ไม่พบผลการค้นหา
บัตรเครดิตกรุงไทย มีหนี้เสีย 5.6% ผู้บริหารย้ำ อย่าตกใจ เป็นเพราะมาตรฐานใหม่เท่านั้น ย้ำสถานการณ์การใช้จ่ายชะลอ หันเพิ่มแรงจูงใจผ่านบัตรกดเงินสด-เลือกรับลูกค้าใหม่ที่มีคุณภาพ

พิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจสินเชื่อบุคคล 'เคทีซี' หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยสัดส่วนหนี้เสียบัตรเครดิต (NPL) โต 5.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 

ปัจจุบัน ยอดบัตรเครดิตของเคทีซีรวมครึ่งแรกของปี 2563 มีทั้งสิ้น 2.6 ล้านใบ รวมเป็นเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รวมดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งสิ้น 5.32 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ พิชามน ย้ำว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นเพราะการหันมาใช้มาตรฐานใหม่ (TFRS9) ขณะที่ก่อนหน้านี้บริษัทไม่ได้มีปัญหาหนี้เสียมาก่อน และแสดงความมั่นใจว่า ยอดหนี้เสียในช่วงครึ่งหลังปีที่แล้วอยู่ที่ 1% เท่านั้น 

ขณะที่สถานการณ์สินเชื่อบุคคล ตลอดครึ่งแรกของปีนี้มีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นจำนวน 8.91 แสนบัญชี และมีสัดส่วนหนี้เสีย 8.5% เมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2562 ที่ยังเป็นมาตรฐานเก่า และฐานต่ำที่ 0.8%

ปัจจุบัน โครงสร้างลูกหนี้ของบริษัทบัตรกรุงไทย แบ่งเป็นบัตรเครดิต 63.8% และ สินเชื่อส่วนบุคคล 36.2% โดยมีปริมาณการใช้จ่ายรวม 9 หมื่นล้านบาท ลดลงจากช่วยเดียวกันของปีก่อนหน้า 9.6% ซึ่ง พิชามน ชี้ว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชนมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งให้มีตัวเลขกำไรสุทธิ 2,790 ล้านบาท 


เพิ่มสินค้าใหม่-ระวัง 'กลุ่มเสี่ยง'

ผู้ช่วยประธานฯ เผยว่า หนึ่งในกลยุทธ์เพิ่มรายได้ในครึ่งหลังของปีนี้คือการเปิดตัวบัตรกดเงินสด 'เคทีซี พราว - ยูเนี่ยน เพย์' ที่มีความสามารถในการ กดเงิน โอนเงิน รูดซื้อสินค้า และผ่อนจ่ายสินค้า ได้ภายในบัตรเดียว ซึ่ง พิชามน ชี้ว่า จะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกลูกค้าและสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าใหม่เข้ามาสมัครมากขึ้น 

เนื่องจาก รายได้เฉลี่ยขั้นต่ำในการสมัครบัตรดังกล่าวอยู่ที่เพียง 12,000 บาท/เดือน พิชามน คาดว่าภายในสิ้นปี 2563 จะมีผู้ถือบัตร จำนวน 100,000 คน

นอกจากนี้ พิชามน ยังยอมรับว่า ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัทจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบใบสมัครสินเชื่อเพื่อปิดบัตรเครดิต-บัตรกดเงินสดเพิ่มมากขึ้น โดยมียอดการรับจริงลดลงมาอยู่ที่ราว 25% จากยอดใบสมัครทั้งหมด จากที่เคยอยู่เกือบ 30% ของใบสมัคร

ทั้งยังเสริมว่า ตอนนี้บริษัทพักการพิจารณาผู้ยื่นขอทำบัตรต่างๆ ที่มาจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบและยังไม่กลับมาดำเนินการตามปกติ อาทิ อุตสาหกรรมสายการบิน หรือการท่องเที่ยวในบางท้องที แต่ย้ำว่า เมื่อสถานการณ์กลับมาป็นปกติ และลูกค้ากลับมามีสลิปเงินเดือนตามปกติ