ไม่พบผลการค้นหา
ทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันของกลุ่ม ปตท. (PRISM) ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2561 อยู่ที่ 52-57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตามองจากนโยบายการเมือง เศรษฐกิจในซีกโลกตะวันออก และตะวันตก รวมถึงนโยบายการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต และการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยียุคดิจิตอล

ทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันของกลุ่ม ปตท. (PRISM) ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2561 อยู่ที่ 52-57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตามองจากนโยบายการเมือง เศรษฐกิจในซีกโลกตะวันออก และตะวันตก รวมถึงนโยบายการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต และการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยียุคดิจิตอล
            
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเปิดงานสัมมนา 2017 The Annual Petroleum Outlook Forum ซึ่งทีมนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันของกลุ่ม ปตท. หรือ PRISM (Petrochemicals and Refining Integrated Synergy Management) ร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอข้อมูลและมุมมองเกี่ยวกับราคาน้ำมัน รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน ตลอดจนแนวโน้มของทิศทางน้ำมันในอนาคต อีกทั้งยังมีการเสวนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและดิจิทัล เพื่อปลุกความคิดให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ในหัวข้อ “Thailand Energy Moving with Digitization พลังงานไทย...ก้าวไกลด้วยดิจิทัล”

นายสุกฤตย์  สุรบถโสภณ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงทิศทางและแนวโน้มสถานการณ์น้ำมันของโลกในปี 2561 ว่าทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปีหน้า คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ในระดับ 52-57 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยความต้องการน้ำมันดิบของโลกในปี 2561 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับราว 1.4 -1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7 และจากการปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มผู้ผลิต OPEC และ Non-OPEC ขณะที่สหรัฐฯ กลับมาผลิต Shale Oil เพิ่มขึ้น แต่ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น จากการกระจายการผลิตไปยังแหล่งใหม่ๆ ทำให้ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกรอบแคบๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม อาทิ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล นโยบายการเมือง เศรษฐกิจในซีกโลกตะวันออก และตะวันตกที่ยังคงมีความผันผวน รวมถึงทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตจะเน้นการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งการพัฒนานี้จะก้าวไกลได้เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและส่งถ่ายไฟฟ้า การพัฒนาเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ในการผลิตรถยนต์

“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเสวนาในวันนี้จะช่วยเปิดโลกทัศน์ด้านพลังงานรวมถึงดิจิทัล ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ และเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมในการวางแผนดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและทุกภาคส่วนของสังคมต่อไป” นายเทวินทร์ กล่าวเพิ่มเติม

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog