ไม่พบผลการค้นหา
'วิโรจน์' ยอมรับกองทัพทำ IO ฉลาดขึ้น หันมาเล่นในทวิตเตอร์ แต่ยังไม่สำเร็จเพราะชาวทวิตรู้ทัน ตรวจสอบข้อมูลเกินจริงได้ และผิดหลักการคู่มือสงครามสนาม เพราะโจมตีประชาชน

จากกรณีมีภาพและเอกสารเกี่ยวกับหลุดเกี่ยวกับ‘ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร’ หรือ  IO ของกองทัพ และมีข้อมูลว่าทางกองทัพมีการจ้างบริษัทเอกชนทำข้อมูลตอบโต้ข้อมูลในโลกออนไลน์อย่างในทวิตเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (25 พ.ย. 2563) 

59เ้ม.jpg


วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ยอมรับในรายการ Talking Thailand ของ Voice TV เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 ว่าตอนนี้ฝ่ายรัฐบาลปรับเปลี่ยนยุทธวิธีในการทำ “ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร” หรือ  IO ย่อมาจาก Information Operation เพื่อเผยแพร่ความคิดและความเชื่อของฝ่ายรัฐให้ประชาชนคล้อยตาม อีกทั้งตอบโต้ข้อมูลฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล

จากเดิมที่ปฏิบัติการในเฟซบุ๊ก โดยการเปิดแฟนเพจหรือเปิดบัญชีส่วนตัวปลอมขึ้น มาเล่นในทวิตเตอร์โดยการกำหนด hashtag ขอกลุ่มคำเพื่อให้ได้รับความนิยมบน Twitter ในตอนนั้น

“วิโรจน์รัฐทำคือการเอาข้อมูลที่ต้องการสื่อสารซ้ำๆ มาตั้งเป็น hashtag เพื่อหวังให้ประชาชนเชื่อ แต่หารู้ไม่โลกทวิตเตอร์คือการตอบโต้ข้อความกันอย่างเสรีทำให้ hashtag นั้นของรัฐบาลได้รับความนิยมชั่วคราวเท่านั้น” วิโรจน์กล่าว

วิโรจน์กล่าวอีกว่า ฝ่ายรัฐยังเปลี่ยนวิธีการเล่นทวิตเตอร์จากการเปิดบัญชีที่มีคนเล่นจริงๆ แล้วสร้างข้อมูลหรือกำหนด hashtag ที่ต้องการมาเป็นการทำงานแบบ twitter broadcast โดยวิธีเปิดบัญชีทวิตเตอร์หลายหมื่นบัญชี แล้วทำให้สั่งการให้บัญชีเหล่านั้นส่งข้อความและ hashtag ที่ต้องการพร้อมกันทันที่ 

55เ้ม่.jpg


“นี่จึงเป็นเหตุที่ทำไมเราเห็น hashtag ของฝ่ายรัฐปรากฎการณ์พร้อมกันจำนวนมากทุกวันนี้ แต่ชาวทวิตเตอร์ที่มีตัวตนจริงๆ ก็ดูออกมาเป็นการปั่น hashtag ก็มีการตั้ง hashtag ตอบโต้ทันที จึงทำให้ hashtag ฝ่ายรัฐไม่ได้รับความนิยม” วิโรจน์กล่าว

127276713_1738605576308494_4975936066366601282_n.jpg


รัฐทำไอโอผิดหลักการคู่มือสงครามสนาม

วิโรจน์ยืนยันว่าปฏิบัติการ “ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร” หรือ  IO ของฝ่ายรัฐครั้งนี้ถือว่าเป็นการทำผิดจาก ‘คู่มือราชการสนาม 100 - 20’ คล้ายกับเป็นหลักการในการทำปฏิบัติสงครามข้อมูลข่าวสาร เช่น สร้างข่าวลวง สร้างข่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ฝ่ายตัวเอง รวมถึงระงับยับยั้ง ขัดขวาง หรือทำลายฝ่ายตรงข้าม หรือ ฝ่ายศัตรู นั้น 

อีกทั้งหลักการในคู่มือราชการสนามดังกล่าวนั้นบอกว่า “ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร” ที่ทำกับประชาชนต้องเป็นการเผยแพร่ความจริงเท่านั้น 

แต่ที่ฝ่ายรัฐกำลังทำตอนนี้กลับไป ด้อยค่าประชาชน เผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน หรือการใช้ข้อมูลเท็จโจมตีฝ่ายตรงข้าม ซึ่งไม่แน่ใจว่าคือฝ่ายประชาชนที่กำลังประท้วงรัฐบาลตอนนี้หรือไม่ 

“หากเป็นจริงแสดงว่าตอนนี้รัฐบาลและกองทัพมองประชาชนเป็นฝ่ายตรงข้ามแล้ว แล้วยังมีการระบุให้ไอโอส่งข้อความโจมตีตัวบุคคลของฝ่ายผู้ชุมนุมอีกด้วย” วิโรจน์กล่าว

