ไม่พบผลการค้นหา
ผู้ใช้เฟซบุ๊ก เผยเอกสารกลาโหมขอข้อมูลตำแหน่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ย้อนหลัง 14 วันของผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ อ้างเพื่อใช้สนับสนุนการควบคุมโรค จึงเกิดคำถามจะมี "ไทยชนะ" ทำไม

เฟซบุ๊กสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความว่า มีบุคคลส่งเอกสารมาให้ เป็นหนังสือจากกระทรวงกลาโหม ถึง กสทช., และหนังสือจากกรมควบคุมโรคถึง กสทช. ขอให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือส่งข้อมูลตำแหน่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ย้อนหลัง 14 วัน ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ รวมถึงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของทุกคนที่เคยอยู่ในบริเวณเดียวกันกับผู้ติดเชื้อเพื่อส่งข้อความแจ้งเตือน และเพื่อดำเนินการสอบสวนโรค โดยอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค ประกอบ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน


1-e3188a58de.jpg2-35e3c4896f.jpg
  • หนังสือจากสำนักนโยบายและแผนกลาโหม ถึง กสทช. เพื่อขอข้อมูลโทรศัทพ์เคลื่อนที่ในการสนับสนุนการควบคุมโรค
4-dc4e0189c1.jpg5-191b1bcb06.jpg6-d54ab5e886.jpg7-c7a54011b7.jpg
  • หนังสือจากกรมควบคุมโรค ถึง กสทช.

ทั้งนี้ สฤณี ได้ตั้งข้อสงสัยไว้ว่า เมื่ออ่านเอกสารทั้งหมดแล้ว ทำให้เกิดคำถามที่อยากฝากไปถึงกระทรวงสาธารณสุข, กสทช., กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กรมควบคุมโรค, และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ว่า

1. กระทรวงกลาโหมเกี่ยวอะไรด้วยกับเรื่องนี้ กระบวนการสอบสวนโรคควรเป็นเรื่องของกรมควบคุมโรคล้วนๆ และหนังสือนี้มีมาตั้งแต่เดือนเม.ย. 2563 แล้ว ทำไมกระทรวงกลาโหม, กสทช., กรมควบคุมโรค ถึงไม่เคยเปิดเผยกระบวนการนี้ให้ประชาชนรับรู้เลย ทั้งที่จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคล?

2. หนังสือทั้งสองฉบับออกตั้งแต่เดือน เม.ย. 2563 ก่อนวันเปิดตัวโครงการ "ไทยชนะ" เกือบหนึ่งเดือน เกิดคำถามทันทีว่าแล้วทำไมต้องมีโครงการ "ไทยชนะ" อีก ในเมื่อข้อมูลเบอร์และสัญญาณมือถือที่ขอตามหนังสือนี้ก็มากเกินพอแล้วต่อการสอบสวนโรค (แถมละเอียดและครอบคลุมกว่าข้อมูล QR code ที่ได้จาก "ไทยชนะ" หลายเท่า)

เชื่อว่าจนถึงวันนี้คนไทยทั้งประเทศไม่รู้เลยว่ามีกระบวนการนี้อยู่ นึกว่ามีแต่ "ไทยชนะ" เท่านั้นที่เป็นการใช้ข้อมูลมือถือช่วยกระบวนการสอบสวนโรค (และอย่าลืมว่า สามสัปดาห์ผ่านไป "ไทยชนะ" ก็ไม่ได้โปร่งใสแม้แต่น้อย เรายังคงไม่รู้ว่าใครใช้ข้อมูลเหล่านั้นบ้างและเอาไปทำอะไรบ้าง)

3. วันนี้บริษัทมือถือทั้งสามเจ้ามีการส่งข้อมูลให้กรมควบคุมโรคทุกวัน ตามขั้นตอนที่ระบุในหนังสือนี้แล้วหรือไม่ การส่งข้อมูลเป็นไปตามระบบและนโยบายการคุ้มครองข้อมูล (data governance) ขององค์กรหรือไม่ (ที่ผู้ให้บริการทุกเจ้าได้ปรับปรุงแล้วเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)