voice outing พาคุณผู้ชมไปชม ตะเกียงเจ้าพายุ ที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งพิพิธภัณฑ์นี้ มีตะเกียงเจ้าพายุมากกว่า หนึ่งหมื่นดวง ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ตะเกียงใหญ่ที่สุดในอาเซียนอีกด้วย ติดตามในช่วง voice outing
Voice Outing ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2556
voice outing พาคุณผู้ชมไปชม ตะเกียงเจ้าพายุ ที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งพิพิธภัณฑ์นี้ มีตะเกียงเจ้าพายุมากกว่า หนึ่งหมื่นดวง ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ตะเกียงใหญ่ที่สุดในอาเซียนอีกด้วย ติดตามในช่วง voice outing
หลังจากที่เดินชมของใช้โบราณ ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ก็สังเกตเห็นตะเกียงเจ้าพายุกว่าหมื่นดวง สอบถามจากพี่อั๋น ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ ทราบว่า ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่รวบรวมตะเกียงเจ้าพายุใหญ่ที่สุดในอาเซียน
ในปัจจุบัน ตะเกียงเจ้าพายุ มีให้เห็นไม่มากนัก โดยประวัติของตะเกียงชนิดนี้ เกิดขึ้นปลายปี 2438 และกลายมาเป็นอุปกรณ์ประจำทุกบ้านในช่วง 2473 - 2493 และแสงตะเกียงเจ้าพายุทั้งหลาย ก็ค่อยๆดับลงทีละดวง เมื่อมนุษย์หันไปพึ่งพาแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าแทน ทำให้ตะเกียงเจ้าพายุ ที่ครั้งหนึ่งเป็นของสำคัญประจำบ้าน ถูกโยนเข้ากรุ กลายเป็นของไร้ค่าและถูกลืมเลือนอย่างรวดเร็ว
ในอดีตตะเกียงประเภทนี้นอกจากใช้ในบ้านเรือนแล้ว ยังใช้เป็นโคมไฟตามถนน โรงงิ้ว ในค่ายทหารต่างๆ หรือใช้เพื่อการขุดเหมือง รวมถึงประภาคารเพื่อแจ้งเตือนเรือถึงภัยจากหินโสโครก ก็จะมีให้เลือกใช้ตามลักษณะความต้องการ
หลายคนอาจไม่เคยเห็นวิธีการจุดตะเกียงเจ้าพายุว่าทำอย่างไร พี่อั๋นบอกไม่ยาก อันดับแรกต้อง เติมน้ำมันก๊าดประมาณครึ่งหนึ่งของถัง ปิดวาล์วลม และเติมแอลกอฮอล์ให้เต็มถ้วย จุดไฟเผาแอลกอฮอล์ ระหว่างที่รอความร้อนเผาไส้ตะเกียง ก็สูบลม 20 - 30 ครั้ง เพื่อให้ข้างในถังมีแรงดันลม
จากนั้นหมุนเข็มส่งน้ำมันให้ลงมา แรงดันลมจะดันน้ำมันก๊าดขึ้นไปข้างบน เท่านี้ตะเกียงเจ้าพายุ 350 แรงเทียน หรือกำลังเทียน 350 เล่ม ที่เห็นอยู่นี้ก็จะสว่างทันที และสามารถปรับความสว่างได้ตามที่ต้องการ ส่วนวิธีการดับให้หมุนปุ่มคายแรงดันอากาศออกเล็กน้อย เท่านั้นตะเกียงเจ้าพายุก็ดับสนิท
ส่วนวิธีการเก็บรักษาตะเกียงเจ้าพายุ ก็ไม่ยุ่งยากค่ะ มีทั้งเก็บแบบเปียก ก็คือ ทำความสะอาดและใส่น้ำมันก๊าดลงไปในตะเกียง เพื่อป้องกันให้เนื้อโลหะไม่แตก และกันการรั่วของตะเกียงในระยะยาว แต่ต้องเปลี่ยนน้ำมันทุกปี และแบบที่สอง การเก็บแบบแห้ง คือการถอดหม้อน้ำมันไปตากแดด 2-3 ชั่วโมง เพื่อไล่ความชื้นออกจากหม้อ แล้วหาถุงพลาสติกใสใบใหญ่มัดปิดปากถุง ไม่ต้องโดนอากาศ 5 ปี ก็อยู่ได้
ผู้ที่สนใจแวะไปชมกันได้ที่พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ ถนนปราจีนตคาม ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 นาฬิกา อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 30 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 100 บาท