ไม่พบผลการค้นหา
สมัชชาคนจน เปิดเวทีสัญจรสะท้อนเสียงคนจนถึงปีกการเมือง กรณีความเดือดร้อนจากการขาดการมีส่วนร่วม ในพื้นที่เขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ จี้รัฐปรับปรุงอีไอเอ เปิดรับฟังเสียงชาวบ้าน

"สมัชชาคนจน" เปิดเวทีสะท้อนเสียงผู้ได้รับผลกระทบจากการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นอ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ โดยเชิญตัวแทน 4 พรรคการเมือง ประกอบไปด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชาชาติ ร่วมรับฟังข้อเสนอจากประชาชน โดยนายปัญญา คำราบ นายกสมาคมชุมชนประมงน้ำจืดภาคอีสาน กล่าวถึงปัญหาในพื้นที่ว่า การจัดการบริหารน้ำของรัฐบาลปัจจุบันอาจจะทำให้เกิดการปลุกผี "โขงชีมูล" อีกครั้ง เพราะที่ผ่านมาการจัดทำ EIA ของภาครัฐหลายโครงการนั้น พบว่ามีปัญหาในการขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และที่ผ่านมาหลายรัฐบาลก็ไม่มีการเข้ามาดูแลและสอบถามประชาชนที่เดือดร้อน ซึ่งกลายเป็นคำถามที่ชาวบ้านมีข้อสงสัย

อย่างไรก็ดี ปัญญา และเราไม่เห็นด้วยกับการอ้างมติครม. และทำให้คนที่เดือดร้อนกลายเป็นคนที่ต้องเสียสละ ดังนั้นการจัดทำ EIA ต้องมีการปรับปรุง ไม่ใช่รู้ว่ามีผลกระทบแต่ยังเดินหน้าสร้างต่อ เพราะ 20 ปีที่ผ่านมา พื้นที่รอบเขื่อนราษีไศลก็ไม่มีแนวทางแก้ไข จึงเสนอให้มีการจัดตั้งชลประทานชุมชน โดยรัฐบาลนำข้อเสนอจากชาวบ้านไปสานต่อ เพื่อก่อให้เกิดการใช้วิถีชีวิตแบบผสมผสาน และตอนนี้พวกเรากำลังรอคำตอบและความชัดเจนจากรัฐบาล 

ก่อน นายประดิษฐ์ ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ได้กล่าวเสริมว่า ไม่อยากให้ภาครัฐจำกัดขอบเขตมาก แม้ว่ารัฐบาลจะได้ลงพื้นที่ ก็พบว่าเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ซึ่งตลอดกว่า 20 ปี ที่มีเขื่อนเกิดขึ้นชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก 

"ที่ผ่านมาปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไข คนเฒ่าคนแก่ตายไปกี่คนแล้ว หวังว่ารัฐบาลจะรับฟังเงื่อนไขที่ชาวบ้านเสนอบ้าง" ตัวแทนชาวบ้าน กล่าว

สมัชชาคนจน เขื่อนราษีไศล 190907_0016.jpgสมัชชาคนจน เขื่อนราษีไศล_190907_0004.jpgสมัชชาคนจน เขื่อนราษีไศล_190907_0022.jpg

ขณะที่นางอำพัน จันทะศร แกนนำชาวบ้านในพื้นที่ท้ายเขื่อนราษีไศล ได้เล่าถึงปัญหาว่า อาชีพหลักของชาวบ้านคือการทำนา ภายหลังมีพายุโมดุลชาวบ้านรับผลกระทบน้ำท่วมในไร่นา ข้าวก็ตายกลายเป็นว่าสิ่งที่ทำก็สูญป่าว ทางเขื่อนก็อ้างมีการผันน้ำไม่เป็นไปตามที่ชาวบ้านยื่นเรื่องไป ทุกปีก็จะพบปัญหาที่เรื้อรัง บางกรณีเช่นการปิดช่องระบายน้ำ ชาวบ้านก็ต้องระดมทุนกันเพื่อช่วยกันป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าไร่นา มันถือเป็นการผลักภาระมาให้ชาวบ้าน ในส่วนการช่วยเหลือเยียวยา ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยการอ้างว่าไม่ใช่พื้นที่ประกาศภัยพิบัติ แล้วการลงทุนที่เสียไปก็ส่งผลกระทบต่อการเงินในครอบครัว

"ชาวบ้านหลายคนรู้สึกหดหู่ พื้นที่ของเราคือพื้นที่รับน้ำ แต่ปัญหาน้ำท่วมก็แก้ไม่ได้เป็นมาหลายสิบปี เงินเยียวยาก็ไม่เคยได้ นี่คือสิ่งที่ชาวบ้านเขาอยากส่งเสียงให้ถึงรัฐบาล ไม่ใช่การฟังเสียงแต่หน่วยงานรัฐที่ไม่เคยเข้าใจปัญหา" อำพัน กล่าว

สมัชชาคนจน น้ำ แล้ง เกษตร ศรีสะเกษ  เขื่อนราษีไศล_190907_0020.jpg

อย่างไรก็ทางด้านตัวแทนจากฝ่ายการเมืองทั้งวิปรัฐบาลและฝ่ายค้าน ได้ตอบรับข้อเสนอของชาวบ้าน และจะมีการนำเสนอไปยังที่ประชุมสภาฯ เพื่อยื่นญัตติเพื่อหาทางออกช่วยชาวบ้านจากความเดือดร้อนนี้