาทำธุรกิจไม่ได้ หรือจะไม่คิดดอกเบี้ยในห้วงนี้ยังได้เลย ห้วงนี้ที่เป็นโควิด 3.ที่สำคัญคือรัฐต้องพิจารณาจ่ายเงินอุดหนุนให้กับธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบแล้วจะเลิกจ้างลูกจ้าง เราจะต้องให้เงินอุดหนุนเพื่อที่จะให้เขาได้มีเงินไปจ้างลูกจ้าง ไม่ปลดคนงาน อันนี้สำคัญที่สุดอย่าถือว่าเป็นการช่วยธุรกิจเพราะการเยียวยาธุรกิจแบบนี้เท่ากับเป็นการช่วยประชาชน เพราะเขาจะไม่ตกงาน

รัฐต้องคุยกับ SMEกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบแล้วก็คุยกันเลยอย่างเปิดอกว่า ขอร้องอย่าปลดคนงาน รัฐจะช่วยแบบนั้นแบบนี้ แล้วก็ที่สำคัญที่สุดคือว่ารัฐจะต้องเสริมสภาพคล่องในช่วงนี้ ซึ่งรัฐบอลประกาศมาตรการไปแล้วแต่พอปฏิบัติจริงๆ เราได้รับการร้องเรียนมากว่า เขาไม่สามารถที่จะไปยืดหนี้ ไปลดดอกเบี้ย หรือไปขอกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องได้

วันนี้บางแบงก์บอกว่าต้องดูตัวเลข 3 เดือนที่ผ่านมาผ่อนชำระดีไหม ซึ่งจริงๆ วิกฤตเริ่มตั้งแต่มกราแล้ว ยังไงก็อยากให้มีการผ่อนผันตรงนี้นะคะ

4.มาตรการทางภาษี เดือนหน้าต้องจ่ายภาษีก็มีการบอกว่าจะยืด 3 เดือนหรืออะไรก็เรียกร้องว่าต้องยืดการชำระภาษีนิติบุคคลอย่างน้อยจากเดือนหน้าไปสัก 5 เดือนเพราะว่ามีความจำเป็นจริงๆที่จะต้องช่วยกันประคับประคองคนละไม้คนละมือ

5.จ่ายเงินชดเชยคนสูญเสียรายได้ สำหรับลูกจ้างและประชาชนขณะนี้เดือดร้อนมาก เราควรจะต้องจ่ายเงินชดเชยสำหรับผู้ที่ถูกพักงานหรือว่าถูกเลิกจ้าง ณ ขณะนี้ จากผลกระทบจากโควิดเพราะทุกคนต้องกินต้องอยู่ ลำบาก

6. ลดค่าน้ำค่าไฟ ขณะนี้ประชาชนลำบากมาก มาตรการลดค่าน้ำค่าไฟขอรัฐบาลเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าจำเป็นจะต้องลดมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนพออยู่ได้ อยากขอร้องให้พิจารณาลดให้มากขึ้น

7. ปรับลดราคาน้ำมัน ขณะนี้น้ำมันโลกตกลงไปมาก เราเองปรับลดค่อยๆ ปรับลด จริงๆวันนี้เราเองต้องใช้ยาแรง ถ้ารัฐบาลดูแล้วก็ปรับลดอย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเชื้อเพลิงอย่างน้ำมันลงไปเลยให้มันมีอิมแพคประชาชนจะรู้สึกว่า เขาได้รับการช่วยเหลือ การผ่อนปรนความตึงเครียดของเขาเรื่องค่าใช้จ่ายลง เพราะคนออกไปธุระ ออกไปทำงานก็ต้องใช้น้ำมัน อยู่บ้าน Work from home ก็มีค่าน้ำค่าไฟ

น้ำมันเดี๋ยวนี้อยากเรียกร้องจริงๆเลย ขณะนี้รัฐบาลเก็บภาษีน้ำมันดีเซลอยู่ร่วม 6 บาทราคาน้ำมันลด ช่วยบ้านกำลังลำบาก ลดภาษีน้ำมันตัวนี้เลยค่ะ ไม่ใช่เข้ากองทุนน้ำมันนะคะ อันนี้คือเก็บภาษีมา ภาษีน้ำมันขอให้ลดไปเลยเพราะว่าน้ำดีเซลมันเป็นต้นทุนของค่าขนส่งแล้วก็ยังมีประชาชนที่ได้รับผลดีจากการลดภาษีของน้ำมันดีเซลลง ลิตรนึงต้องเสีย 5-6 บาท ลดต้องไป ลดภาระของประชาชน ลดต้องทุนของผู้ประกอบการชาวบ้านซื้อของได้ถูกลงก็ลดภาระให้กับประชาชน ต้องฝากเลยว่าวันนี้เอาประชาชนให้พออยู่รอดก่อนไม่ใช่ ไม่ใช่ไม่ทราบว่าจะเลือกอะไรระหว่างแย่เพราะโควิดแย่เพราะเศรษฐกิจ หรือตายเพราะโควิด ตายเพราะเศรษฐกิจ

8. มาตรการอุดหนุนการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต บางประเทศเขาพูดถึงเรื่องของค่ายอินเตอร์เน็ตด้วยซ้ำไปว่าถ้า Work from homeแล้วต้องมาเสียค่าอินเตอร์เน็ตเดือนละพันสองพันก็ไม่ไหว รัฐบาลสามารถ กสทช.สามารถพูดกับผู้ให้บริการได้ที่จะสนับสนุนให้มีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น เพื่อการส่งข่าวสารข้อมูลด้วยและเพื่อประโยชน์ในการ Work from home

ย้ำกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลต้องดูแล แรงงาน ธุรกิจขนาดเล็ก ให้อยู่ได้ ไม่ปลดคนงาน

วันนี้ต้องปั้มเงินลงสู่ประชาชน กลุ่มแรกแน่นอนค่ะว่ากลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดอย่างที่เราบอก SME วันนี้เราไปดูประตูน้ำ เราไปดูสำเพ็ง แย่หมด ผู้ประกอบการรายเล็กสายป่านไม่พอเขาต้องปลดคนงาน เขาต้องปิดร้าน เหล่านี้เราจำเป็นที่จะต้องเข้าไปเยียวยา เข้าไปดูแล ให้เขาพออยู่ได้แล้วก็ไม่ต้องปลดคนงาน พอปลดคนงานก็จะไปเป็นปัญหาของผู้ใช้แรงงานอีก

ขณะเดียวกันสิ่งที่สำคัญคือประชาชนฐานรากวันนี้ที่จะไปบอกแจกพัน สองพัน แจกแบบไม่มีเป้าหมายมันก็อาจจะไม่สามารถที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินแล้วทำให้เศรษฐกิจพออยู่ได้ มันจะต้องเป็นการที่จะแจกใส่เงินลงไปหรือแจกเงินลงไป เพื่อให้เกิด productivityใหม่ เกิดรายได้ใหม่ เกิดสินทรัพย์ใหม่

อย่าละเลยภาคเกษตร

อีกกลุ่มหนึ่งที่เราเห็นว่าสำคัญนอกจากผู้ที่ได้รับผลกระทบในSME และภาคท่องเที่ยวคือกลุ่มเกษตรกรที่ก็เจอภัยแล้ง และโควิดระบาดไปทั่วประเทศอีก ซึ่งขณะนี้เขาก็เจอแล้ว พอมีข่าวแรงงานกลับประเทศและข่าวลือนู้นนี่นั่นหลายจังหวัดที่มีแรงงาน ตลาดเงียบเลย เพราะว่าความไม่ชัดเจนของข้อมูลข่าวสารก็แพนิค กลัวกันไป

ดังนั้นกลุ่มคนในชนบทที่เป็นฐานใหญ่คือเกษตรกรที่กำลังเจอวิกฤตภัยแล้งและกำลังก้าวเข้าสู่วิกฤตโควิด อัดเงินลงไปค่ะ แต่ต้องอัดให้มันถูกทางให้มันเกิด productivity หรือรายได้ใหม่ เกิดการจ้างงาน เช่น ตอนนี้มันแล้งมากแจกเงินลงไปให้เขาขุดบ่อน้ำ ขุดที่กักเก็บน้ำ เขาหัวไร่ปลายนาที่เขาใช้แรงงานในพื้นที่ได้ เกิดการจ้างแรงงานในพื้นที่ได้ลงไปอย่างนี้เงินผ่านมือไปสู่การหมุนเวียนในพื้นที่มันจะพอไปได้ นี่คือสิ่งที่ต้องเร่งทำอย่านิ่งนอนใจว่าเดี๋ยวโควิดจบแล้วค่อยมาดูว่าจะฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไร สองมือต้องไปด้วยกัน เพราะประชาชนไม่ทราบแล้วค่ะว่าจะตายเพราะโควิดหรือตายเพราะอดตายก่อนกัน

สองมือต้องไปด้วยกันเร่งดำเนินการอัดเม็ดเงินลงไป วันนี้รัฐบาลสามารถกู้ที่จะมาอัดตรงนี้ได้อีกเพดานการกู้เงินมีกล้าตัดสินใจเถอะค่ะช่วยชาวบ้านช่วยประชาชนช่วยทั้งชีวิตอย่างมาตรการที่จะสยบโควิดภายใน 21 วันต้องทำอย่างเข้มแข็งกล้าตัดสินใจ ขณะเดียวกันอีกมือหนึ่งต้องช่วยประชาชนให้มีสิ่งเยียวยาท้องอยู่ได้ก่อนวันนี้จะอดตายกันอยู่แล้ว

ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นก็คือการบอกว่าภาครัฐ รัฐบาลต้องช่วยภาคเอกชนคนตัวเล็กโดยเฉพาะอยากSME ในsectorต่างๆ โดยเฉพาะsectorท่องเที่ยว ก็เพราะว่าวันนี้ถ้าเขารับภาระไม่ไหวมันก็จะเกิดการปลดคนทำงาน 1.ภาครัฐต้องเร่งเข้าไปช่วยให้ทันเวลา 2.ต้องขอร้องภาคเอกชนว่าพยายามสู้ไปด้วยกัน อย่าไล่คนออก เราพยายามสู้จับมือสู้ไปด้วยกันนะคะ

รีวิวประเทศอื่นๆ ดูบ้าง

จริงๆ แล้วก็คือพื้นฐานที่เสนอไปหมด ก็มีหลายประเทศนะคะที่เป็นตัวอย่างที่เราสามารถที่จะดูของเขาแล้วก็ทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการชดเชย การเยียวยา มาตรการทางภาษี แล้วก็การดูแลตั้งแต่ธุรกิจจนถึงผู้ที่เป็นลูกจ้าง อย่างอินโดนีเซียก็เพิ่งประกาศไป หรืออย่างเดนมาร์กที่มีอีเวนท์ใหญ่ๆ เขาก็ชดเชยเลยให้กับผู้จัดอีเวนท์ เลื่อนแล้วก็ค่อยมาเริ่มต้นกันใหม่สนับสนุนกันใหม่ อย่างสิงคโปรก็เช่นกัน อังกฤษก็มี เยอรมันก็มีทั้งมาตรการในการชัดเชยและมาตรการในด้านภาษี

ทั้งหมดคือพื้นฐานการดูแลธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง SME การดูแลภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบ ภาคส่งออกรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่แทบจะไม่ต้องดูแลเขา คนตัวเล็กที่เราต้องดูแล ดูแลเพื่ออะไร เพื่อไม่ให้เกิดการเลิกจ้างและดูแลเพื่อให้เขาเกิดการรักษาธุรกิจเขาได้เมื่อเราต่อสู่กับโควิดให้ได้เร้วที่สุด วันนั้นเขายังไม่เจ๊ง ไม่ล้มละลายไปเรามาจับมือกันใหม่ เดินตั้งต้นใหม่ เดินหน้าทำงานใหม่ เพื่อที่จะฟื้นฟูประเทศ ฟื้นฟูรายได้ ฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกครั้งนึง

นอกจาก Quarantine แล้วรัฐควรช่วย Guarantee ความปลอดภัยให้ภาคธุรกิจด้วย

ขณะนี้ก่อนที่จะประกาศปิดผับปิดอะไร ก็มีข่าวว่ามีการไปรับประทานที่ร้านหมูกระทะบ้าง ไปรับประทานที่ย่านนั้นย่านนี้ปรากฎว่าทั้งย่านเงียบไปหมดเลย อาจจะเกิดที่ร้านเดียวแต่ว่าทั้งย่านเงียบไปหมดเพราะ ข้อมูลข่าวสารไม่ครบ

แต่ถ้าจากที่ข้อมูลประสบการณ์ของตัวเองเคยทำตอนรับมือเรื่องซาร์ส มีปัญหาข่าวลือแบบนี้เหมือนกัน เราเข้าไปเลยค่ะเอาเจ้าหน้าที่ของภาครัฐเข้าไปพ่นทำความสะอาด เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขเข้าไปดู เอาผู้เกี่ยวข้อง เช่น มีลูกจ้างอยู่ในร้าน 7 คน เราก็พูดกับเจ้าของร้านเลยว่าเราขอ 7 คนนี้ ไป quarantine ไปเฝ้าสังเกตอาการ คุณไปจ้างลูกจ้างชั่วคราวมาทำงานถ้าคุณอยากเปิดร้าน เราทำความสะอาดให้เสร็จและเราประกาศเลยว่าร้านคุณปลอดภัยเปิดได้ เพราะ 1.พื้นที่สะอาด 2.คนที่เกี่ยวพันที่สัมผัสผู้ติดเชื้อที่ไปใช้บริการเราดึงออกเข้าระบบแล้ว ดังนั้นร้านปลอดภัยคนกลับมาได้ อย่างนี้จะลดข่าวลือ ลดความแพนิคแล้วสร้างความมั่นใจให้ประชาชนกลับไปใช้บริการ จะช่วยลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

แต่วันนี้พอประกาศว่าย่านนี้โดน เงียบทั้งย่าน แล้วก็ไม่ทราบว่าเป็นอะไรอยู่ตรงไหนจะรับประกันได้ไหมว่ากลับไปได้

ตอนนี้มันยิ่งไปซ้ำเติมสภาพของเศรษฐกิจ เสียดายว่าทำไมไม่ทำ นี่ก็ยังไม่สายนะคะทำได้

สงกรานต์กระทบมาก ต้องมีมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ

เรื่องของการเยียวยาเราจะเน้นไปที่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจคนตัวเล็กไม่ว่าจะ SME ที่อยู่ในภาคท่องเที่ยว อยู่ในภาคของการขายส่ง อยู่ในภาคของการขายปลีกที่เป็นร้านเล็กๆ รวมทั้งพวกจัดงานอีเวนท์ด้วยเพราะมีการยกเลิกเยอะ อย่างพวกกลุ่มเหล่านี้เราต้องรับการเยียว

สำหรับมาตรการการเลื่อนวันหยุดสงกรานต์ก็เป็นมาตรการที่ดี แต่อยากจะให้คิดให้จบลูป วันนี้ถ้าจะเลื่อนประกาศเลื่อนการจัดสงกรานต์ด้วย เยียวยาตั้งแต่ระดับประชาชนที่จองตั๋วแล้ว จองตั๋วรถทัวร์แล้ว จองตั๋วเครื่องบินแล้ว แล้วตั๋วรถไฟแล้ว จองโรงแรมแล้ว จะไปเที่ยวจะกลับบ้านหรืออะไรก็แล้วแต่

รัฐบาลควรจะเรียกประชุม ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องว่าในห้วงนี้มันเป็นความจำเป็น ขอให้เลื่อน ให้สามารถเลื่อนการเดินทางไปในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากเมษายนช่วงไหนก็ได้โดยไม่คิดชาร์จค่าใช้จ่ายและเลื่อนการเข้าพักได้ช่วง 6 เดือนนี้ มันก็จะบรรเทาปัญหาได้ อย่างคนที่บ้านซื้อตั๋วอะไรเรียบร้อยแล้ว เขาบอกซื้อยากมากเลยนะกลับห้วงวันนี้แล้วแพงด้วย บางคนเขาพูดกันเองเขายังอยากจะกลับอยู่ ดังนั้นถ้าให้เขาเลื่อนตั๋วได้เขาจะคลายความกังวลนี้ อย่างบางคนรายได้น้อย ตั๋วแพงมันคือเขาต้องหาเงินอีกก้อนหนึ่งเพื่อไปซื้อมันเป็นความจำเป็น ซึ่งเรื่องง่ายมากกระทรวงท่องเที่ยวเรียกมาได้เลยแล้วให้ไม่ว่าจะรถทัวร์ เครื่องบิน สายการบิน รถตู้ ที่จองกันก็ให้เลื่อนการเดินทางได้ โรงแรมเลื่อนเข้าพักได้ 6 เดือน หลังจากเมษายน อย่างนี้จะเยียวยาทั้งประชาชนและเยียวยาธุรกิจได้

90340650_535833337316208_5433959869478600704_n.jpg

ปรับการบริหารให้เป็น Single Command เดี๋ยวนี้!

สิ่งที่รัฐบาลควรปรับปรุงมากที่สุดก็คือเรื่องของการบริหารจัดการที่ขณะนี้มันสับสนวุ่นวายแล้วก็หาผู้รับผิดชอบไม่ได้ อย่างยกตัวอย่างเรื่องหน้ากาก มีปัญหามาตลอดในช่วง 2 เดือนกว่าตั้งแต่ฝุ่นพิษแล้วด้วยซ้ำไปก็ สับสนไปหมดไม่มีใครให้คำตอบได้ กระทรวงนั้นกระทรวงนี้โยนกันไปโยนกันมา

วันนี้ศูนย์วิกฤตโควิดของรัฐบาลยังบริหารเหมือนกับไม่วิกฤตวันนี้ต้องบอกว่าในภาวะวิกฤตเราต้องมีการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตอย่างจริงจังเป็น Crisis managementอย่างจริงจัง

หัวใจของcrisis management คือเราต้องมีสายการบังคับบัญชาและมีผู้ที่รับผิดและรับชอบที่ชัดเจนในงานแต่ละด้านและภาวะผู้นำสำคัญที่สุด ต้องการผู้นำที่สามารถคอนโทรสถานการณ์ได้แล้วก็เป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจและเป็น Single Command

วันนี้เราจะได้ยินเสียงบ่นในโลกออนไลน์จากผู้ปฏิบัติงานที่ผ่านตาเราทุกวันว่ากลุ้มใจจังเรื่องงาน อึดอัดเรื่องนั้นเรื่องนี้ก็เพราะว่ามันไม่มี flow ของงานที่ชัดเจน ผู้รับผิดชอบ แล้วก็ฟังคนเดียวเลยรับผิดและรับชอบ

การบริหารวิกฤตครั้งนี้ต้องยกระดับเป็นCrisis management ขอ 5 ด้านจะต้องมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

1.ด้านการรักษาพยาบาลเราจะให้ใครเป็นหัวให้ชัดเจนก็ฟังจากคนนี้คนเดียวว่าข้อมูลการรักษาพยาบาล การเตรียมเตียง การอะไรต่างๆ เป็นอย่างไร

2.การควบคุมการระบาดจะสำเร็จตามแผนที่เราเสนอว่าเป็นวาระแห่งชาติในการที่จะสยบการระบาดของโควิดภายใน 21 วัน ได้ภาวะผู้นำและผู้รับผิดชอบต้องแข็งแรง ต้องแข็งแกร่งนี่คือสิ่งสำคัญ

