ไม่พบผลการค้นหา
ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.ลงตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยกำหนดให้ 5 ธนาคารใหญ่ คือธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา และกสิกรไทยเป็นกลุ่มธนาคารที่มี 'ความเสี่ยงเชิงระบบ' ซึ่งธปท.อธิบายว่ามาตรการนี้ออกมาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและธนาคารทั้งหมดล้วนมั่นคงไม่มีปัญหา

ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.ลงตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยกำหนดให้ 5 ธนาคารใหญ่ คือธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา และกสิกรไทยเป็นกลุ่มธนาคารที่มี 'ความเสี่ยงเชิงระบบ' ซึ่งธปท.อธิบายว่ามาตรการนี้ออกมาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและธนาคารทั้งหมดล้วนมั่นคงไม่มีปัญหา

ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท.ที่ออกมามี 2 ฉบับด้วยกัน ฉบับแรกกำหนดแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงในเชิงระบบในประเทศ และฉบับที่ 2 กำหนดรายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่ถือว่ามีความเสี่ยงเชิงระบบซึ่งมีอยู่ 5 ธนาคารดังกล่าว โดยประกาศทั้งสองฉบับออกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 แต่มีผลเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 24 ที่ผ่านมาที่ลงในราชกิจจานุเบกษา 

สำหรับแนวทางการกำกับดูแลตามประกาศระบุว่าเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีความสำคัญต่อระบบการเงินในประเทศ เชื่อมโยงระหว่างสถาบันการเงินและระบบการเงิน ซึ่งก็คือคำว่า “ความเสี่ยงต่อระบบในประเทศ”  ซึ่งประกาศของธปท.อธิบายว่า คือคำว่า Domestic systemically important banks: D-SIBs ด้วยเหตุนี้จึงต้องกำกับดูแลให้เข้มงวดกว่าธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไป ธนาคารกลุ่มนี้จะต้องมีความสามารถในการรองรับความเสียหายได้มากขึ้นเพื่อจะลดโอกาสในอันที่จะประสบปัญหาฐานะทางการเงินและส่งผลกระทบ จึงต้องกำกับดูแลให้เข้มงวดมากขึ้น

ตามประกาศของธปท.ได้กำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยงทั้งที่เป็นดัชนีหลักและดัชนีเสริม ซึ่งในดัชนีหลักนั้นมี 4 ด้าน ในจำนวนนี้มีเรื่องของขนาด ความเชื่อมโยงด้านสินทรัพย์ หนี้สิน ด้านความต้องการเงินทุนที่มีต่อระบบการเงิน ดัชนีในเรื่องของการทดแทนกันได้และด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบสถาบันการเงิน ด้านความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ทางการเงินและกระบวนการดำเนินธุรกิจรวมอยู่ด้วย ประกาศได้กำหนดวิธีการให้น้ำหนักในการพิจารณาแต่ละด้านเอาไว้ โดยระบุว่าจะมีการให้คะแนนทุกปี ขณะที่กำหนดให้ทบทวนทุก 3 ปี

ธปท.กำหนดมาตรการกำกับดูแลในเรื่องของสัดส่วนของการดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสียหายหรือ Higher loss absorbency โดยให้ดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของเพิ่มเติมจากการดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำ อัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤติหรือ Conservation buffer และอัตราส่วนเงินกองทุนส่วนเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง หรือ Countercyclical buffer อีกร้อยละ 1 ของสินทรัพย์เสี่ยง แต่หากทำไม่ได้ก็ให้เก็บสะสมเงินกำไรสุทธิบางส่วนหรือทั้งหมดเพื่อให้สามารถทำได้ตามกำหนดก่อนจึงจะจัดสรรกำไรสุทธิได้ หรือหากเก็บสะสมกำไรสุทธิแล้วก็ยังไม่สามารถดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอีก ธนาคารนั้นๆก็จะต้องหารือกับธปท.เพื่อกำหนดแผนดำรงเงินกองทุนต่อไป นอกจากนี้ยังมีมาตรการกำกับดูแลอื่นๆอีกหลายประการด้วยกันที่จะต้องดำเนินการตาม

ทางด้านธปท.ได้ชี้แจงเพิ่มเติมกับสื่อมวลชนว่า ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 5 แห่งดังกล่าวไม่ได้มีปัญหาในสถานะทางการเงินแต่อย่างใด ทุกแห่งล้วนมีความมั่นคง มีระดับเงินกองทุนที่สูงอยู่แล้ว ประกาศที่ออกมาเป็นเพียงการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และผู้กำกับดูแลธนาคารในต่างประเทศกฌกำหนดให้มีการดูแลธนาคารที่มีนัยต่อความเสี่ยงของระบบเช่นเดียวกัน

 

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย 1

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย 2

 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog