ไม่พบผลการค้นหา
นิตยสารไทม์เผยรายชื่อ 100 ผู้ทรงอิทธิพลประจำปีนี้ "ไม่มีคนไทย" หลังจากที่ปีแล้วมี 'ธนาธร-ลิซ่า แบล็กพิงก์-กชกร วรอาคม' ติดโผ แต่ปีนี้มีบุคลากรสาธารณสุขเพียบ เหตุเพราะโควิด-19 รวมถึงนักกิจกรรมฮ่องกงผู้สนับสนุนประชาธิปไตย 'นาธาน เหลา' และ 'บงจุนโฮ' ผู้กำกับภาพยนตร์ Parasite

รายชื่อ 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลทั่วโลก (The 100 Most Influential People) ของนิตยสารไทม์ปีนี้ ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 ก.ย.2563 โดยไทม์ระบุว่าเป็นการรวบรวมบุคคลที่มีผลงานหรือความเคลื่อนไหวในแง่มุมต่างๆ ที่ส่งผลสะเทือนหรือมีอิทธิพลต่อคนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ

ส่วนการจัดกลุ่มผู้ทรงอิทธิพล แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ นักบุกเบิก ศิลปิน ผู้นำ นักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่ และไอคอนผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เคลื่อนไหวในแวดวงต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีชื่อติดโผ 100 บุคคลทรงอิทธิพลในปีนี้เป็นภาพสะท้อนสถานการณ์โลกที่ต้องเผชิญกับทั้งโรคระบาดอุบัติใหม่อย่างโรคโควิด-19 การชุมนุมประท้วงด้านสิทธิมนุษยชน-ประชาธิปไตย และกลุ่มสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ

บุคคลที่คนไทยอาจจะคุ้นชื่อกันดี ได้แก่ 'แอนโทนี เฟาชี' ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้แสดงความคิดเห็นด้านสาธารณสุขขัดแย้งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเป็นผู้เตือนให้ชาวอเมริกันป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 'ผู้นำ'

ขณะที่ 'สือเจิ้งลี่' นักวิทยาภูมิคุ้มกันหญิงแห่งสถาบันอู่ฮั่นของจีน บุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในการให้ความรู้แก่สังคมกรณีไวรัสโคโรนา 2019 ติดอยู่ในกลุ่ม 'นักบุกเบิก' เช่นเดียวกับ 'ชิโอริ อิโตะ' อดีตผู้สื่อข่าวหญิงชาวญี่ปุ่นที่ไม่ยอมเงียบเสียงหลังถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน และเดินหน้าฟ้องร้องผู้ก่อเหตุ จนถูกยกให้เป็นผู้บุกเบิกการต่อต้านการคุกคามทางเพศ #MeToo ในสังคมที่มีความเป็นอนุรักษนิยมและมีแนวคิดชายเป็นใหญ่

https://api.time.com/wp-content/uploads/2020/09/T100coversGRID.FINAL_.jpg

บุคคลที่คนไทยอาจจะคุ้นชื่อกันดี ได้แก่ 'แอนโทนี เฟาชี' ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้แสดงความคิดเห็นด้านสาธารณสุขขัดแย้งกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเป็นผู้เตือนให้ชาวอเมริกันป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19 จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 'ผู้นำ'

ขณะที่ 'สือเจิ้งลี่' นักวิทยาภูมิคุ้มกันหญิงแห่งสถาบันอู่ฮั่นของจีน บุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในการให้ความรู้แก่สังคมกรณีไวรัสโคโรนา 2019 ติดอยู่ในกลุ่ม 'นักบุกเบิก' เช่นเดียวกับ 'ชิโอริ อิโตะ' อดีตผู้สื่อข่าวหญิงชาวญี่ปุ่นที่ไม่ยอมเงียบเสียงหลังถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน และเดินหน้าฟ้องร้องผู้ก่อเหตุ จนถูกยกให้เป็นผู้บุกเบิกการต่อต้านการคุกคามทางเพศ #MeToo ในสังคมที่มีความเป็นอนุรักษนิยมและมีแนวคิดชายเป็นใหญ่

ส่วน 'นาธาน เหลา' หนึ่งในแกนนำนักศึกษาฮ่องกงที่เรียกร้องการปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตย ซึ่งผันตัวไปเป็นผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองและเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติที่อายุน้อยสุดของฮ่องกงเมื่อปี 2559 เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลกลุ่ม 'นักบุกเบิก' ด้วยเช่นกัน

ส่วนบุคลากรการแพทย์อีกคนที่ไทม์ยกย่องในกลุ่ม 'ไอคอน' คือ 'เอมี โอซัลลิแวน' พยาบาลชาวอเมริกันซึ่งเป็นคนแรกที่รักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในสหรัฐฯ จนตัวเองเป็นหนึ่งในผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทั้งยังรวมถึง 'อลิเชีย การ์ซา, โอปอล โทเมตติ และแพทริซ คัลเลอร์' 3 ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Black Lives Matter ที่รณรงค์ด้านสิทธิชาวแอฟริกันอเมริกัน และเรียกร้องความเป็นธรรมแก่ 'จอร์จ ฟลอยด์' ผู้เสียชีวิตขณะถูกตำรวจคุมตัว

นอกจากนี้ยังมี 'ลินา อัตตาลาห์' บรรณาธิการหญิงของ Mada Masr สื่ออียิปต์ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอียิปต์ชุดปัจจุบันที่สืบทอดอำนาจมาจากคณะรัฐประหารเมื่อปี 2556

ขณะที่ผู้ทรงอิทธิพลในกลุ่ม 'ศิลปิน' มีคนดังอย่าง 'เซเลนา โกเมซ' 'ฮาลซีย์' นักร้องหญิงชื่อดังชาวอเมริกัน และ 'ไมเคิล จอร์แดน' อดีตนักบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอของสหรัฐฯ ที่มีผลงานสารคดีอัตชีวประวัติออกมาไม่นานมานี้ รวมถึง 'บงจุนโฮ' ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้ที่สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นชาวเกาหลีคนแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากผลงานเรื่อง Parasite

ไช่อิงเหวิน.jpg

ส่วนผู้ทรงอิทธิพลในกลุ่ม 'ผู้นำ' ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองการปกครองทั่วโลก มีทั้ง 'อังเกลา แมร์เคล' นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ที่ติดโผนี้มานานติดต่อกันหลายปี 'โดนัลด์ ทรัมป์' ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 'สีจิ้นผิง' ประธานาธิบดีจีน และ 'ไช่อิงเหวิน' ประธานาธิบดีไต้หวัน ผู้สนับสนุนแนวคิดอิสรภาพไต้หวัน ซึ่งได้รับเลือกกลับมาดำรงตำแหน่งต่ออีกสมัย ทั้งยังได้รับความนิยมสูงขึ้นจากการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดี

นอกจากนี้ยังมีผู้ทรงอิทธิพลในกลุ่ม 'นักธุรกิจใหญ่' มีชื่อที่คนทั่วโลกคุ้นเคยดี คือ 'ซุนดาร์ พิชัย' ผู้บริหารกูเกิลคนปัจจุบัน 'อีริก หยวน' ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร Zoom โปรแกรมสนทนาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงที่หลายประเทศออกมาตรการล็อกดาวน์ควบคุมการเดินทางและสนับสนุนการทำงานจากบ้าน รวมถึง 'ลิซ่า นิชิมูระ' ผู้กำกับสารคดีและนักแสดงตลกที่มีชื่อเสียงจากผลงานที่เผยแพร่ผ่าน Netflix

อย่างไรก็ดี ปีนี้ไม่มีคนไทยติดในรายชื่อ 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพล แต่ปี 2562 ที่ผ่านมา มีผู้ติดอันดับ 3 คนด้วยกัน คือ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้น ติดอันดับในกลุ่มผู้นำ, วงแบล็กพิงค์ (Blackpink) เกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีซึ่งมี ลิซ่า - ลลิษา มโนบาล เป็นสมาชิก ติดอันดับในหมวดปรากฏการณ์ และ กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกผู้ใช้การออกแบบรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ติดอันดับในหมวดนวัตกร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: