ไม่พบผลการค้นหา
นักบรรพชีวินค้นพบฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ในโปรตุเกส อายุ 150 ล้านปี นับเป็นเอมบริโอที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยเจอ เผยเป็นลูกของสัตว์พวกเดียวกับจอมเขมือบ ที.เร็กซ์

นักบรรพชีวินค้นพบฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์ในโปรตุเกส อายุ 150 ล้านปี นับเป็นเอมบริโอที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยเจอ เผยเป็นลูกของสัตว์พวกเดียวกับจอมเขมือบ ที.เร็กซ์

 

ไข่ที่พบเป็นของทอร์โวซอรัส นักล่าที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายที.เร็กซ์ ซึ่งมีชีวิตในช่วงปลายยุคจูราสสิกเมื่อ 150 ล้านปีก่อน

 

ทอร์โวซอรัสที่โตเต็มที่มีลำตัวยาวประมาณ 9 เมตร แต่ตัวอ่อนที่พบมีขนาดแค่ 9 นิ้ว

 

@  เทียบขนาดของทอร์โวซอรัส มนุษย์ และช้าง

 

อาร์ท วาเลน นักล่าฟอสซิลสมัครเล่น ได้เจอไข่แตกที่มีตัวอ่อนอยู่ข้างในเมื่อปี 2548 ในพื้นที่ภาคตะวันตกของโปรตุเกส

 

ริการ์โด อารูโจ นักศึกษาปริญญาเอกด้านบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นเมธอดิสต์ มลรัฐเท็กซัส รายงานผลการศึกษาในวารสาร Scientific Reports ว่า ตัวอ่อนที่พบช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดมากขึ้นเทอโรพอดส่วนใหญ่เป็นพวกกินเนื้อ เคลื่อนไหวด้วยสองขา

 

อารูโจบอกว่า วาเลนได้เจอเปลือกไข่โดยบังเอิญ เมื่อตามรอยขึ้นไปบนหน้าผา เขาไม่ได้เจอแต่ไข่ แต่พบรังวางไข่ทั้งรังเลยทีเดียว

 

นักบรรพชีวินของพิพิทธภัณฑ์เมืองลอรินฮา ได้ไปขุดเอารังนั้นกลับมา พบว่าในเปลือกไข่ที่แตกเหล่านั้น มีกระดูกของตัวอ่อนอยู่ด้วย นับเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่หาได้ยากมาก

 

@  ภาพวาดแสดงทอร์โวซอรัส กับลูกอ่อน ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น

 

ผลการวิเคราะห์บ่งบอกว่า กระดูกเหล่านั้นเป็นของทอร์โวซอรัส ซึ่งเป็นพวกเทอโรพอด เช่นเดียวกับไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ซากที่พบจัดเป็นตัวอ่อนของเทอโรพอดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด

 

อารูโจบอกว่า ทอโวซอรัสอยู่ในสายวิวัฒนาการเริ่มแรกของพวกเทอโรพอด แม้เมื่อเร็วๆนี้มีการพบตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่มีอายุมากกว่า แต่ตัวอ่อนที่พบในโปรตุเกสนี้มีความเก่าแก่กว่าในแง่ของสายวิวัฒนาการ

 

@  ภาพวาดแสดงรังวางไข่ของทอร์โวซอรัส

 

ที่น่าสนใจก็คือ สิ่งที่พบได้เผยให้เห็นวิวัฒนาการของไข่ด้วย ไข่ของนกสมัยใหม่มี 3 ชั้น ไข่ของไดโนเสาร์ส่วนใหญ่มี 2 ชั้น แต่ไข่ของทอร์โวซอรัสมีแค่ชั้นเดียว

 

"นับเป็นเปลือกไข่ที่มีชั้นเดียวของพวกเทอโรพอดชิ้นแรกที่ได้ค้นพบ" อารูโจบอก

 

เปลือกไข่เหล่านี้ยังมีรูพรุนขนาดกว้างที่เชื่อมโยงกันอีกด้วย รูพรุนพวกนี้มีไว้เป็นช่องหายใจสำหรับตัวอ่อนภายในไข่ รูพรุนจะมีขนาดแคบหรือกว้าง ขึ้นกับว่า ไข่ไดโนเสาร์ชนิดนั้นอยู่ในสภาพอากาศที่มีความชื้น หรือแห้งแล้ง

 

ขนาดและรูปทรงของรูพรุนของไข่ทอร์โวซอรัส บ่งบอกว่า พวกมันถูกฝังในสภาพอากาศที่ชื้นเพื่อฟักเป็นตัว.

 

Source : Yahoo! News

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog