วันนี้ หลายพื้นที่ในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากอิทธิของพายุดีเปรสชั่นนารี ทำให้เกิดฝนตกตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ต่อเนื่องมาจนช่วงเช้าวันนี้ ส่งผลให้การจราจรหลายเส้นทางติดขัด จนหลายคนตั้งฉายาว่า ‘พายุนา
วันนี้ หลายพื้นที่ในประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากอิทธิของพายุดีเปรสชั่นนารี ทำให้เกิดฝนตกตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ต่อเนื่องมาจนช่วงเช้าวันนี้ ส่งผลให้การจราจรหลายเส้นทางติดขัด จนหลายคนตั้งฉายาว่า 'พายุนารีพิฆาต' แต่ทราบหรือไม่ว่า พายุดีเปรสชั่นนารี ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร ?
พายุหมุนเขตร้อน (TROPICAL CYCLONE) คือคำทั่วไปที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเล หรือ มหาสมุทรในเขตร้อน บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาพที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง ในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่ ประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก มีลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนซีกโลกใต้ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางเดียวกับเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด
พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันตามบริเวณที่เกิดขึ้น เช่น ในอ่าวเบงกอล และในมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน"
(CYCLONE) ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกและทางด้านทะเลฝั่งตะวันตกของเม็กซิโกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" (HURRICANE) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกกับมหาสมุทรแปซิฟิกใต้และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น"(TYPHOON)
การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเป็นรายชื่อพายุที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ โดยมีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ร่วมกันเสนอบัญชีรายชื่อพายุ 140 ชื่อ นำมาแบ่งเป็น 5 ชุดหลัก ชุดละ 28 ชื่อ โดยไล่เรียงชื่อไปตามลำดับประเทศ (และดินแดน) ที่เสนอมาตามอักษรโรมัน ข้อตกลงคือ
1.เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (กลายเป็นพายุโซนร้อน) พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
2.ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ชื่อบนสุดของชุดที่ 1 ก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 เป็นลูกแรก พายุลูกนั้นจะมีชื่อว่า "ดอมเรย"
3.เมื่อมีพายุลูกต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1 พายุลูกนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในชุดที่ 1 เช่น พายุลูกที่ 2 จะมีชื่อว่า "ไห่คุ้ย"
4.เมื่อใช้จนหมดชุดแรกให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "จ่ามี" จะใช้ชื่อ "กองเรย"
5.เมื่อใช้จนหมดชุดที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของชุดที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "ซาวลา" จะใช้ชื่อ "ดอมเรย"
6.หากพายุลูกใดมีความรุนแรงและสร้างความหายนะมากเป็นพิเศษก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้น แล้วตั้งชื่อใหม่เข้าไปในรายการชื่อแทน