3.การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เวชภัณฑ์ต่างๆสำคัญมากซึ่งแบ่งเป็น 2 หมวด คือหมวดหนึ่งเพื่อการป้องกัน อีกหมวดหนึ่งเพื่อการรักษาเราจะเห็นความล้มเหลวมาตลอดอย่างเรื่องแค่หน้ากากก็ยังบริหารจัดการไม่ได้

วันนี้ถ้าการระบาดมากขึ้นแบบนี้แล้วถ้าเราจะยกระดับการค้นหาผู้ติดเชื้อให้เร็วขึ้นเครื่องไม้เครื่องในการที่จะให้คนด่านแรกก็คือแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขเขามีโล่ในการป้องกันตัวเองต้องครบก่อน ขณะเดียวกันเขาต้องมีอาวุธการรักษาประชาชน เวชภัณฑ์ เครื่องไม้เครื่องมือต้องครบต้องมีคนรับผิดชอบจะต้องไม่ปล่อยแบบ 2 เดือนนี้ที่เรื่องแค่หน้ากากเรื่องเดียว ถ้ารับผิดชอบไม่ได้ต้องเปลี่ยนคนต้องกล้าที่จะเปลี่ยนคน

4.คือการสื่อสาร สำหรับเรื่องของการควบคุมการระบาดครั้งนี้ถือว่าล้มเหลวมาก สื่อสารสับสนอาจจะเป็นเพราะนโยบายสับสนย้อนแย้งด้วยหรือเปล่า เช้าประกาศอย่าง เย็นประกาศอย่าง

ถ้าผู้นำตัดสินใจไม่ชัดเจนมีการเปลี่ยนนโยบายไปมาการสื่อสารไม่เข้าใจ ผู้ตามก็คือประชาชนจะสับสน วุ่นวายใจและท้ายที่สุดจะไม่เลือกตามผู้นำหรือไม่เลือกตามคำประกาศของฝ่ายราชการ แย่เลยนะคะเป็นข้อที่หนักหน่วงที่สุดเพราะภายใต้วิกฤตผู้นำต้องนำได้ ต้องสร้างศรัทธาได้ ขณะเดียวกันการสื่อสารต้องทำให้ประชาชนเคลียร์ ภาวะวิกฤตแบบนี้ประชาชนมองหาทิศทางที่จะเดิน ไม่ใช่เดินสะเปะสะปะไปเรื่อยมันจะต้องมีการสื่อสารที่ทำให้ชาวบ้านประชาชนเกิดความเข้าใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับทุกมาตรการของรัฐด้วยความเข้าใจ ด้วยความเต็มใจการสื่อสารจึงเป็นหัวใจและสุดท้ายค่ะต้องตั้งคนรับผิดชอบเรื่องเศรษฐกิจให้ชัดเจน

5 การเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ ซึ่งถ้าทำไม่ได้ให้เปลี่ยนคนบริหาร ต้องมีคนรับผิดชอบให้ชัดเจนแล้วทำไม่ได้ต้องเปลี่ยนคนต้องผลักดันให้คนรับผิดชอบแต่ละด้านทำให้สำเร็จทั้งรักษา ทั้งควบคุมการระบาด ทั้งการเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ เตรียมโรงพยาบาลสำคัญที่สุดโดยส่วนตัวพูดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เรื่องการเตรียมเวชภัณฑ์ เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือและการเตรียมสถานที่รองรับก็ยังไม่ค่อยเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรม หนักใจและเป็นห่วงด้วยว่าทำไมถึงพยายามเร่งพลักดันโมเดล 21วันเพรานอกจากว่าจบเร็วประชาชนปลอดภัยมากที่สุด จบเร็วเศรษฐกิจฟื้นเร็วแล้วตามที่ผู้ที่เขามีความชำนาญเรื่องระบาดวิทยาระดับโลกเขาบอกทั่วโลกว่าปัจจัยของอุณหภูมิอาจจะมีส่วน และประเทศที่เขาสู่หน้าฝนอาจจะมีการระบาดมากขึ้นทำไมในส่วนตัวถึงห่วงและเร่งให้มีปฏิบัติการ 21 วัน เพราะว่าโดยปกติหลังสงกรานต์เราจะมีฝนถึงพฤษภาคม ถ้าเกิดมีฝนแล้วเราคุมการระบาดไม่ได้เละเทะอย่างนี้มันก็จะยิ่งอันตรายกับประชาชน

