ไม่พบผลการค้นหา
อันตรายจากการเป่านกหวีด หากได้รับเสียงดังของนกหวีดเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หูตึง ก่อนวัยอันควร และการใช้เสียงนกหวีดโดยไม่จำเป็น อาจมีความผิดตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2000 บาท หรือ

อันตรายจากการเป่านกหวีด หากได้รับเสียงดังของนกหวีดเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หูตึง ก่อนวัยอันควรและการใช้เสียงนกหวีดโดยไม่จำเป็น มีความผิดตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 

เมื่อวันที่ 25ตุลาคม พ.ศ.2545 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานข่าวสารมลพิษผ่านทางเว็บไซต์ ฉบับที่ 17/2545 เรื่อง อันตราย จากเสียงนกหวีด ระบุ เสียงดังจากนกหวีดเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เนื่องจากมีความดังถึง 120 เดซิเบล เอ ซึ่งเทียบเท่ากับระดับเสียงของเครื่องบินโดยสารไอพ่น และมีความดังประมาณ 100 เดซิเบล เอ เมื่อยืนห่างออกไป 1 เมตรหากได้รับเสียงดังของนกหวีดเป็นเวลานานๆอาจก่อให้เกิดอาการหูตึง ก่อนวัยอันควร และการใช้เสียงนกหวีดโดยไม่จำเป็น อาจมีความผิดตามกฎหมายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับรายละเอียดดังนี้

มลพิษทางเสียง เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ทั้งส่วนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยิน คือการสูญเสียการได้ยินหรือทำให้ระดับการได้ยินลดลง และส่วนที่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น รบกวนการนอน การทำงาน และการสนทนา


แหล่งกำเนิดเสียงในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินมาจากิจกรรมหลากหลายประเภท บางกิจกรรมที่มีเสียงเกิดอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และประชาชนสัมผัสเสียงนั้นๆ เป็นระยะเวลาหลายปี เช่น เสียงจากการจราจร , ส่วนกิจกรรมสันทนาการในช่วงเทศกาล เช่น การจุดพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ประชาชนที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดเสียงและเกิดเสียงดังเกินขีดจำกัดของการรับเสียงของหู จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินอย่างเฉียบพลันได้เช่นกัน


เสียงดังจากนกหวีดเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เนื่องจากมีความดังถึง 120 เดซิเบล เอ ซึ่งเทียบเท่ากับระดับเสียงของเครื่องบินโดยสารไอพ่น และมีความดังประมาณ 100 เดซิเบล เอ เมื่อยืนห่างออกไป 1 เมตร และมีความดังประมาณ 95 เดซิเบล เอ เมื่อห่างออกไป 10 เมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับมาตรฐานระดับเสียงในสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล และค่าที่ได้รับฟัง ขณะใดขณะหนึ่งที่อาจมีผลต่อการได้ยินอย่างเฉียบพลัน เป็นระดับสูงสุดไม่เกิน 115 เดซิเบล เอ ดังนั้นหากได้รับเสียงดังของนกหวีดเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพที่จำเป็นต้องเป่านกหวีด หูตึง ก่อนวัยอันควรได้ การใช้เสียงนกหวีด อาจมีความผิดตามกฎหมาย โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้เป็นสัญญาณจราจรตามริมท้องถนน เนื่องจากกฎหมายจราจรกำหนดให้เฉพาะตำรวจ หรืออาสาจราจรที่ผ่านการอบรมแล้วเท่านั้นจึงจะทำสัญญาณจราจรได้ ซึ่งการใช้เสียงนกหวีดก็เป็นสัญญาณจราจรอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้เสียงนกหวีดโดยไม่จำเป็น แต่หากมีความจำเป็นควรเปลี่ยนไปใช้สัญญาณอื่นแทน เช่น การโบกธง การใช้สัญญาณมือ การใช้เครื่องหมาย หรือสัญญาณไฟฟ้าและต้องไม่ใช้ริมเส้นทางจราจร หากไม่เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองและมีการนำนกหวีดมาเป่าในที่ชุมนุม รวมทั้งเป่าขับไล่บุคคลอื่นๆ  ตามที่เป็นข่าว ทำให้ นายธาริต เพ็งษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ได้ออกบันทึกข้อความถึงเจ้าหน้าที่ ข้าราชการ และหน่วยงานในสังกัดทราบ หากถูกผู้ชุมนุมเป่านกหวีดใส่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตามที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยได้ปลุกระดมและยุยงให้ผู้คนกระทำต่อข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ทุกคน หากพบเห็นให้เป่านกหวีดขับไล่ทันทีนั้น

 
อสพ.ขอให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่นั้นๆ ถ่ายรูปเก็บภาพไว้เป็นหลักฐานทันที(โดยอาจใช้โทรศัพท์มือถือ) แล้วรายงานเพื่อจะได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับคนที่เป่านกหวีดขับไล้ทุกราย โดยไม่ละเว้น เพราะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อนต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท และมาตรา 397 ผู้ใดในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลกระทำ ด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นหรือกระทำให้ผู้อื่น ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนั้น จะได้ส่งเรื่องร้องขอให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันทีไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานเอกชนก็ตาม


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog