ไม่พบผลการค้นหา
นอกจากหน้าตาที่สมบูรณ์แบบไร้ที่ติของ พัคแจชาน ในฐานะนักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้ เขาได้ประสบความสำเร็จแค่เพียงภายในกลุ่มแฟนคลับของวง DONGKIZ (DKZ) ที่แจชานเป็นหนึ่งในสมาชิกเท่านั้น โดยอัลบั้มของเขามียอดขายเพียง 1,000 ชุดในสัปดาห์แรกที่ได้มีการวางจำหน่ายตามลำดับ

อีก 1 ในผลงานของเขาคือการออดิชันซีรีส์ Semantic Error หรือ รักนี้ไม่มีตรรกะ ซึ่งเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะทำให้เขามีชื่อเสียงเพราะว่าเป็นงานที่มีความเสี่ยง เนื่องจากมันเป็นซีรีส์ชายรักชาย หรือที่รู้จักกันในนาม ซีรีส์วาย ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ซีรีส์ที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักในประเทศเกาหลีใต้ เพราะเนื้อหาความรักในเพศเดียวกันไม่ค่อยเป็นสิ่งที่ถูกพบเจอได้ในจอโทรทัศน์ของเกาหลีใต้

“จริงๆ ผมก็มีความกังวลอยู่มาก” แจชานให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์กับ CNN โดยเขากล่าวเสริมว่าผู้บริหารค่ายของเขาก็รู้สึกกังวลเช่นกัน แต่ท้ายที่สุดก็สนับสนุนเขา

เนื้อหาสื่อประเภทชายรักชายถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นช่วงทศวรรษที่ 1960 ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "ยา-โอย" โดยทั่วไปแล้ว BL หรือ ซีรีส์วาย จะพูดถึงเรื่องราวของชายสองคนที่มีความสัมพันธ์แบบรักเพศเดียวกัน ทั้งนี้ ซีรีส์เรื่อง “Semantic Error” เป็นนิยายที่โด่งดังบนเว็บไซต์ จากการที่มันเล่าถึงเรื่องราวของนักศึกษาชายสองคนที่ตกหลุมรักกัน ซึ่งแตกต่างจากวรรณกรรม LGBTQ เพราะเรื่องราวส่วนใหญ่เขียนและอ่านโดยผู้หญิง

หลังจากที่ได้ทำการออดิชัน แจชานได้รับบทเป็น ชูซั-อู หนึ่งในตัวแสดงหลักของเรื่อง และความเสี่ยงที่แชจานเลือกไป กลับกลายเป็นผลตอบแทนที่ดีเกินคาด หลังจากซีรีส์เรื่อง Semantic Error กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายเมื่อเปิดตัวในปี 2565 ในเวลาแค่ 2 เดือน ซีรีส์เรื่องนี้มีนอดรับชมมากที่สุดใน Watcha แพลตฟอร์มสตรีมมิงของเกาหลีใต้ แล้วเนื่องจากซีรีส์ได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม มันจึงถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์ และเปิดฉายทุกโรงภาพยนตร์ทั่วกรุงโซล ซึ่งขายตั๋วได้ประมาณ 60,000 ใบ

แจชานได้รับรางวัลมากมายจากการแสดงของเขา นอกจากนี้ เขายังปรากฏตัวในนิตยสารมากกว่าสิบฉบับรวมถึง Elle, Cosmopolitan และ Dazed ฉบับภาษาเกาหลี หลังจากการเปิดตัวของเขาในซีรีส์ อัลบั้มเพลงใหม่ของเขาขายได้มากกว่า 100,000 ชุดในสัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย

“ผมรู้สึกเป็นที่รักอย่างมาก” แจชานกล่าวถึงความโด่งดังที่เขาเพิ่งได้รับ

กระแสตอบรับของผู้ชม

ด้วยความสนใจในซีรีส์ชายรักชาย การลงทุนในเกาหลีใต้ต่อซีรีส์วายตามบริษัทโปรดักชันได้เติบโตขึ้นอย่างคงที่แซงหน้าญี่ปุ่น และขยายตัวไปสู่ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซียในวงกว้าง ทั้งนี้ ซีรีส์วายในไต้หวันและไทยประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าประเทศเกาหลีใต้จะมีทัศนคติอนุรักษ์นิยมต่อปัญหาของ LGBTQ โดยเกาหลีใต้ถูกจัดอยู่ในอันดับประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเพศน้อยที่สุด ท่ามกลางประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) อย่างไรก็ดี เหล่าแฟนคลับของซีรีส์วายยังคงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในโลกออนไลน์

คิมฮโยจิน นักวิชาการผู้วิจัยวัฒนธรรมญี่ปุ่นรวมถึงซีรีส์วาย จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล กล่าวว่า มังงะยาโอยของญี่ปุ่นที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เริ่มหลั่งไหลเข้ามาในประเทศเกาหลีใต้ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน โดยในขณะนั้นมันยังเป็นที่รู้จักไม่มากนัก 

จากนั้นจำนวนผู้อ่านมังงะยาโอยของญี่ปุ่นในเกาหลีใต้เริ่มมีจำนวนมากขึ้น พร้อมกับความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ส่วนตัวในทศวรรษที่ 1990 เมื่อคนปกติสามารถเป็นนักเขียนได้โดยการแต่งนิยายด้วยตัวเองแบบไม่เปิดเผยตัวตนในเกาหลีใต้

เหล่านักเขียนเริ่มจากการแต่งนิยายโดยใช้ศิลปินผู้ชายจากวงที่ตนชื่นชอบที่เพิ่งเป็นที่รู้จักในวงการอุตสาหกรรมเคป๊อป เป็นตัวละครในการดำเนินเรื่อง โดยเรื่องราวของนิยายประเภทนี้ มักจะเกี่ยวกับนักแสดง “ผู้ที่ต้องปกปิด (ชีวิตรัก) จากบริษัทที่ตัวเองสังกัดอยู่ และเหล่าแฟนๆ ของเขา” จองอารึม นักวิจัยวัฒนธรรมเกาหลีระบุ

อย่างไรก็ดี คิมกล่าวเสริมว่า เมื่อเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้อย่าง Naver และ Kakao เปิดตัวแพลตฟอร์มนิยายออนไลน์ของตนในปี 2556 นักเขียนสมัครเล่นรวมถึงผู้เขียนเนื้อหาชายรักชาย สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยการขายนิยายบนเว็บไซต์ได้ในที่สุด 

Tappytoon เป็นแพลตฟอร์มการ์ตูนที่ให้บริการลูกค้าในสหรัฐฯ โดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่มองหาการ์ตูนชายรักชายจากเกาหลีใต้เป็นหลัก มีการกล่าวว่าผู้อ่านการ์ตูนชายรักชายเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าต่อปีตั้งแต่ปี 2559 โดยมีผู้อ่านมากกว่า 800,000 รายเฉพาะในปีที่แล้ว โดยบนเว็บไซต์ มีการ์ตูนชายรักชายมากกว่า 300 เรื่อง หรือ 1 ใน 3 ของบัญชีหนังสือที่มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศส ทั้งนี้ โซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชันอย่าง TikTok มีส่วนทำให้เนื้อหาชายรักชาย เป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศฝั่งตะวันตก เนื่องจากมีวิดีโอและการรวบรวมซีนต่างๆ ของตัวละคร เรื่องราวความรักของตัวละครชายกับชาย ฯลฯ

ความนิยมต่อเนื้อหาชายรักชายเกิดขึ้นครั้งแรกๆ ในเกาหลีใต้ จาซีรีส์ Where Your Eyes Linger ซึ่งเปิดตัวในปี 2563 ทั้งนี้ ความสำเร็จของซีรีส์สตรีมมิ่ง Semantic Error ได้นำซีรีส์ประเภทนี้ไปสู่แนวทางที่ให้ผลกำไร เนื่องจากพวกมันสามารถดึงดูดคนจำนวนมากให้สมัครสมาชิกใหม่กับทาง Watcha โดยปัจจุบันมี แพลตฟอร์มดังกล่าวมีซีรีส์เกี่ยวกับชายรักชายมากกว่า 20 รายการที่ผลิตในเกาหลีใต้

คิมฮเยจอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ Watcha กล่าวโดยอ้างอิงจากผลตอบแทนที่ได้รับที่สูง จากการใช้งบประมาณผลิตซีรีส์ที่ค่อนข้างน้อย ของซีรีส์ชายรักชายว่า ด้วยความภักดีของกลุ่มแฟนๆ ต่อซีรีส์ชายรักชายที่หนักแน่น แน่นแฟ้น และเป็นกระบอกเสียงอย่างมาก ความนิยมดังกล่าวส่งผลให้ซีรีส์ประเภทนี้กลายมาเป็น "การตัดสินใจทางธุรกิจที่ดี" 

“คล้ายกับกลุ่มแฟนคลับไอดอลเคป๊อปมาก (แฟนๆ) พยายามที่จะเพิ่มอันดับรายการโปรดของพวกเขาในชาร์ต (แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่มีคนดูมากที่สุด) โดยที่พวกเขาเปิดสิ่งเหล่านี้ให้ถูกเล่นซ้ำๆ” คิมกล่าวเสริม

เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อซีรีส์ประเภทนี้

หนึ่งในพลวัตของความสัมพันธ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปจากซีรีส์ชายรักชาย คือภาพของผู้ชายผู้มีบุคลิกก้าวร้าว ซึ่งยั่วยวนตัวละครอีกตัวที่มีบุคลิกบอบบางกว่า (บางการกระทำอาจดูคล้ายกับการล่วงละเมิด หรือแม้แต่การทำร้ายร่ายกาย) แต่ท้ายที่สุด ตัวละครทั้งสองกลับเกิดความรู้สึกรักต่อกันและกัน

