ไม่พบผลการค้นหา
ีญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมนปช. ยื่นหนังสืออัยการสูงสุด จี้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.รื้อคดี

หลังจากศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกคำร้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และอดีตผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ในคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ชี้คดีนี้ควรฟ้องกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 


ล่าสุดวันนี้ 18 ก.ย.ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมนปช. เมื่อปี 2553 ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือที่สำนักอัยการสูงสุด ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป.ป.ช. รื้อคดีสลายการชุมนุม ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และผู้อำนวยการศอฉ.ขณะนั้น เป็นผู้ต้องหา เพื่อรวบรวมสำนวนยื่นเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้น-ศาลอุทธรณ์-ศาลฎีกา ยืนยกฟ้องผู้ต้องหา เนื่องจากคดีดังกล่าวไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล

การต่อสู้คดีของญาติผู้เสียชีวิตที่ผ่านมาเป็นอย่างไรและทิศทางการต่อสู้ในอนาคตจะเป็นอย่างไร กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวีได้รวบรวมข้อมูลตามลำดับเหตุการณ์ไว้ดังนี้

28 ตุลาคม 2556 - อัยการยื่นฟ้องอภิสิทธิ์ - สุเทพ 


อัยการสูงสุดสั่งฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และอดีตผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ข้อหาร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล กรณีมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ เมื่อเดือน เมษายานถึงพฤษภาคม 2553 เพราะเป็นการปฏิบัติหน้าที่เกินความจำเป็น


28 สิงหาคม 2557 - ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อภิสิทธิ์ - สุเทพ


ศาลอาญาชั้นต้น ยกฟ้องคดีนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ สั่งสลายการชุมนุมคนปี 2553 เนื่องจากเป็นการกระทำที่เกิดขึ้น ระหว่างการดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นอำนาจของศาลฎีกาคดีอาญานักการเมืองพิจารณาแทน


29 กันยายน 2557 - ทนายยื่นอุทธรณ์


นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต กล่าวว่า เราไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอาญาในประเด็นข้อกฎหมาย จึงได้ยื่นอุทธรณ์


17 กุมภาพันธ์ 2559 - ศาลอุทธณ์พิพากษายื่นตามศาลชั้นต้น


ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI เนื่องจากเห็นว่า เป็นการใช้อำนาจในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นคดีทางปกครอง ซึ่งเป็นอำนาจการสอบสวนของ ป.ป.ช. รวมทั้งการออกคำสั่งเป็นการปฏิบัติตามกฏหมาย ไม่ได้ทำพื่อผลประโยชน์ส่วนตน


31 สิงหาคม 2560 - ศาลฎีกาพิพากษายื่นตามชั้นต้นและอุทธรณ์


ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกคำร้องนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ชี้คดีนี้ควรฟ้องกับศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ขณะที่ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ก็ได้ดำเนินการไต่สวนคดีนายอภิสิทธิ์และสุเทพในการสลายการชุมนุมทางการเมืองด้วยเช่นกัน

31 ตุลาคม 2556 - ป.ป.ช. มีมติไต่สวน อภิสิทธิ์ - สุเทพ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติเดินหน้าไต่สวนคดี "อภิสิทธิ์-สุเทพ" ในคดีสลายการชุมนุมทางการเมืองปี 2553  


29 ธันวาคม 2558 - ป.ป.ช.ยกคำร้อง


ป.ป.ช. ยกคำร้อง “อภิสิทธิ์-สุเทพ-อนุพงษ์”คดีสลายการชุมนุม นปช. ปี 2553 เนื่องจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวน ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสาม กับพวก ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการ

 

หลังจากที่ศาลฎีการได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำโดย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ธิดา ถาวรเศรษฐ และนพ.เหวง โตจิราการ ได้แถลงข่าวถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อรื้อฟื้นคดีความ


แนวทางรื้อคดี

  • ยื่นคำร้องให้อัยการสูงสุดส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช. เพื่อไต่สวนความผิดของนายอภิสิทธิ์และสุเทพว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หรือไม่
  • เรียกร้องให้ ป.ป.ช. ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลฎีกาด้วย พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าในคำพิพากษาของศาลฎีกาได้ปรากฏพยานหลักฐานใหม่ขึ้นแล้ การไต่สวนชันสูตรพลิกศพ หรือไต่สวนสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิตหลายราย และมีข้อวินิจฉัยชี้ว่า เสียชีวิตจากกระสุนปืนจากฝั่งเจ้าหน้าที่ จึงเป็นพยานหลักฐานใหม่อีกข้อหนึ่ง ซึ่ง ป.ป.ช.ควรจะหยิบยกขึ้นมาพิจารณา 
  • ถ้าไม่ปรากฏความยุติธรรมขึ้นจะมีการดำเนินการโดยให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเตรียมฟ้องร้องดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติในทุกจุด ทุกเหตุการณ์ที่มีการสูญเสีย จากการสลายการชุมนุมในปร 2553
  • ใช้มาตรา 275 ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เป็นอีกหนึ่งช่องทางซึ่งจะพิจารณา ดำเนินการหากชั้น ป.ป.ช. และอัยการไม่ประสบผล


 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog