กรมควบคุมโรค ชี้สารรมควันข้าว "อลูมิเนียมฟอสไฟด์"(Aluminium Phosphide) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "ฟอสฟิน" และ"เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) ทั้ง 2 ชนิด ไม่มีพิษตกค้าง สามารถระเหยได้หมดภายใน 5 วัน
กรมควบคุมโรค ชี้สารรมควันข้าว "อลูมิเนียมฟอสไฟด์"(Aluminium Phosphide) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "ฟอสฟิน" และ"เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) ทั้ง 2 ชนิด ไม่มีพิษตกค้าง สามารถระเหยได้หมดภายใน 5 วัน
นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงข่าวการรมควันข้าวในโกดัง โดยใช้สาร 2 ชนิด คือ "เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) และ "อลูมิเนียมฟอสไฟด์"(Aluminium Phosphide) หรือที่เรียกสั้นๆว่า "ฟอสฟิน" เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช รวมถึงการฆ่าแมลง และฆ่าเชื้อราต่างๆ นั้น
ประเทศไทย มีการใช้สารดังกล่าวมานานมากกว่า 40 ปีแล้ว เมื่อแยกตามชนิดและคุณสมบัติของสาร จะพบว่า"เมทริลโบรไมด์" เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีข้อได้เปรียบกว่าสารรมชนิดอื่นๆ คือ สามารถฆ่าแมลงได้ในทุกระยะของการเจริญเติบโต มีความสามารถในการฟุ้งกระจายและแทรกซึมเข้าไปในสินค้าได้ดี ไม่กัดโลหะเครื่องมือเครื่องใช้ ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายสารออกจากกองสินค้าได้เร็วเมื่อสิ้นสุดการรม
ที่สำคัญคือ ใช้ระยะเวลาในการรมสั้น และเป็นสารที่ไม่ติดไฟซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น สามารถสลายตัวภายใน 3 ชั่วโมง ถึง 5 วัน และไม่มีพิษตกค้าง
ส่วน"อลูมิเนียมฟอสไฟด์" หรือที่เรียกสั้นๆว่า "ฟอสฟิน" มีการผลิตในหลายรูปแบบ เช่นแบบเม็ด จะใช้กับการรมผลิตผลเกษตรที่บรรจุกระสอบหรือถุง หรือรมในโรงเก็บ โดยมีลักษณะการกระจายตัวของแก๊สได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลานานในการรมประมาณ 5-7 วัน และทำปฏิกิริยากับโลหะ เช่น ทอง ทองแดง และเงิน เป็นต้น ใช้เวลาในการสลายตัวดีมากประมาณ 5 ชั่วโมง ที่สำคัญ คือ ไม่มีพิษตกค้าง
ซึ่งนายแพทย์ปรีชา เปรมปรี ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ภาครัฐ มีการตรวจสอบผู้ที่มีหน้าที่พ่นสารรมควันในหลายส่วน ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการจัดฝึกอบรม วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง และการดำเนินการทุกครั้ง จะต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าไปกำกับดูแล เพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นไปขั้นตอน
ในส่วนของกรมควบคุมโรค มีการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชน ตามโครงการ "เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส" โดยโรงพยาบาลทั่วประเทศ จะสุ่มเจาะเลือดตรวจ ในกลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป เพื่อคัดกรองความเสี่ยงและดำเนินงานเฝ้าระวังโรคจากสารกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำคู่มือเกษตรกรปลอดโรค แจกจ่ายสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพิ่มเติม