ไม่พบผลการค้นหา
นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจพบว่า ประชาชนใช้จ่ายช่วงเทศกาลสงกรานต์น้อยลงกว่าปีก่อน ส่วนใหญ่ใช้จ่ายทำบุญเลี้ยงพระมากที่สุด รองลงมากินเลี้ยงสังสรรค์

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เรื่อง “การใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17 – 19 เมษายน 2562 กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้

  • ทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ พบว่า ร้อยละ 52.52 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 47.48 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 93.91 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 4.72 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 1.37 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ค่ากินเลี้ยงสังสรรค์ (อาหารและเครื่องดื่ม) พบว่า ร้อยละ 50.36 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 49.64 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 83.33 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.77 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 1.90 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ค่าใช้จ่ายในการเล่นสงกรานต์/รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ พบว่า ร้อยละ 32.13 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 67.87 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 92.78 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 6.22 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 1.00 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ค่าเดินทาง/ที่พัก พบว่า ร้อยละ 28.22 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 71.78 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 71.10 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 22.95 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 5.95 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ให้เงินคนในครอบครัว พบว่า ร้อยละ 28.14 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 71.86 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 83.24 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 14.49 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 2.27 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้น���ป
  • ซื้อของ/ช้อปปิ้ง/ดูหนัง/ฟังเพลง พบว่า ร้อยละ 12.55 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 87.45 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 87.27 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 11.46 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 1.27 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ/เจ็บป่วย พบว่า ร้อยละ 1.60 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 87.45 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 65.00 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 20.00 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 15.00 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่างประเทศ พบว่า ร้อยละ 1.04 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 98.96 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยในจำนวนของ ผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย พบว่า ร้อยละ 30.77 ระบุว่า ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 23.08 ระบุว่า 5,001 - 10,000 บาท และร้อยละ 46.15 ระบุว่า มากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป
  • ค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 พบว่า ร้อยละ 19.58 ระบุว่า มีค่าใช้จ่าย และร้อยละ 80.42 ระบุว่า ไม่มีค่าใช้จ่าย ในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ร้อยละ 38.78 ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1,000 บาท ร้อยละ 58.78 ระบุว่า 1,001 – 5,000 บาท ร้อยละ 1.22 ระบุว่า 5,001 – 10,000 บาท และมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน

สำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 เมื่อเทียบกับเทศกาลสงกรานต์ปีที่แล้ว (2561) พบว่า ร้อยละ 39.41 ระบุว่า ใช้จ่ายน้อยลงกว่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 35.33 ระบุว่า ใช้จ่ายเท่าเดิม และร้อยละ 25.26 ระบุว่า ใช้จ่ายมากกว่าเดิม

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงแหล่งเงินที่นำมาใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562 พบว่า ร้อยละ 76.10 ระบุว่า เงินตนเองรองลงมา ร้อยละ 22.86 ระบุว่า เงินจากครอบครัว และร้อยละ 1.04 ระบุว่า เงินจากการกู้ยืม