การรับประทานยา 'แอสไพริน' ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบต่อประสาทการรับรู้ให้ช้าลงได้ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ โดยล่าสุดมีผลการศึกษาในประเทศสวีเดนระบุว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปี ถึง 92 ปี และรับประทานยา 'แอสไพริน ติดต่อกันเป็นนาน อาจต้องเผชิญกับโรคความจำเสื่อม
หลายคนเวลาเป็นไข้ อาการปวดหัว หรือเกิดอาการอักเสบตามร่างกาย บ่อยครั้งการรักษาในเบื้องต้นพบว่า คนส่วนใหญ่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุ ชอบรับประทานยา 'แอสไพริน' (Aspirin) เพื่อเป็นการบรรเทาอาการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีผลการศึกษาในประเทศสวีเดนเกี่ยวกับผลกระทบข้างเคียงของกินยาแอสไพริน ระบุว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 70 ปี ถึง 92 และกินยาแอสไพรินติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อระบบเติบสนองทางร่างกายที่ช้าลง และอาจเป็นโรคความจำเสื่อม
ด๊อกเตอร์ ซิลค์ เคินร์ หนึ่งในทีมผู้วิจัยงานดังกล่าว ที่ถูกตีพิมพ์ใน British Medical Journal วารสารด้านการแพทย์ชื่อดังของอังกฤษ เปิดเผยว่า การทดสอบครั้งนี้ทางทีมผู้ศึกษาได้ใช้กลุ่มผู้สูงอายุเพศหญิง 691 คน ที่มีอายุระหว่าง 70 ปี ถึง 92 และมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ รวมทั้งโรคเส้นเลือดอุตตัน ที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่รับประทานยา แอสไพลิน ติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปี มาทดสอบแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้าทางจิต หรือ MMSE เช่น ให้กลุ่มผู้ที่ถูกวิจัยทดสอบความสามารถด้านปัญญา หรือการถามคำถามทั่วไปเช่น คุณกำลังอยู่ที่ไหน หรือวันนี้วันอะไร เพื่อดูว่ากลุ่มคนดังกล่าวมีระดับคะแนนอยู่ระดับใด
โดยกผลการศึกษาดังกล่าวในช่วง 5 ปีที่ผ่าน พบว่าคนที่รับประทานยาแอสไพริน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี มีจำนวน 489 คน ขณะ 129 คน จากตัวเลขดังกล่าวรับประทานยาแอสไพรินติดต่อกันทุกวัน เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าจะช่วยป้องกันโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดอุตตันได้
ทีมวิจัยเปิดเผยว่า หลังจากที่ได้ทำการทดสอบแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อม และภาวะซึมเศร้าทางจิต พบว่า มีจำนวน 66 คน จาก 129 คน มีระดับคะแนนของ MMSE ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทีมวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับประธานยาแอสไพรินเลย ในช่วงเวลาดังกล่าวก็พบว่า ระดับคะแนนของกลุ่มที่ไม่ได้กินยามีระดับสูงกว่ามาก โดยวัดจากการตอบสนองทางสมอง และความคิด หรือแม้กระทั่งการตอบคำถาม