ไม่พบผลการค้นหา
นักวิจัยจากประเทศอิสราเอล ได้ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดช่วยเหลือหนูที่เป็นอัมพาตให้สามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง ซึ่งในอนาคตจะนำไปพัฒนาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตต่อไป


นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีเทคเนี่ยนประเทศอิสราเอล และ มหาวิทยาลัย เทลอาวีฟ อิสราเอล ได้ประสบความสำเร็จในการร่วมกันรักษาหนูตัวหนึ่งที่เป็นอัมพาตให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง


โดยหนูตัวนี้มีปัญหาเรื่องเส้นประสาทไขสันหลังบาดเจ็บทำให้มันกลายเป็รอัมพาต และไม่สามารถเดินได้ แต่ทางนักวิจัยได้นำเอาสเตมเซลล์ที่อยู่ในปากของมนุษย์ ไปใส่ในโครงฟองน้ำที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ แล้วใส่เข้าไปในบริเวณไขสันหลังของหนูที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อสร้างเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ต่างๆที่เสียไป ให้กลับมาเชื่อมโยงกันได้อีกครั้ง และทำให้สารจากสมองเข้าถึงส่วนที่้เหลือของร่างกายเพื่อสั่งการเคลื่อนไหวได้ 


ด้าน ชูรามิท เลเวนเบิร์ก คณะบดี คณะวิศวรรมชีวเวช ของศูยน์เทคโนโลยีเทคเนี่ยน มหาวิทยาลัยนานาชาติอิสราเอล กล่าวว่า มันน่าทึ่งมากที่ได้เห็นสัตว์เหล่านี้เริ่มเดินได้ หลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากนั้นก็เริ่มเดินได้เหมือนปกติ


 การวิจัยในครั้งนี้ได้ดำเนินการตามคำขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิโรคไขสันหลังของประเทศอิสราเอล ที่พยายามแก้ไขปัญหาความเสียกายทางร่างกานฃยที่ไม่สามารถรักษาได้ โดยเฉพาะการเป็นอัมพาตจากโรคไขสันหลัง ที่ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยกว่า 17,000 ราย เผชิญโรคนี้ทุกปี แม้จะมีการปลูกถ่ายเส้นประสาท หรือฟื้นฟูสมรรถภาพอื่น แต่การผฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ของไขสันหลัง ก็ยังไม่สามารถทำได้ในมนุษย์ 


อย่างไรก็ตามทางทีมนักวิจัยตั้งเป้าว่าจะนำวิธีนี้ไปทดลองทางคลีนิกกับมนุษย์เพิ่มเติม เนื่องจากตอนนี้ยังไม่ทราบว่ามันจะได้ผลดีต่อมนุษย์หรือไม่ เนื่องจากวิธีการนี้คือการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากมนุษย์ นำไปปลูกถ่ายด้วยวัสดุชีวภาพ และใส่เข้าไปในไขสันหลัง แต่ร้อยละ40 ของสัตว์ทดลองจะได้รักการรักษาและฟื้นตัวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะทางประสาทสัมผัส แต่บางตัวก็ไม่ตอบสนองต่อการรักษา 


ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ในปี 2012 ได้มีการทดลองจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสมาพันธรัฐสวิส ที่สามารถฟื้นฟูหนูที่โดนตัดไขสันหลังออกจากกัน จนทำให้เกิดแรงบันดาลใจและความรู้ใหม่ว่า สมองกับขาของมันของหนู แม้จะไม่สามารถติดต่อถึงกันได้ แต่กลับเคลื่อนไหว โดยวิธีการฟื้นฟูในครั้งนั้นทำโดยฉีดสารเคมี และใช้กระแสไฟฟ้าร่วมด้วยเข้าไปกระตุ้นประสาทในไขสันหลัง


(ภาพไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าว)