เขากล่าวอีกว่า ในอนาคตรัฐสภาอาจมีการตั้งกระทู้ถามถึงการกระทำแบบนี้ของรัฐบาล เพราะล่าสุดมีภาพหลุดว่าเป็นการประชุม “ปรัชญาการทำไอโอ” และมีภาพทหารเล่นทวิตเตอร์ ว่ามีการใช้งบประมาณแผ่นดินนำไปใช้ในปฏิบัติสงครามข้อมูลข่าวสารกับประชาชนหรือไม่ 

ไม่ใช่ยุคสงครามเย็นที่จะทำแบบเดิมได้สำเร็จ

สำหรับวิโรจน์หากรัฐบาลและกองทัพกระทำปฏิบัติการไอโอจริง มองว่าก็ไม่ต่างจากยุคสงครามเย็นที่เอาทหารไปปลอมตัวแจกใบปลิวโฆษณาชวนเชื่อในพื้นที่ต่างๆ หรือให้ทหารไปนั่งในร้านกาแฟแล้วพูดคุยเรื่องที่รัฐต้องการให้ประชาชนรู้ ซึ่งมันทำไม่ได้แล้ว 

“ในโลกทวิตเตอร์ประชาชนมักจะตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับความนิยมในทวิตเตอร์ โดยเฉพาะทวิตข้อมูลที่มันเกินจริง ชาวทวิตเตอร์ก็จะตรวจสอบได้ ทำให้ข้อความนั้นไม่น่าเชื่อถือ” วิโรจน์กล่าว

ดังนั้นหากรัฐบาลและกองทัพต้องการปฏิบัติการนี้กับประชาชน ต้องเอาข้อเท็จจริงออกมาพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่แค่ภาพ วิดีโอ อินโฟกราฟฟิกข้อมูลสวยแค่นั้น 

“อินโฟกราฟฟิกสวยแต่อยู่ในพื้นฐานข้อมูลเท็จ รัฐบาลและกองทัพจะยิ่งซวย” วิโรจน์กล่าว

ประชาชนต้องรู้ทันและตรวจสอบ

วิโรจน์ชวนประชาชนรู้ทันและตรวจสอบไอโอของรัฐบาลและกองทัพว่า เวลาเจอข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือเกินจริง อยากให้ตรวจสอบข้อมูลก่อน เช่น หากเป็นรูปภาพ ก็เอารูปภาพนั้นไปตรวจที่ google image ว่าเป็นรูปเก่าหรือรูปใหม่ เช่น มีการนำรูปเก่าที่ผู้ชุมนุมทางสีกำแพง ซึ่งเมื่อไปตรวจพบว่าเป็นรูปเก่าแล้วนำมาเขียนข้อความใหม่ หรือ หากเป็นข้อมูลก็นำข้อความนั้นไปตรวจสอบที่ google แล้วหาข้อมูลเพิ่มขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าเกินจริงหรือไม่อย่างไร หรือดูข้อมูลเดียวกันที่มาจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย หรือจากอีกฝ่าย เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามแม้กองทัพจะมีการชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กเพจ Army Spoke Team เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2563 ว่า กรณีดังกล่าวทางหน่วยงานกองทัพ ไม่ได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนไปดำเนินการตามที่มีการกล่าวหาโดยตีความจากเอกสารที่ถูกนำมาเผย 

“วัตถุประสงค์ในการสื่อสารทางโซเชียลมีเดียของกองทัพบก มุ่งเน้นการสื่อสารสร้างการรับรู้อย่างสร้างสรรค์ เท่าทันสถานการณ์ ทางทหารในกองทัพ จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยี และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ให้ทันกับสภาพสังคม” 

กองทัพชี้แจงต่อว่า สำหรับผังโครงสร้างที่ปรากฎก็เป็นการจัดหน่วยประชาสัมพันธ์ เพื่อทดลองกระจายข้อมูลเชิงบวกให้กับบัญชีทวิตเตอร์ด้วยแอพพลิเคชั่นดังกล่าว และมีการลงทะเบียนใช้งานอย่างเปิดเผย ระบุตัวตนได้ ส่วนเนื้อหาที่นำลงก็เป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวก  กิจกรรมเทิดทูนสถาบัน การสร้างภาพลักษณ์  ภารกิจกองทัพบกและการช่วยเหลือประชาชน

สำหรับวิโรจน์ เท่ากับว่า ตอนนี้กองทัพยอมรับว่ามีการปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสารจริง แต่เป็นการปฏิบัติการในด้านดีอย่างเดียว เพราะมีประชาชนตรวจสอบพบว่าแหล่งที่มาของข้อมูลคล้ายๆ กันนั้นมาจากที่มาเดียวกัน เช่น ตรวจสอบว่ามาจาก โดเมน (domain) หรือที่อยู่เว็บไซต์ที่มาจากบริษัทที่รับงานจากภาครัฐเป็นประจำ เป็นต้น 

อีกทั้งประกอบมีภาพและข้อความการสั่งการให้กำลังพลในกองทัพปฏิบัติการไอโอ หลุดออกมาในสังคมตอนนี้ ยิ่งทำให้มีความน่าเชื่อถือว่ากองทัพมีการปฏิบัติการ IO โจมตีประชาชนจริง