ไม่พบผลการค้นหา
พระพุทธรูปปางเสพสังวาส รูปปั้นพระพุทธรูปในท่านั่ง และมีรูปปั้นผู้หญิงนั่งคร่อมบนตัก แล้วโอบกอดพระ ความเป็นจริงแล้วพระพุทธรูปปางนี้มีอยู่จริงในพระพุทธศาสนา

พระพุทธรูปปางเสพสังวาส รูปปั้นพระพุทธรูปในท่านั่ง และมีรูปปั้นผู้หญิงนั่งคร่อมบนตัก แล้วโอบกอดพระ ความเป็นจริงแล้วพระพุทธรูปปางนี้มีอยู่จริงในพระพุทธศาสนา

 

เว็บไซต์ Drama-Addict เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับพระพุทธรูปปางเสพสังวาส ซึ่งเป็นรูปปั้นพระพุทธรูปในท่านั่ง และมีรูปปั้นผู้หญิงนั่งคร่อมบนตัก แล้วโอบกอดพรภาพนี้ปรากฏอยู่ในบน Facebook ทำให้หลายคนต่างแชร์ภาพส่งต่อๆ กันไป รวมทั้งยังได้มีการแสดงความเห็นถึงความไม่เหมาะสมของภาพนี้ กันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่รู้สึกรับไม่ได้ เพราะเหมือนเป็นการดูหมิ่นพระพุทธศาสนา รวมทั้งยังได้มีการสาปแช่งว่า "ใครหนอที่ใจบาปหยาบช้า ดูหมิ่นพระพุทธศาสนาได้ถึงขนาดนี้"  

 

แต่ในความเป็นจริงแล้วพระพุทธรูปปางนี้มีอยู่จริงในพระพุทธศาสนา ไทยรัฐออนไลน์ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยระบุว่า จากการตรวจสอบถึงที่มาของภาพนี้ พบว่าเป็นภาพที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และพระพุทธรูปปางเสพสังวาสนี้ ก็มีอยู่จริงในประเทศทิเบตของนิกายวัชรยาน

 

นอกจากนี้ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 21 ธ.ค. 2546  ระบุไว้ว่า เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้จัดนิทรรศการทางศิลปะขึ้นมา ในงานนี้มีการนำพระพุทธรูปแบบ "ตันตระ" (Tantra) ของทิเบต ซึ่งมี "ทาระ" (Tara) หรือ "คู่ครอง" สวมกอดอยู่ด้านหน้ามาแสดงหลายองค์ด้วยกัน บังเอิญชาวพุทธแบบ "เถรวาท" ของไทยไปพบเห็นเข้า ได้นำรูปถ่ายของพระพุทธรูปนี้ร้องเรียน จนถึงกับจะมีการเดินขบวนประท้วงไปยังสถานทูตเกาหลีใต้ในกรุงเทพฯ

 

พระพุทธรูปนี้เป็นพระพุทธรูปแบบ "วัชรยาน" เป็นศิลปะแบบ "ตันตระ" ของทิเบต ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาในหมู่ประชาชนชาวทิเบตมานานนับพันปี พระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน เกิดขึ้นในอินเดียในยุคสมัยที่ลัทธิตันตระกำลังเฟื่องฟู ซึ่งมีอิทธิพลต่อทั้งปรัชญาและศาสนาในอินเดียอย่างมาก

 

ลัทธิตันตระได้ยกย่องและเน้นความสำคัญของเทพเจ้าที่เป็นภาคผู้หญิงขึ้นมา เนื่องจากเทพเจ้าทุกพระองค์ในคติความเชื่อแบบตันตระ ซึ่งรวมทั้งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย จึงมี "ตารา" หรือคู่ครองสวมกอดอยู่ ซึ่งนี่ก็เป็นปริศนาธรรม โดยปฏิมากรรมเทพเจ้าเพศหญิงและเพศชายสวมกอดกันอยู่นั้น ชาวทิเบตเรียกว่า "ยับยัม" มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าอย่างอื่น พุทธศาสนาฝ่ายตันตระอธิบายว่า การตรัสรู้เป็นผลรวมของปัญญาและกรุณา โดยที่เพศหญิงเป็นสัญลักษณ์ของ "ปัญญา" ขณะที่เพศชายเป็นสัญลักษณ์ของ "กรุณา"

 

ตามทรรศนะแบบตันตระ ปัญญาเปรียบเหมือนดวงตา กรุณาเปรียบเหมือนแขนขา หากขาดดวงตาแล้ว แขนขาก็กระทำการอย่างมืดบอด หากขาดแขนขาแล้วดวงตาก็ไม่อาจจะทำอะไรได้ ดวงตาและแขนขาจึงต้องทำงานร่วมกันอย่างแยกไม่ได้ ปัญญาและกรุณาต้องรวมเป็นหนึ่งเดียวจึงจะเป็นการตรัสรู้ที่สมบูรณ์

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog