ไม่พบผลการค้นหา
ศาลสูงของเยอรมนีอนุญาตให้ผู้ผลิตอาหารสามารถฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้ได้อย่างถูกกฎหมาย และสามารถทำลายไข่ที่ไม่ต้องการได้ หลังจากมีข้อพิพากเรื่องสิทธิการฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้ก่อนหน้านี้

ศาลปกครองกลางของเยอรมนีมีคำสั่งอนุญาตให้โรงเพาะเลี้ยงไก่ สามารถฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้ได้อย่างถูกกฎหมาย เนื่องจากพวกมันไม่สามารถผลิตไข่และมีสภาพไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตเพื่อไปเป็นอาหาร ทั้งนี้เมื่อปี 2556 ศาลเยอรมันมีคำสั่งห้ามโรงเลี้ยงฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้เหล่านี้

'จูเลีย คล็อคเนอร์' รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของเยอรมนี กล่าวว่า "กฎหมายดังกล่าวนี้ไม่สามารถยอมรับได้ในเชิงศีลธรรมและเรียกร้องให้มีการแบนกฎหมายฉบับนี้"

กฎหมายอนุญาตฆ่าลูกเจี๊ยบดังกล่าวนี้ ทำให้ในแต่ละปีจะมีลูกเจี๊ยบเพศผู้ในเยอรมนีถูกฆ่าตายปีละกว่า 43 ล้านตัว 

อย่างไรก็ตาม ในเยอรมนีมีกฎหมายคุ้มครองชีวิตสัตว์ ซึ่งมีข้อหนึ่งระบุว่า ห้ามกระทำความเจ็บปวดต่อสัตว์ หรือทรมานสัตว์ หรือทำร้ายสัตว์ โดยปราศจากเหตุผลที่สมควร

ขณะที่ เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (13 มิ.ย.) ศาลสูงของเมืองไลพ์ซิชยืนยันว่าการฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จนกว่าจะมีวิธีการการกำหนดเพศในไข่ตามทฤษฎีใหม่มาใช้แทนวิธีการฆ่าลูกเจี๊ยบนี้

การฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้ เป็นสิ่งที่กระทำกันเป็นปกติในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทั่วโลก เนื่องจากไก่ตัวผู้นั้นไม่เป็นที่นิยมในการบริโภค เพราะพวกมันมีอัตราการเจริญเติบโตช้า และมีเนื้อที่ไม่เหมาะจะนำไปบริโภค ส่งผลให้ในแต่ละปี ทั่วโลกจะมีลูกเจี๊ยบเพศผู้ถูกฆ่าประมาณ 6,000 ล้านตัว ซึ่งผู้ผลิตจะฆ่าลูกเจี๊ยบเพศผู้ทันทีหลังจากที่พวกมันฟักออกจากไข่ 

ที่มา BBC / CNBC