ทมัส เบาดิเนตต์ นักวิชาการด้านสื่อเกี่ยวกับเพศวิถีที่หลากหลาย (queer) ที่มหาวิทยาลัยแมคควอรี ในซิดนีย์และผู้เชี่ยวชาญในซีรีว์ประเภทนี้ ระบุว่า เนื้อหาชายรักชายอาจดึงดูดผู้หญิงได้มากกว่า เพราะมันมอบ "โลกที่คุณไม่ต้องกังวลกับปัญหาทางการเมือง ของการครอบงำจากชายรักต่างเพศเหนือร่างกายของผู้หญิง เพราะร่างกายของผู้หญิงไม่มีอีกต่อไป (ในซีรีส์ชายรักชาย)"

นักเคลื่อนไหว LGBTQ บางคนกล่าวหาว่า เรื่องราวชายรักชายจากซีรีส์เป็นเรื่องน่าสะอิดสะเอือน และเข้ายึดครองวัฒนธรรมของเกย์ ในขณะเดียวกัน หลายคนในกลุ่มที่ชอบเนื้อหาซีรีส์ชายรักชายระบุว่า จินตนาการก็คือการจิตนการ มันเป็นเรื่องเพียงการเพ้อฝัน ไม่ใช่ภาพจริงของคนกลุ่ม LGBTQ

อย่างไรก็ดี ในประเทศที่การสมรสระหว่างเพศเดียวกันไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมาย และที่ผู้สนับสนุนด้านสิทธิยังคงผลักดันกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของซีรีส์ชายรักชายอาจช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่มากขึ้น

โกแทซอบ นักร้องและนักแสดงซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นศิลปินเคป๊อปที่เป็นเกย์อย่างเปิดเผยคนแรกของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้ชื่อในวงการว่าฮอลแลนด์ ได้รับแสดงซีรีส์ชายรักชายเมื่อปีที่แล้ว และเขาเชื่อว่าการที่หนังสือ ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ชายรักชายเป็นที่รู้จักมากขึ้นนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับฉากร่วมรักที่โจ่งแจ้งในการ์ตูน นิยาย และแฟนฟิคชั่นแล้ว เนื้อหาชายรักชายบนหน้าจอของเกาหลีใต้จนถึงตอนนี้ ให้ความสำคัญกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ หรือความใกล้ชิดมากกว่า

“กลุ่มคน LGBTQ ได้รับการนำเสนอในแง่ลบแค่ในเกาหลีใต้เท่านั้น แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องเพ้อฝัน ความความสัมพันธ์ (เพศเดียวกัน) ในแง่บวกและเป็นธรรมชาติ (เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ของเพศตรงข้าม) ก็ไม่เลว” ฮอลแลนด์กล่าว ทั้งนี้ ฮอลแลนด์กำลังเตรียมตัวสำหรับบทบาทในการแสดงในบทชายรักชายอีกเรื่อง ที่จะเริ่มถ่ายทำในช่วงฤดูร้อน โดยครั้งนี้เขากล่าวว่าเขาได้ช่วยนักเขียนพัฒนาบทพูดที่สมจริงมากขึ้นสำหรับบทของภาพยนตร์

เช่นเดียวกับฮอลแลนด์ คิมกล่าวว่า  LGBTQ มีส่วนร่วมมากขึ้นในการสร้างละครชายรักชาย โดยเธอคาดการณ์ว่าเส้นแบ่งระหว่างชายรักชาย กับสื่อเกี่ยวกับเพศวิถีที่หลากหลาย (queer) จะหายไปในที่สุด

เบาดิเนตต์ ซึ่งระบุว่าตัวเป็นเกย์และเป็นแฟนคลับเรื่องชายรักชายมาอย่างยาวนาน กล่าวว่าซีรีส์ประเภทดังกล่าวจะสร้างความเข้าใจใหม่ ให้กับมุมมองเชิงอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับเพศสภาพและเรื่องเพศในเกาหลีใต้ เขากล่าวเสริมว่าผู้ชมเนื้อหาชายรักชายนั้นมีความหลากหลาย โดยมีผู้ชายจำนวนมากขึ้นที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของฐานแฟนคลับ

“ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงรักต่างเพศ ที่พยายามใส่ความเป็นอิสระทางเพศของคุณเข้าไปในโลก หรือคุณเป็นเกย์ที่ต้องการเห็นการนำเสนอความรักแบบชายรักชายในเชิงบวก ซีรีส์ชายรักชายสามารถทำให้ความต้องการเหล่านั้นของคุณเป็นจริงได้” เขากล่าว "นั่นคือจุดที่ฉันคิดว่ามันจุดเปลี่ยนมากที่สุด"


ที่มา:

https://edition.cnn.com/style/boys-love-south-korea-intl-hnk/index.html