90054651_913604835764618_1036362328485920768_n.jpg

ขอความร่วมมือโรงพยาบาลเอกชน การรักษาและราคาควรใกล้เคียงรัฐ

มาถึงวันนี้รัฐบาลต้องขอความร่วมมือกับภาคเอกชนให้

1.คือมาตรฐานการรักษาพยาบาลต้องเหมือนกัน เหมือนโรงพยาบาลเอกชนเป็นโรงพยาบาลรัฐมีมาตรการ มีวิธีการซึ่งทางคณะแพทย์เขาทำได้ เขามีวิธีการที่จะสร้างมาตรฐานขึ้นมาการรักษาที่เหมือนกัน

2 คิดค่าบริการที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้แน่นอนว่าคนที่เป็นโควิดรัฐบาลรักษาฟรีแต่มาตรฐานทั้งด้านการแพทย์ ด้านค่าใช้จ่ายมันต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน

แต่หัวใจอยู่ตรงนี้ต้องให้ตรวจโควิดฟรีสำหรับผู้ที่มีอาการ criteriaที่ตั้งต้องเปลี่ยนไม่ใช่แค่ว่าไปอยู่ที่สาธารณะ ต้องกลับจากต่างประเทศหรือสัมผัสกับผู้ที่ไปต่างประเทศมาแค่นี้ไม่พอละ ใครที่มีอาการเดินเข้าตรวจเลยฟรี อย่างที่บอกแสนคนเลย ตรวจไม่ถึงหรอกค่ะแสนคน แสนคนที่เราจะเปิดปฏิบัติการปูพรมค้นหาใช้เงินแค่ 200-300 ล้านคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม คุ้มทั้งชีวิตของคนไทย คุ้มทั้งเศรษฐกิจอยากให้เร่งทำค่ะ

ไม่ใช่แค่ Social Distancing แต่ตอนนี้เราต้องการ Social Solidarity

วันนี้คือเป็นเวลาที่คนไทยทั้งประเทศทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่อย่างภาครัฐ เจ้าหน้าที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่อาสาสมัครจิตอาสาและประชาชนต้องผนึกกำลังกันร่วมแรงร่วมใจฝ่าฟันไปด้วยกันให้สำเร็จค่ะ เราจะชนะอย่างแท้จริงได้ก็ต้องคุมการระบาดให้ได้เร็วที่สุดความร่วมไม้ร่วมมือไม่ว่าจะจากภาคเอกชน จากประชาชนทุกคน เริ่มจากประชาชนทุกคนที่จะดูแลตัวเองให้มีสุขภาพอนามัยดี รับผิดชอบต่อสังคมถ้าเรารู้ตัวว่าเรากลับมาจากต่างประเทศอย่างที่มีข่าวว่าประเทศหนึ่งในยุโรปถึงแม้ไม่มีด่านอะไรเลยที่สนามบินสุวรรณภูมิ เราแจ้งแสดงตนเลยค่ะว่าเราจะทำอย่างไร หรือเรากักตัวเองอย่างเข้มงวดด้วยตัวเองก็ได้

เรารับผิดชอบต่อสังคมให้ข้อมูลที่ชัดเจนเมื่อเราเจ็บหรือป่วยขึ้นมาสิ่งนี้คือสิ่งที่เราต้องร่วมแรงร่วมใจและที่สำคัญที่สุดพี่น้องประชาชนต้องมีกำลังใจและมีความหวังว่าเราจะจับมือฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกันให้ได้

ภาคเอกชนสามารถให้ความร่วมมือตรงนี้ได้เลยอย่างบริษัทห้างร้านต่างๆ อาคารสำนักงานต่างๆ ขณะนี้ดีมากที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันมีการตรวจวัดอุณหภูมิ มีการให้เจลล้างมือ มีการทำความสะอาดลิฟต์ มีการทำความสะอาดบรรไดเลื่อน ทำความสะอาดห้องน้ำถี่ขึ้นนี่คือความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน หรือแม้แต่การที่มีหน่วยงานราชการหรือภาคเอกชนมาทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีค่ะและอยากจะฝากด้วยว่าจริงๆแล้วรัฐเองต้องสั่งการให้หน่อยงานภาครัฐเข้าไปฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตรงจุดเสี่ยงทั้งหมดคือรถเมล์ รถสาธารณะทั้งหมด รถไฟฟ้า รถแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขาต้องมีstationให้รับบริการตรงนี้ฟรีจากรัฐ หรือภาคเอกชนจะช่วยก็ช่วยในส่วนนี้ได้ และอีกจุดนึงก็คือพวกสถานีต่างๆที่มีที่นั่งรอเช่นป้ายรถเมล์ จุดขึ้นลงรถสาธารณะที่คนต้องไปสัมผัส ไปยืน ไปนั่งแล้วก็ไปจับราว ทั้งหมดยังเป็นข้อบกพร่องของรัฐบาลที่ยังไม่ทำ และถ้ามีความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าไปทำตรงนี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของประชาชนลงไปได้

90222496_660555054680561_4242027121087610880_n.jpg

คำว่า Social distancingเป็นสิ่งที่ทุกรับทราบและช่วยกันทำ เพื่อไม่ให้เกิดการเผยแพร่เชื้อได้ง่ายในขณะเดียวกันกับที่เรามี social distancing อยากให้สังคมไทยมี social solidarity เพราะว่ามันเป็นพลังเป็นความร่วมมือสู้ไปด้วยกันอะไรที่เรา contribute ได้หรือทำได้เราทำ เริ่มตั้งแต่ตัวเองที่จะดูแลสุขภาพตัวเองดูแลรับผิดชอบต่อสังคมถ้าเรามีอาการหรือว่าถ้าเราเดินทางจากต่างประเทศเราจะดูแลตัวเองยังไงไม่ให้เป็นผู้เผยแพร่เชื้ออันนี้ก็ถือว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน หรือขณะนี้หลายคนอยากช่วยก็สามารถที่จะช่วยได้ เช่นเป็นจิตอาสาต่างๆที่จะเข้าไปช่วยให้ความรู้ก็ดี เข้าไปช่วยทำความสะอาดอาจจะมีภาคเอกชนร่วมกับจิตอาสาไปทำความสะอาดป้ายรถเมล์ ไปช่วยกันทำความสะอาดรถสาธารณะก็เป็นสิ่งที่ให้ทุกวิกฤตของไทยเราจะเห็นน้ำใจของคนไทยที่หลั่งไหลมาโดยตลอดอยากทั้งให้กำลังใจแล้วก็สร้างพลังบวกร่วมกันสำหรับพี่น้องชาวไทย

อย่างตัวอย่างของ social solidarityก็จะเห็นได้จากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นพวกบริษัทห้างร้านสามารถทำได้หรือแม้แต่องค์กรการเมืองอย่างพรรคการเมือง ของพรรคเพื่อไทยที่ทำก็ทำศูนย์โควิดขึ้นมา ศูนย์นี้เราก็จะให้ข่าวสารข้อมูลให้ความร่วมมือทุกอย่างmatchingสิ่งที่ประชาชนขาดเช่น หน้ากากอนามัยกับแหล่งผลิตจากพื้นที่เป็นหน้ากากผ้าเพราะว่าผลิตโดยชาวบ้านหรือขณะนี้ที่เราให้ทำกันก็คือว่าเราให้ส.ส.ทุกคนลงพื้นที่เพื่อที่จะให้ข้อมุลความรู้กับประชาชนมากที่สุดและก็เตือนประชาชนค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่ ใครมีอาการไปพบแพทย์ก่อนเราประสานงานให้ในโรงพยาบาล อย่างนี้ล่ะค่ะต้องเรียกว่าทุกคนมีส่วนร่วมใน social solidarity ทุกคน