ไม่พบผลการค้นหา
กล้องฮับเบิลตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ห่างจากโลก 63 ปีแสง มีสีน้ำเงินคล้ายโลก แต่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส แถมมีพายุผลึกแก้วพัดกระหน่ำด้วยความเร็วลม 7,000 ก.ม./ช.ม.

กล้องฮับเบิลตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ห่างจากโลก 63 ปีแสง มีสีน้ำเงินคล้ายโลก แต่มีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส แถมมีพายุผลึกแก้วพัดกระหน่ำด้วยความเร็วลม 7,000 ก.ม./ช.ม.

 

ทีมนักดาราศาสตร์ของอังกฤษได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลวัดค่าการสะท้อนแสงของพื้นผิว และปริมาณรังสีที่ตกกระทบบนดาวเคราะห์ เอชดี 189733บี ซึ่งอยู่ห่างจากโลกราว 6 แสนล้านกิโลเมตร

 

พบว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราดวงนี้ มีสีน้ำเงิน คล้ายกับโลก แต่นั่นเป็นความคล้ายเพียงอย่างเดียว ขณะที่คุณสมบัติอย่างอื่นๆ ไม่มีอะไรเหมือนดาวเคราะห์ของเราเลย

 

@  ภาพวาดแสดงดาวเคราะห์ เอชดี 189733บี โคจรรอบดาวฤกษ์ เอชดี 189733

 

เอชดี 189733บี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์ มีมวลพอๆกับดาวพฤหัสบดี และโคจรในระยะใกล้กับดาวฤกษ์ศูนย์กลางมาก โคจรแต่ละรอบใช้เวลาแค่ 2.2 วันของเวลาบนโลกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ บนพื้นผิวจึงมีอุณหภูมิสูงถึง 1,000 องศาเซลเซียส

 

ความต่างยังไม่หมดเท่านั้น เหตุที่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีสีน้ำเงิน ไม่ได้เป็นเพราะมหาสมุทรได้สะท้อนแสงกลับออกสู่ชั้นบรรยากาศเหมือนอย่างโลก แต่เป็นเพราะในชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยอนุภาคซิลิเกต หรือผลึกแก้ว ซึ่งกระจายแสงสีน้ำเงิน

 

กระแสลมบนดาวเคราะห์ดังกล่าว ยังพัดแรงจัดด้วย มีความเร็วลมสูงถึง 7,000 กิโลเมตร

 

@  ภาพถ่ายแสดงดาวเคราะห์สีน้ำเงิน เอชดี 189733บี (กลางภาพ)

 

เฟรเดอริก ปองต์ แห่งมหาวิทยาลัยเอ็กเซตเตอร์ รายงานในผลวิจัยที่กำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal Letters ว่า นับเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจวัดสีสันของดาวเคราะห์น้อยนอกระบบ คณะนักวิจัยได้วัดแสงโดยใช้อุปกรณ์สเปกโตรกราฟวัดแสงในช่วงเวลาก่อนหน้า ระหว่าง และภายหลังที่ดาวเคราะห์ดวงนี้โคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์

 

ทอม อีแวนส์ แห่งมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ผู้ร่วมวิจัย บอกว่า แสงจากดาวดวงนี้ได้ตกอยู่ในช่วงสเปกตรัมสีน้ำเงิน ทำให้รู้ได้ว่า มันมีสีน้ำเงินคล้ายกับโลกของเรา.

 

 

Source : Daily Mail

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog