ไม่พบผลการค้นหา
ชาวเน็ตท้วงติง 'รัฐบาล-ศบค.-กองทัพ' หลัังพบทหารอียิปต์ แขกของกองทัพ ติดเชื้อโควิด-19 ทำโลกโซเชียลมีเดียร้อนระอุ พร้อมตั้งคำถามทำไมรัฐบาลถึง 'การ์ดตก' เสียเอง

แฮชแท็กทวิตเตอร์ร้อนฉ่าอีกครั้ง หลังศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อ ประจำวันที่ 13 ก.ค. จำนวน 3 ราย ซึ่ง 2 ใน 3 รายนั้นเป็นครอบครัว 'คณะทูตจากภูมิภาคแอฟริกา' และพักในคอนโดพื้นที่ กทม. และอีกรายเป็นชาวอียิปต์วัย 43 ปี อาชีพทหาร และได้เดินทางมาถึงสนามบินอู่ตะเภา เข้าพักที่โรงแรมแห่งในซึ่งเป็น State Quarantine ใน อ.เมืองระยอง

อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงเวลากักตัวนั้น มีรายงานว่าทหารอียิปต์ผู้นี้ได้เดินทางออกนอกสถานกักตัว โดยมีไทม์ไลน์การเดินทางดังนี้

  • 6 ก.ค. 2563 เดินทางจากสนามบินกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • 7 ก.ค. 2563 เดินทางจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไปยังปากีสถาน
  • 8 ก.ค. 2563 เดินทางมาถึงสนามบินอู่ตะเภา เข้าพักที่โรงแรมแห่งในซึ่งเป็น State Quarantine ใน อ.เมืองระยอง
  • 9 ก.ค. 2563 ออกจากโรงแรมใน จ.ระยอง ไปสนามบินอู่ตะเภา เพื่อบินไปทำภารกิจทางการทหารที่เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน และกลับมาวันเดียวกัน เข้าพักที่โรงแรมแห่งเดิม
  • 10 ก.ค. 2563 หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) อ.เมืองระยอง เข้าคัดกรองอาการคณะเดินทางและลูกเรือ เก็บตัวอย่างส่งตรวจทั้งคณะ 31 ราย
  • 11 ก.ค. 2563 คณะดังกล่าวเดินทางออกจากประเทศไทยกลับไปยังอียิปต์ ซึ่งขณะนั้นผลตรวจยังไม่ชัดเจน จึงส่งตรวจซ้ำ
  • 12 ก.ค. 2563 ผลออกมายืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19

โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. ออกมาชี้แจงว่า "คงไม่ไปกล่าวโทษ เนื่องจากเข้ามาในช่วงที่มีการอนุญาตทุกอย่าง ผมในฐานะโฆษก ศบค.ก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะไม่ได้เกิดจากความผิดพลาด ละเลย หรือตั้งใจกระทำอะไรที่ไม่ถูกไม่ต้อง แต่เป็นจุดที่เราต้องเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อต่อเป็นรายละเอียดปลีกย่อย หลากหลายมากมาย ก็ต้องเรียนรู้และค่อยๆ ทำร่วมกัน

แต่ตอนนี้ยังไม่มีความเสียหายอะไรที่เป็นประเด็น แต่ถ้าสามารถควบคุมโรคได้และปิดจุดอ่อนและนำให้เกิดระเบียบปฏิบัติให้ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป...ในเมื่อเป็นความเสี่ยงเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องมากำหนดมาตรการที่ครอบคลุมกว่านี้ ต้องเรียนรู้ไปร่วมกัน เพราะโรคนี้เป็นโรคใหม่ เมื่อพบปัญหาแบบนี้ก็ต้องละเอียดกันยิ่งขึ้น"      

สร้างความตกใจและตั้งคำถามต่อผู้มีอำนาจว่า ตลอดช่วงเวลาการระบาดของโควิด-19 ผู้มีอำนาจตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกุญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารณสุข ตลอดจน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. ได้ออกมาเน้นย้ำเสมอว่า 'ประชาชนห้ามการ์ดตก'

แต่กรณีล่าสุดได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ ถึงการเลือกปฏิบัติต่อความเข้มงวดในการบังคับตามมาตรการป้องกันโรคระบาดหรือไม่

อาทิ ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งตั้งคำถามว่า "ก่อนหน้านี้ขู่ว่าถ้ามีคนติดเชื้อจากสถานบันเทิงต้องมีคนรับผิดชอบ แล้วถ้าทหารที่เข้ามาทำคนอื่นติดเชื้อ ใครจะรับผิดชอบ ก่อนหน้านี้ปากดีกันนัก ถึงตัวเองจะเงียบมั้ย"

ขณะที่บางรายระบุว่า "ก็มาจากต่างประเทศทั้งนั้น คืออยู่ในประเทศ ฉันต้องเสี่ยงและการ์ดอย่าตกว่างั้น ส่วนนอกประเทศจะเดินทางมา ฉันอ้าแขนรับ ลูกเรือเครื่องบินทหาร ครอบครัวคณะทูต อยู่ในข่ายยกเว้นของรัฐ"

นอกจากนี้บางคนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อแขกของกองทัพหรือไม่ "ระบาดครั้งแรกมาจากสนามมวย ที่กองทัพเป็นใหญ่ ครั้งที่สองมาจากทหารต่างชาติที่กองทัพรับเข้ามาโดยไม่กักตัว กองทัพก่อเรื่อง แต่ผู้รับชะตากรรม คือ ประชาชน"

รวมคนในพื้นที่ จ.ระยอง ได้ทวิตข้อความว่า "มะกี้โทรไป1422 ขอชื่อ รร.กะห้างเพราะคนระยองก็มีสิทธิรู้ แม่งบอกข้อมูลความมั่นคงให้ไม่ได้ เลยถามว่าละคนระยองจะระวังยังไง ทางนั้นบอกถ้าไปห้างหรือรรวันเดียวกะทหารก้ให้กักตัว 14 วันเอา เลยถามไปว่าห้าง รร ในระยองมันไม่มีที่เดียวจะรุ้ได้ไง แม่งก้อึกอัก ละให้กักตัว14วัน เอาละกัน"

ด้านนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า "สั่งประชาชนว่าการ์ดอย่าตก ให้ประชาชนต้องเสียสละมากมาย หลายคนเสียรายได้ สูญโอกาสทำมากิน กดดันจนฆ่าตัวตาย เด็กหลายคนเสียสุขภาพจิต ไม่ได้ไปเรียนหนังสืออยู่นาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกฝ่ายลงแรงไปอีกมาก มาวันนี้ทหาร 'การ์ดตก' รอบสองจะให้ประชาชนตามเช็ดตามล้างไปถึงไหนอีกครับ"

ล่าสุดเวลา 15.40 น. ได้มีการแสดงความคิดเห็นผ่านแฮชแท็ก "โควิด-19 และ อีแดงกราบตีนคนไทย" ไปแล้วกว่า 200,000 ทวิต

capture-20200713-155245.pngcapture-20200713-155432.pngcapture-20200713-155542.pngcapture-20200713-170745.png


capture-20200713-155622.png

อ่่านเพิ่มเติม