ไม่พบผลการค้นหา
"ชีวิตผู้ชายเริ่มต้นเมื่ออายุ 40" เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง ทุกคนก็ยอมรับว่าเมื่อเลยวัยทีน หรือวัยที่มีเลข 1 นำหน้า คุณก็จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว
เรื่องความแก่และการโตเป็นผู้ใหญ่เป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร เด็กก็อยากจะโตเร็วๆ ส่วนผู้ใหญ่ก็ไม่ยอมแก่ จนเป็นที่มาของคำพูดฮิตอย่างเช่น "ชีวิตผู้ชายเริ่มต้นเมื่ออายุ 40" เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง ทุกคนก็ยอมรับว่าเมื่อเลยวัยทีน หรือวัยที่มีเลข 1 นำหน้า คุณก็จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว และเมื่อถึงเลข 3 คุณผู้หญิงหลายๆ คนก็จะเริ่มกลัวแก่กันแล้ว
 
สำหรับวงการแพทย์ ตำราจิตวิทยาระบุว่าอายุที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว คือวัย 18 ปี ซึ่งหลายๆ คนก็คงจะเห็นด้วย เพราะวัยนี้เป็นช่วงจบ ม.ปลาย เข้ามหาวิทยาลัย ชีวิตจะเติบโต มีภาระมากขึ้น ส่วนในทางกฎหมาย คุณก็จะสามารถเลือกตั้งได้ ทำใบัขบขี่ได้ และจดทะเบียนสมรสได้
 
แต่ล่าสุด มหาวิทยาลัยแมสซาชูเสตต์ของสหรัฐฯ เผยแพร่ผลงานวิจัยที่ระบุว่า ตำราจิตวิทยาจะต้องเปลี่ยนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอายุใหม่ เพราะอายุ 18 ปี ไม่ใช่ช่วงวัยที่เหมาะสมในการตัดสินว่าบุคคลหนึ่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว แต่เป็นวัย 25 ปีต่างหาก
 
เหตุผลแรกที่มาสนับสนุนงานวิจัยนี้เป็นเหตุผลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทีมผู้วิจัยพบว่าสมองคนเราไม่ได้หยุดพัฒนาเมื่ออายุเลย 18 ปี แต่ยังพัฒนามาได้เรื่อยๆ จนถึงวัย 20 ต้นๆ เรียกว่าตราบใดที่ร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ คุณก็ยังไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มผู้ใหญ่โตเต็มวัยได้
 
ส่วนเหตุผลในด้านสังคมก็มีเหมือนกัน นักจิตวิทยาและจิตแพทย์เด็กจำนวนมากยอมรับว่าขอบเขตการทำงานของพวกเขายังไม่สามารถหยุดอยู่ที่คนไข้อายุ 18 ปีได้ เพราะเด็ก 18 ส่วนใหญ่ยังไม่มีความมั่นคงทั้งทางจิตใจและทางกายภาพเพียงพอ ยังต้องการที่ปรึกษา และผู้ช่วยดูแลจัดการชีวิต การกินการอยู่ เรียกง่ายๆว่าการที่พ่อแม่ตัดสินว่าเด็กอายุ 18 เป็นผู้ใหญ่แล้ว อาจกลายเป็นการปล่อยมือจากลูกเร็วเกินไป จนส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้
 
การเสนอทฤษฎีใหม่นี้ ไม่ได้ส่งผลในแวดวงการแพทย์เท่านั้น แต่ยังอาจจะทำให้มีการตั้งคำถามถึงการออกกฎหมายหลายๆ อย่าง ที่ใช้เกณฑ์อายุเป็นสำคัญ ไม่ว่าการอนุญาตดื่มสุรา ทำใบขับขี่ จดทะเบียนสมรส หรือแม้แต่การพกอาวุธปืน และการผ่อนผันโทษให้กับเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย คงต้องดูว่าจะมีประเทศใดเชื่อถือทฤษฎีใหม่นี้จนนำไปสู่การแก้กฎหมายหรือไม่
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog