ไม่พบผลการค้นหา
"หากเราไม่ซื้อเรือดำน้ำเพิ่มสองลำ...จะแจกทุนการศึกษาให้เด็กยากจนทุนละ 5,000 บาทจำนวน 4.5 ล้านคน"

อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังและ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มาตรการขยายล็อกดาวน์ ปิดกิจกรรมเพิ่มเติม เพิ่มจังหวัดและล็อกดาวน์ยาวนานขึ้นจะได้ผลน้อยมาก อัตราการเสียชีวิตอาจจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องพร้อมตัวเลขการติดเชื้อสูงขึ้น

มาตรการขยายล็อกดาวน์จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็ต่อเมื่อมีการดำเนินการคู่ขนานกับมาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุกในครัวเรือน ชุมชนและโรงงานและเร่งฉีดวัคซีน mRNA ควบคุมการลักลอบเข้าประเทศผิดกฎหมายและชะลอการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศในพื้นที่เสี่ยงคู่ขนานไปด้วยอย่างเต็มที่ ตลอดจนชดเชยรายได้และผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการอย่างเต็มที่


หยุดซื้ออาวุธ

อนุสรณ์ อธิบายว่าการขยายล็อกดาวน์จะได้ผลมากขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐบาลตัดสินใจปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายในงบประมาณใหม่ ด้วยการเลื่อนการจัดซื้ออาวุธทั้งหมด นำเงินมาใช้ในงบสาธารณสุข การตรวจโรคเชิงรุกและกักกันกลุ่มเสี่ยง การจัดซื้อวัคซีน การเตรียมรับมือกับการล่มสลายของระบบสาธารณสุข และชดเชยรายได้ให้ประชาชนและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ

"หากเราไม่ซื้อเรือดำน้ำเพิ่มสองลำ...
จะแจกทุนการศึกษาให้เด็กยากจนทุนละ 5,000 บาทจำนวน 4.5 ล้านคน
ฉีดวัคซีนฟรีให้ประชาชนอย่างต่ำ 123 ล้านโดส
หรือ ซื้อเครื่องตรวจแจกฟรีให้ประชาชนได้ 64 ล้านคน
หรือ ซื้อเครื่องวัดออกซิเจนได้ 22 ล้านเครื่อง
หรือ ชุด PPE ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ 150 ล้านชุด"

การบริหารและการกระจายวัคซีนต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน หากไม่ยึดผลประโยชน์ของสาธารณสุขและสาธารณชนแล้ว การจัดหา การบริหารและการกระจายวัคซีนก็จะบิดเบี้ยว บิดเบือนไปจากหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม วิกฤติในหลายๆด้านจะติดตามมาอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้


การตัดสินใจที่พลาดที่สุด

รัฐบาลไทยปฏิเสธไม่เข้าโครงการ โคแวกซ์ (Covax) ขององค์การอนามัยโลกและพันธมิตรเป็นการตัดสินใจที่ผิดผลาดที่สุดเรื่องการจัดหาวัคซีน นอกจากประเทศต้องสิ้นเปลืองงบประมาณเพิ่มเติมอีกจำนวนมากแล้ว ยังเกิดข้อสงสัยว่า Covax หาประโยชน์เงินทอนไม่ได้หรือไม่เพราะเป็นวัคซีนบริจาค เกิดข้อสงสัยว่าการจัดสรรงบประมาณซื้อวัคซีนคุณภาพต่ำหาเงินทอนได้จากการดำเนินการหรือไม่

ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนล้วนได้วัคซีนจากโครงการ Covax ขององค์การอนามัยโลกไปแล้ว ปลายปีนี้ โครงการ Covax ขององค์กรอนามัยและพันธมิตรจะจัดวัคซีนไปทั่วโลกให้ได้ 2,000 ล้านโดส แต่ประเทศไทยจะไม่ได้สักโดสเดียวจากโครงการนี้เพราะเราตัดสินใจไม่เข้าร่วม

อนุสรณ์ ระบุว่ารัฐบาล ภาคธุรกิจและครัวเรือนควรเตรียมเม็ดเงินสำหรับสถานการณ์ที่ประเทศต้องล็อกดาวน์เป็นระยะๆ ไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี การใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหมดควรเลื่อนออกไปก่อนโดยเฉพาะการซื้อเรือดำน้ำอีกสองลำเนื่องจากไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนแต่ประการใด

องค์การอนามัยโลกและโครงการโคแวกซ์ (Covax) ต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการฉีดวัคซีนให้ประชากรโลกได้ 70% จากประชากรโลกที่มีอยู่ราว 7,800 ล้านคนอันนำมาสู่ภูมิคุ้มกันหมู่จึงสามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ได้อย่างเบ็ดเสร็จ


วิธีแก้ปัญหา

วิธีที่จะแก้ปัญหาการเลื่อนการฉีดวัคซีน คือ รัฐบาลใช้ กฎหมายความมั่นคงทางวัคซีนเพื่อจำกัดจำนวนการส่งออก “แอสตร้าเซเนก้า” เพื่อนำมาใช้ในประเทศก่อน เนื่องจากบริษัทแอสตร้าเซเนก้ามีโรงงานผลิตอยู่ในดินแดนประเทศไทย และ รัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์ในการบังคับใช้กฎหมาย

บริษัทต้องส่งมอบวัคซีนตามความต้องการของรัฐไทยเพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิตของคนไทย หากบริษัทเห็นว่า การปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายวัคซีนสำคัญกว่าชีวิตคนไทย รัฐบาลสามารถใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงทางวัคซีนเพื่อกำหนดสัดส่วนการส่งออกได้เฉพาะที่เกิน 6 ล้านโดส เพื่อประเทศไทยจะได้มีวัคซีนใช้อย่างน้อย 6 ล้านโดสต่อเดือน

อนุสรณ์ ระบุว่า แต่การตัดสินใจนี้จะอยู่ที่ นายกรัฐมนตรีผู้เดียว เดิมเป็นอำนาจของรัฐมนตรีสาธารณสุข เนื่องจากมีการออกพระราชกฤษฎีกาโอนอำนาจให้นายกรัฐมนตรี ประเด็นนี้ นักกฎหมายมหาชนอย่าง ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ได้ให้ความเห็นแล้วสามารถทำได้ตาม มาตรา 18 (2) แห่งพระราชบัญญัติความมั่นคงทางวัคซีน ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีสาธารณสุข (ตอนนี้โอนอำนาจให้นายกรัฐมนตรี) กำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนไปนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อให้เราจะได้มีวัคซีนเพียงพอใช้ใน.