ผลการขุดค้นเพิ่มในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งพบว่า บรรพบุรุษของเรารู้จักก่อไฟ ทำเครื่องนุ่งห่ม และประดิษฐ์หอกแหลม ตั้งแต่เมื่อแสนปีก่อน
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการขุดค้นเพิ่มเติมในถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งที่หมู่บ้านโจวกู่เตี้ยน ใกล้กับกรุงปักกิ่ง ในถ้ำแห่งนี้ได้พบฟอสซิลของมนุษย์ปักกิ่งเป็นครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1923 แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โบราณวัตถุเหล่านั้นได้ถูกขนย้ายไปยังอเมริกาในปี 1941
@ นักโบราณคดีขุดค้นถ้ำของมนุษย์ปักกิ่งเมื่อปี 1923
มนุษย์ปักกิ่งก็คือ มนุษย์โฮโมอีเรกตัส เคยมีชีวิตในช่วงเวลา 750,000-200,000 ปีก่อน เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักโบราณคดีได้ขุดค้นถ้ำดังกล่าวอีกครั้ง พบว่า มนุษย์สายพันธุ์นี้รู้จักนำหนังสัตว์มาทำให้นุ่มโดยใช้เครื่องมือหิน แล้วเอามานุ่งห่ม
นอกจากนี้ มนุษย์ปักกิ่งยังรู้จักก่อไฟ, ทำเครื่องมือไม้ และรู้จักเจาะรูบนวัตถุด้วย และภายในถ้ำยังพบบริเวณที่มีการก่อไฟด้วย
@ นักวิทยาศาสตร์ของพิพิทธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอเมริกัน
สร้างรูปหล่อใบหน้ามนุษย์ปักกิ่ง
ที่น่าสนใจ เชินเจิ้น ภัณฑารักษ์ของพิพิทธภัณฑ์โทรอนโต สมาชิกพิเศษของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน บอกว่า มนุษย์ชนิดนี้ได้นำก้อนหินที่มีความแหลมคมมาติดเข้าที่ปลายไม้เพื่อทำเป็นหอก ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการนำวัสดุสองชนิดมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นเครื่องมือ
@ กะโหลกมนุษย์สมัยใหม่ โฮโมเซเปียน (ซ้าย) กับมนุษย์ปักกิ่ง
ถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่เคยค้นพบ ในช่วงปีค.ศ.1921-1966 นั้น นักโบราณคดีได้ค้นพบเครื่องมือหินหลายพันชิ้น และเศษโครงกระดูกราว 40 ร่าง
Source : Daily Mail (U.K.)