ไม่พบผลการค้นหา
'วิชา' ลั่น คดี 'บอส อยู่วิทยา' จงใจบิดรูปคดี-สร้างพยานเท็จ ไม่จริงใจทำสำนวนคดี หวังให้หลุดข้อกล่าวหา จ่อฟันตำรวจ-อัยการ เอี่ยวมากกว่า 10 คน เอาผิดจริยธรรมรุนแรง พร้อมบี้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องตามตัวส่งผู้ร้ายข้ามแดน

วิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญากับ วรยุทธ อยู่วิทยา แถลงสรุปผลการสอบข้อเท็จจริงตลอด 30 วันว่า คดีนี้เป็นคดีพิเศษใช้เวลา 7-8 ปี ขณะที่เมื่อสั่งไม่ฟ้อง คนไทยไม่รู้แต่ไปเปิดเผยจากสำนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าอับอายต่อองค์กรกระบวนการยุติธรรม

ทั้งนี้ ข้อมูลที่คณะกรรมการได้มานั้นเรียนตามตรงว่า ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ยังมีในบางประเด็น ที่นายกรัฐมนตรี เป็นกังวลว่าหากเผยแพร่ออกไปจะกระทบต่อตัวบุคคล แต่ยืนยันว่ารายงานที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีนั้นครบ บอกหมดว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรโดยละเอียด มีพฤติกรรมอย่างไร แต่เป็นสิทธิของนายกรัฐมนตรี ในการเผยแพร่ 

ซึ่งทางคณะกรรมการจะมอบเอกสารบทสรุปให้กับสื่อมวลชน เป็นตัวละครที่ใช้นามย่อ และตำแหน่ง แต่เมื่ออ่านแล้ว ก็จะรู้ว่าเขาคือใคร “เป็นไปตามแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ บุคคลที่เรารู้อยู่แล้วว่าเป็นใคร สามารถไปหาต่อได้เลย ไม่ยาก” โดยใช้วิธีการเผยแพร่ลักษณะนี้ แบบ ป.ป.ช. 

ส่วนผลสรุป คือ เห็นพฤติกรรมตั้งแต่ขั้นของการทำสำนวน ตั้งแต่แรกที่บกพร่อง - ตั้งข้อหาผู้ตาย ซึ่งก็ไม่ถูกกฎหมาย เพราะเขาไม่มีโอกาสต่อสู้ทางคดี ทำให้รูปคดีเสียหายอย่างหนัก เป็นลักษณะไม่จริงใจในการทำสำนวนอย่างมืออาชีพ หวังให้หลุดจากข้อกล่าวหาจึงนำไปสู่การสั่งไม่ฟ้อง เช่น คดีของการเมาสุรา แต่ยังมีอัยการที่ต่อสู่เพื่อดำเนินคดีนี้แม้ว่าจะถูกกัดดันเพื่อให้อัยการสูงสุดไม่รับคดีนี้

และจากช่องโหว่จากการสอบสวนที่ใช้ระยะเวลานานแต่ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี จึงเป็นเหตุให้เกิดช่องโหว่ให้เกิดร้องขอความเป็นธรรม ถึง 14 ครั้ง ซึ่งมีอดีตอัยการสูงสุด ปฏิเสธพยานหลักฐานตามคำร้องใหม่ไปแล้วหลายครั้ง แต่ครั้งสุดท้ายครั้งที่ 14 รองอัยการสูงสุด ที่รับผิดชอบการร้องขอความเป็นธรรม ได้นำพยานที่ถูกปฏิเสธ มาเป็นพยานหลักฐานที่มั่นคง ทั้งที่มีคนไม่เห็นด้วย

วิชา มหาคุณ 0901142658000000.jpg

และอดีตอัยการสูงสุด 4 คน ที่ให้ข้อมูลว่า หากจะถือเป็นการยกขึ้นมาสั่งไม่ฟ้อง จะต้องเป็นพยานหลักฐานใหม่ แต่กลับนำพยานหลักฐานจากครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นทำสำนวนแบบการร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจผิดปกติที่สุด แบบสมยอม ในการสอบพยานพ.ต.ท.ธนะสิทธิ์ แตงจั่น ผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐานกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ประจำและหัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เรื่องของการกลับความเห็น เรื่องความเร็วรถ ที่ถูกบันทึกวันเกิดขึ้นในวันที่ 26 ก.พ. และ วันที่ 2 มี.ค. 2559

ซึ่ง วิชา เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ธนะสิทธิ์ และสายประสิทธิ์ ก็ยอมรับว่าถูกกดดัน พร้อมนำหลักฐานมายืนยันว่าวันที่มีการสอบพยานจริงเป็นวันที่ 29 ก.พ. 2559 และขออยู่ในกระบวนการคุ้มครองพยาน หลังจากให้ถ้อยคำ เพราะกลัวเรื่องความปลอดภัย ซึ่งในส่วนของสายประสิทธิ์ จะให้ข้อมูลทำให้เกิดข้อบิดผันในกระบวนการ แต่ว่าถือเป็นหลักเกณฑ์การคำนวณทางวิศวกร แต่ยอมรับว่าไม่ได้ไปที่ถนน ไม่ได้ไปที่เกิดเหตุ และไม่ได้ทดสอบ เพียงแต่คำนวณบนกระดาษ ใช้แต่คำเบิกความเพียงอย่างเดียว จึงถือว่ามีพิรุธ คณะกรรมการจึงเห็นสมควรให้มีการสอบสวนใหม่ หรือเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น รวมถึงเสนอให้แก้ไขเรื่องอายุความคดีโดยให้หยุดลงเมื่อผู้หาหนีจนกว่าจะได้ตัวผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดีจึงจะนับอายุความต่อ เป็นมาตรฐานเดียวกับคดีทุจริต สำหรับบุคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงและเป็นหัวหน้าองค์กร แม้จะไม่มีข้อมูลความผิดทางอาญา หรือทางวินัย แต่สามารถดำเนินการฐานผิดจริยธรรมร้ายแรง ซึ่งสามารถส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งได้ 

จากการตรวจสอบของคณะกรรมการเบื้องต้นพบว่า มีผู้ที่ต้องรับผิดจากการทำคดีนี้มากกว่า 10 คน ซึ่งมีทั้งอัยการและตำรวจ โดยยืนยันว่าจากนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะถูกเรียกมาให้ข้อมูลต่อ ป.ป.ท. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถตามตัวทนายของบอสมาให้ข้อมูลได้ แต่ทางสภานายความจะรับเรื่องไปตรวจสอบต่อไป ส่วนการตามตัวนายบอส กลับมาดำเนินคดี ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมื่อจะดำเนินการอย่างจริงจัง และอัยการจะต้องประสานกระทรวงต่างประเทศขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน แต่ตอนนี้ก็ดำเนินแบบไม่ค่อยเต็มใจเท่าที่ควร แต่หากไม่ทำก็จะมีความฐานะเว้นปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 

วิชา ยังระบุว่า พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่อ้างว่าไม่ได้อยู่ในห้องในวันที่มีการสอบ พ.ต.ท.ธนะสิทธิ์ และสายประสิทธิ์ ในวันที่ 26 ก.พ. 2559 ตนเองเดินทางไปร่วมการประชุมฟีฟ่า ที่เมืองซูริก ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ จึงไม่เป็นผล เพราะมีหลักฐานยืนยัน พล.ต.อ.สมยศ เดินทางกลับไทย ในช่วง 27-28 ก.พ. 2559 ซึ่งก่อนวันที่จะมีการสอบสวนพยานทั้ง 2 ปากในวันที่ 29 ก.พ. 2559