ไม่พบผลการค้นหา
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒนา ส.ส. บัญชีรายชื่ออนาคตใหม่ เปิดวงเสวนาชวนถกทำไมศิลปินไทยยิ่งแก้ยิ่งจน ชี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์คุ้มครองนายทุนมากกว่าศิลปิน

วันที่29 พฤศจิกายน 2562. ณ อาคาร I’M Park สามย่าน ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒนา สมาชิสภาผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ จัดงานเสวนา รับฟังความคิดเห็น โดยมีศิลปินอิสระมาร่วม งาน เลิกทาสศิลปิน หวังพลักดันแก้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ปัญหาศิลปินและนายทุน

เริ่มต้น งานเสวนา”เลิกทาสศิลปิน” โดยมุ่งตั้งคำถาม ทำไมดาราศิลปินต่างประเทศยิ่งอายุมากยิ่งรวย ทำไมดาราศิลปินไทยยิ่งอายุมากยิ่งจน? รวมถึงศิลปินทุกแขนง นักร้อง นักแต่งเพลง นักเต้น นักเขียน นักออกแบบ และอื่น ๆ มาก

โดย นาย สกรรจ์รณ เชาวน์รัตน์ หรือ โอ๊ค ดราก้อนไฟว์ ศิลปินผู้ผลิตเพลงได้เสนอ ให้คนทำงานศิลปะ ต้องรู้สิทธิของตัวเอง เพื่อเป็นจุดยืน ในการปกป้องผลงาน รวมถึงความปลอดภัยทางจิตใจของผู้สร้างสรรค์ผลงานก็เป็นเรื่องสำคัญ” เมื่อการสร้างผลงานมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องกับศิลปินในฐานะที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอาชีพหนึ่ง การที่ทำเพลงเป็นตัวเอง โดยไม่ปรับตัวตามกระแสเป็นสิ่งที่ศิลปินต้องมี แต่ในปัจจุบันควรจะรู้จักกลไกบางอย่างเช่นเรื่องลิขสิทธิ ดนตรีกรรม การสร้างสร้างรายได้ในปัจจุบันเพื่อส่งผลต่ออนาคตการเป็นศิลปิน”

ด้าน นาย หรือ เอส นักร้องนำวง Kluaythai ได้แบ่งปันประสบการณ์การเป็นศิลปินบนโลกออนไลน์ โดยมีช่องทางนำเสนอที่เป็นแนวเพลงของตนเอง แตกต่างไปจากค่ายเพลงใหญ่ สามารถประกอบอาชีพนี้มากว่า17 ปี และเสนอให้ภาครัฐมีการคุ้มครองดูแลศิลปินนอกกระแส

ด้านนาย ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒนา กล่าวถึง พระราชบัญัติลิขสิทธิ เป็นกฎหมายไม่ได้คุ้มครองศิลปินอย่างที่ควรจะเป็น เปิดช่องแก่นายทุนโดยศิลปินจะมีการเซ็นมอบผลงานกับผู้จ้างงานโดยที่มีทางเลือกน้อย เหมือนกับเป็นทุนผูกขาดหรือการถูกกำหนดผลงานโดยทุน “ความคิดสร้างสรรค์ของเราไม่ใช่ไม่มีแต่เรานั่งทับไว้ และมีคนมานั่งทับเราไว้อีกที” ครูธัญ ส.ส. อนาคตใหม่ ผู้ที่เคยเป็นนักออกแบบท่าเต้นพูดถึงความสร้างสรรค์ภายใต้ระบบทุนที่กดขี่เสรีภาพภายในสังคมอาจจะเป็นผลที่ศิลปินไม่สามารถผลิตผลงานไปแข่งขันกับนานาอารยะประเทศได้

ภายในงานยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของศิลปินที่ต้องมีการจัดการระหว่างตัวตนความเป็นตัวของตัวเองกับความต้องการตอบสนองการตลาดตอบสนองทุนโดยคุณคริส จอห์น ที่หันมาทำงานสร้างผลงานโดยไม่ได้อยู่ภายใต้ค่ายเพลง และมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนผ่านร่วมอภิปรายปัญหาของกฏหมาย และแนวทางแก้ไข คุ้มครองศิลปิน เพื่อนำไปสู่การสร้างนโยบายเพื่อคุ้มครองศิลปิน.

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงาน ร่วมแสดงความเห็น ประเด็น ที่สำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ความมั่นคงในอาชีพปัญหาเชิงลิขสิทธิ์ ความเป็นตัวตนต้นแบบของศิลปะ และพฤติกรรมการเสพงานของผู้ฟังที่ถูกครอบงำโดยทุน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต้องแลกด้วยอะไร และในฐานผู้แทนราษฏร ธัญวัจน์ กล่าวว่า “รัฐต้องสนับสนุนและดำเนินการในการเปิดตลาดสู่ระดับเอเชีย และ ทั่วโลกต่อไป”