ไม่พบผลการค้นหา
ตัวเลขอุตสาหกรรมจีนโตร้อยละ 4.4 แต่นักวิเคราะห์คาดหวังไว้ถึงร้อยละ 5 ผลกระทบจากอุปสงค์โลก-ค่าปลีกอ่อนแรง-ประชาชนตกงาน ยกส่งผลร้ายต่อภาพรวม

ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือน พ.ค.ของจีนยังคงยืนอยู่ในแดนบวกอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง อย่างไรก็ตาม สัดส่วนที่ออกมาต่ำกว่าความคาดหวังการฟื้นตัวจากนักลงทุน สะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นเต็มที่จากวิกฤตโรคระบาด

อัตราการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนเดือนที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งยังเป็นอัตราส่วนในแดนบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง จากตัวเลขในเดือน เม.ย.ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 หลังจากที่ก่อนหน้านี้อัตราการผลิตของจีนติดลบหนักถึง ร้อยละ 13.5 ต่อเนื่องในเดือน ม.ค. - ก.พ.ก่อนขยับขึ้นมาเป็นการติดลบที่ร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตาม ตัวเลข 4.4 ยังต่ำกว่าผลสำรวจจากสำนักข่าวรอยเตอร์สที่นักวิเคราะห์ออกมาประเมินไว้ที่ร้อยละ 5 

จีน

ส่วนหนึ่งของการฟื้นตัวที่ยังไม่เต็มที่ มาจากภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากอุปสงค์โลกที่อ่อนแอท่ามกลางมาตรการล็อกดาวน์ที่ยังมีอยู่ เช่นเดียวกับฝั่งการค้าปลีกที่ตกต่อเนื่องมาแล้ว 4 เดือน ทั้งนี้ผลกระทบจากตัวเลขผู้ว่างงานและความกลัวการกลับมาระบาดระลอกที่สองก็ส่งผลกับกำลังซื้อของผู้บริโภคเช่นเดียวกัน ฝั่งเม็ดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรตลอด 5 เดือนแรกของปีตกลงถึงร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และยังเป็นตัวเลขที่แย่กว่าการคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.9 

เมื่อหันไปดูข้อมูลอีกชุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (เอ็นบีเอส) พบว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิต ปรับลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 50.8 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 50.6 โดยข้อมูลชี้ว่า มิติของบริษัทขนาดใหญ่ตัวเลขดังกล่าวขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 51.6 ซึ่งปรับการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ตัวเลขในฝั่งบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กกลับลดลงถึงร้อยละ 1.4 และ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลงมาอยู่ที่สัดส่วนร้อยละ 48.8 และ 50.8 ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ ตัวเลข PMI ของจีนเคยหดตัวลงไปต่ำสุดถึงร้อยละ 35.7 ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา 

จีน
  • ที่มา; NBS

สำหรับตัวเลข PMI ในอุตสาหกรรมนอกภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ส่งผลให้มีระดับดัชนีที่ร้อยละ 53.6 ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดในรอบ 4 เดือน หลังจากที่ดัชนีหล่นไปอยู่ในระดับร้อยละ 29.6 ในเดือน ก.พ.ก่อนจะดีดตัวขึ้นมาในเดือน มี.ค.

เมื่อพิจารณาตัวเลขดัชนีในรายธุรกิจ ข้อมูลสะท้อนให้เห็นการเติบโตที่ค่อนข้างสูงในฝั่งธุรกิจก่อสร้างที่มีดัชนีถึงร้อยละ 60.8 ขณะที่ฝากบริการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้ง ค้าปลีก จัดเลี้ยง รถไฟ การเดินทางทางอากาศ การสื่อสาร วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม รวมไปถึงอินเทอร์เน็ตล้วนมีตัวเลขดัชนี PMI เกินร้อยละ 55 ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่ดูจะยังไม่ฟื้นตัวกระจุกอยู่ในฝั่งศิลปวัฒนธรรม บังเทิงและกีฬาเป็นหลัก โดยเมื่อนำตัวเลขจากทั้งสองส่วนมารวมกันพบว่า ดัชนี PMI รวมของจีนประจำเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาอยู่ในระดัยร้อยละ 53.4 ทรงตัวเท่าเดือนก่อนหน้า 

อ้างอิง; CNBC, Reuters, WSJ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง;